รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565

ส่วนที่ 1

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินของสภามหาวิทยาลัย

ส่วนที่ 2

ผลลัพธ์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ประจำปี

ส่วนที่ 3

ผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะไม่บรรลุเป้าหมายและแนวทางการแก้ไขปัญหางบประมาณ ผลงานโดดเด่น

2.1 ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรและบริหารทุนมนุษย์ไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง (ความสำเร็จของ OKRs)
O1 สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนอัจฉริยะและส่งเสริมให้อาจารย์ใช้ห้องเรียนอัจฉริยะครบ 100%
(ปรับ KR2:: ประเมินผลการใช้ห้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง และมีผู้เข้าร่วมครบทุกสำนักวิชา)

KR1  จัดอบรมเพื่อสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีในห้อง Smart Classroom

เป้าหมายการจัดอบรม 12 ครั้ง

ผลสำเร็จ
0%

จัดอบรมได้ 23 ครั้งมีผู้เข้าร่วม 126 คน
นับจำนวนอาจารย์ใหม่ได้ 84.61%

อบรมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การใช้งานในห้องเรียน Smart Classroom โดยคณะทำงาน Workshop & Training เป็นประจำทุกเดือน จำนวน 6 หลักสูตร ดังนี้

  1. การใช้ OBS Studio ในการเรียนการสอน และ การบันทึกการเรียนการสอนด้วย AverMedia
  2. การสร้างแบบทดสอบด้วย Socrative
  3. การใช้อุปกณ์การบันทึกการเรียนการสอนด้วย Swivl Robot
  4. การบันทึกการสอนด้วย Loom
  5. การใช้งานเทคโนโลยีในห้องเรียน Smart Classroom
  6. การใช้ ZOOM เพื่อการเรียนการสอนและการประชุมออนไลน์

สรุปผู้เข้าอบรมตามไตรมาส

  • ไตรมาสที่ 1 จำนวนอาจารย์ทั้งหมด 700 คน 100 % จำนวนอาจารย์ผ่านการอบรม 595 คนคิดเป็น 85 % ไม่ผ่านการอบรม 81 คนคิดเป็น 11.57 % ลาศึกษาต่อ 24 คน คิดเป็น 3.43 %
  • ไตรมาสที่ 2 จำนวนอาจารย์ทั้งหมด 696 คน 100 % จำนวนอาจารย์ผ่านการอบรม 603 คนคิดเป็น 86.64 % ไม่ผ่านการอบรม 75 คนคิดเป็น 10.76 % ลาศึกษาต่อ 18 คน คิดเป็น 2.59 %
  • ไตรมาสที่ 3 จำนวนอาจารย์ทั้งหมด 715 คน 100 % จำนวนอาจารย์ผ่านการอบรม 605 คนคิดเป็น 84.61 % ยังไม่ผ่านการอบรม 92 คนคิดเป็น 12.87 % ลาศึกษาต่อ 18 คน คิดเป็น 2.52 %

KR2 ประเมินผลการใช้ห้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง 

เป้าหมาย 12 ครั้ง

ผลสำเร็จ
0%

ยังไม่บรรลุ (จัดได้ 6 ครั้ง)

ได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้ห้องเรียน Smart Classroom และเริ่มเก็บข้อมูลของภาคการศึกษา 3/3564 *** สรุปคะแนนความพึงพอใจการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ในเดือน ม.ค. = 3.14 เดือน ก.พ. = 3.77 เดือน มี.ค.65 = 4.84 (เดือนต.ค.-ธ.ค. 64 เป็นการสอนออนไลน์)

KR3 เพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วยบริการที่สะดวกและรวดเร็ว

เป้าหมายมากกว่า 4.5

ผลสำเร็จ
0%

ยังไม่บรรลุ (คะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 4.04 )

เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์และออนไซต์

  1. ได้ติดตั้งโปรแกรม OBS Studio ในอาคารเรียนรวม 1,3,5,7 และการใช้เครื่องมือ AverMedia ในอาคารเรียนสถาปัตยกรรมและการออกแบบ อำนวยความสะดวกอาจารย์ในการบันทึกการเรียนการสอน
  2. ตรวจสอบครุภัณฑ์ในห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน โดยช่างเทคนิคประจำอาคาร (เพิ่มหมายเลขการติดต่อ/เพิ่มช่องทางสนับสนุน)
  3. ให้บริการติดตามปัญหาการใช้สื่อโสตฯ ผ่านกล้องวงจรปิดในอาคารสถาปัตยกรรมฯ และติดตั้งระบบฯ ของอาคารเรียน ST เพื่อให้มีความพร้อมใช้งานในภาคการศึกษา 3/2564 อาคารชั้น 2 จำนวน 14 ห้อง ชั้น 3 จำนวน 30 ห้อง ซึ่งได้ดำเนินเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เดือน ม.ค.65 = 3.14, เดือน ก.พ.65 = 3.77, เดือน มี.ค.65 = 4.84, เดือน เม.ย.65 = 4.05 เดือน พ.ค.65 = ไม่มีการเรียนการสอน, เดือน มิ.ย. 65 = 4.08, เดือน ก.ค.65 = 4.375

KR4 สร้างคอนเท็นต์เพื่อสรุปบทเรียนและตัวอย่างการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะเผยแพร่ให้แก่ผู้ใช้

เป้าหมายมากกว่า 1 รายวิชา

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. จัดทำบทเรียนออนไลน์ในระบบ e-Learning เพื่อให้อาจารย์สามารถเข้ามาเรียนรู้ “การใช้งานอุปกรณ์ในห้องเรียน Smart Classroom” (Clip + คู่มือการใช้งาน)
  2. มีอาจารย์เข้าเรียนในเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 7 คน จาก สำนักวิชาสถาปัตยกรรมฯ 2 คน , พหุภาษา 2 คน, เภสัชศาสตร์ 1 คน, การจัดการ 1 คน, พยาบาลศาสตร์ 1 คน
  3. จัดอบรมอาจารย์ใหม่ร่วมกับ ทมอ. 1 ครั้ง เรื่อง โครงการอบรมพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานสายวิชาการ “เครื่องมือและโปรแกรมประยุกต์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์ในยุคดิจิทัล”
  4. ตั้งแต่เดือน เมษายน – เดือนกรกฎาคมมีอาจารย์เข้าเรียนจำนวน 14 คนและได้รับในประกาศนียบัตรจำนวน 1 คน
  5. และกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำอีก 1 รายวิชา ชื่อวิชา “การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง” คาดว่ายังไม่แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2565
บทเรียนออนไลน์ Smart Classroom
O2 สร้างสรรค์บริการสมาร์ท (Smart Services) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการได้ทุกที่และทุกเวลา

KR1  ปรับปรุงงานบริการแบบ One Stop Service ลดเวลาลดค่าใช้จ่าย

เป้าหมายอย่างน้อย 4 กระบวนการ

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. ปรับกระบวนการจัดเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้เพิ่มการจัดเก็บและตรวจสอบการใช้งบประมาณที่ฝ่ายบริหารฯ ให้เป็นปัจจุบัน และ update เนื่องจากที่ผ่านมาระบบ SAP จะรายงานเฉพาะรายการที่กันงบประมาณใน PR และตัดจ่ายจริงที่การเงินฯ และยืมเงินทดรอง ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลการใช้งบประมาณไม่เป็นปัจจุบัน สามารถช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอนุมัติการใช้งบฯได้ง่ายขึ้น และสามารถติดตามคืบหน้าในการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. จัดให้มีบุคลากรประจำอาคารเรียนต่าง ๆ สำหรับสนับสนุนการให้บริการการเรียนการสอนและการให้บริการรวบรวมคลิปการเรียนการสอนในแต่ละวันบรรจุลงใน Server ที่ศูนย์บรรณสารฯ เป็นผู้จัดการ
  3. วางแผนและเริ่มการปรับเปลี่ยนการให้บริการหนังสือเป็นแบบชั้นปิดโดยผู้ใช้สามารถเลือกหนังสือจากหน้า OPAC ของห้องสมุด และไม่ต้องเข้ามาหยิบหนังสือด้วยตนเอง แต่จะมีพนักงานหยิบให้ (Shelf Management)
  4. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้บริการหนังสือพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 แยกเป็นหมวดหมู่ตามรายชื่อ นำหนังสือออกจากชั้นปกติ ให้บริการบริเวณชั้น 1 เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาหนังสือ แก่นศ.ปี 1/2565 จำนวน 16 วิชา สำหรับภาคการศึกษาที่ 1/2565
O2KR1

KR2 เพิ่มบริการสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกับสำนักวิชาให้ครบทุกสำนักวิชา

เป้าหมาย อย่างน้อย 11 สำนักวิชา

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. ประสานสำนักวิชาเพื่อร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้รับการตอบรับเข้าร่วมจำนวน 10 สำนักวิชา รวม 12 หลักสูตร
  2. ผลิตสื่อการศึกษาให้กับสำนักวิชาต่างๆ ได้แก่ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์, สหเวชศาสตร์, พยาบาลศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ รวม 5 สำนักวิชา
  3. ประสานสำนักวิชาเพื่อร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้รับการตอบรับเข้าร่วมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษา ซึ่งเน้นจัดกิจกรรมผ่านระบบ Zoom มี น.ศ.ทุกสำนักวิชาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2,781 คน (ยกเว้นสำนักวิชาแพทยศาตร์ เพราะมีกิจกรรมในลักษณะเดียวกันอยู่แล้ว และบางหลักสูตรของสำนักวิชาการจัดการ) รวม 42 หลักสูตร นอกจากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อื่นๆ เช่น อบรมพื้นฐานการถ่ายภาพเบื้องต้น (ส.การจัดการและส.วิทยาศาสตร์) อบรมการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟนและตกแต่งภาพด้วย Application Snapseed (ส.การจัดการและส.วิทยาศาสตร์), อบรมการออกแบบกราฟิกด้วย Infographic (ส.การจัดการ) และ อบรมการออกแบบกราฟิกด้วย Canva (ส.การจัดการ) เป็นต้น (ปรีชา)
  4. ผลิตสื่อการศึกษาให้กับสำนักวิชาต่างๆ จำนวน 5 สำนักวิชา ได้แก่ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์, สหเวชศาสตร์, พยาบาลศาสตร์, สำนักวิชาพหุุภาษาและการศึกษาทั่วไป และสาธารณสุขศาสตร์ รวม 5 สำนักวิชา
O2KR2-1
O3 ผลิตและเผยแพร่ Digital Content เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

KR1 มีดิจิทัลคอนเท็นต์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น

เป้าหมายอย่างน้อย 50 รายการ

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ library.wu.ac.th ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกเดือนๆ ละ ไม่น้อยกว่า 4 ข่าว ตั้งแต่เดือน ตค.-ก.ค. 65 รวม 46 ข่าว (นับเฉพาะภาษาไทย)
  2. สร้าง content แนะนำหนังสือ บริการห้องสมุด และข่าวสารเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ชวนอ่าน สร้าง content 106 บทความ มีการเข้าถึง 28,695 ครั้ง
  3. เพจ : Walailak University Library จำนวน 132 รายการ มีการเข้าถึงจำนวน 124,648 ครั้ง
  4. เพจ : ชวนอ่าน จำนวน 129 เรื่อง มีการเข้าถึง 241,415 ครั้ง การมีส่วนร่วม 2,132 ครั้ง
  5. เพจ : แหล่งสารสนเทศนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ WU : CLM…โพสต์ 263 รายการ มีจำนวนเข้าถึง 7,305 ครั้ง
  6. สร้าง Podcast แนะนำหนังสือและแนะนำบริการแล้วเสร็จ 7 รายการ และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 3 รายการ

KR2 มีช่องทางการเผยแพร่ digital content เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้เข้าถึงทางออนไลน์เพิ่มขึ้น

จำนวนครั้งของการเข้าถึงเพิ่มร้อยละ 20

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. กำหนดให้มีเว็บไซต์กลางสำหรับเผยแพร่ digital content ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้พนักงานทุกคนเข้าไปเขียนเนื้อหาในรูปแบบของ Blog โดยกำหนดให้ทุกคนเขียนอย่างน้อย 5 เรื่อง/ปีประเมิน และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือ reskill / upskill โดยสามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ลิ้งค์ https://library.wu.ac.th/km
  2. จำนวนช่องทางการเข้าถึง content ของหน่วยงาน = 13 ช่องทาง และจำนวนผู้เข้าถึง = 538,610 ครั้ง + การเข้าถึงหลักสูตรออนไลน์/คลังสารสนเทศ = 231,440

KR3 พัฒนาหลักสูตรออนไลน์และการฝึกอบรม (Training Course) สำหรับนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์

เพิ่มอย่างน้อย 25%

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. มีบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC ที่ผลิตเสร็จแล้วและเปิดให้ลงทะเบียนเรียนแล้ว จำนวน 23 รายวิชา (จากเดิม 14 วิชา) ในปัจจุบันกำลังดำเนินการผลิตเพิ่ม 3 รายวิชา ได้แก่ จิตวิทยาในการทำงานสาธารณสุข หลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และ พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม (เพิ่มขึ้น  39.1%)
  2. มีหลักสูตรฝึกอบรมทุกเดือน จำนวน 42 หลักสูตร (จากเดิม 34 หลักสูตร) เพิ่มได้ 19% จำนวนผู้เข้าอบรม 2,621 คน
  3. มีหลักสูตรอบรมนักศึกษาใหม่ร่วมกับสำนักวิชา 1 หลักสูตร เพิ่ม 100%
  4. สรุปหลักสูตรใหม่ 21 หลักสูตร เพิ่มขึ้น 32.3%
O4 เป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก

KR1 มีบุคลากรที่ผ่านการรับรองวิทยฐานะและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาชีพเพิ่มขึ้น

อย่างน้อย 11 ตำแหน่ง

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. ปรับตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ได้แก่ (รับผิดชอบ งาน WU-IR และ งานห้องสมุดสีเขียว) ปรับนักเทคโนโลยีการศึกษา (รับผิดชอบ Smart Classroom และ MOOC & Studio Online) เพิ่มชำนาญการ 2 คน 1. พนักงานธุรการของศูนย์บรรณสารฯ จำนวน 2 คน อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นคณะกรรมการฯ เพื่อปรับเป็นตำแหน่งนักเทคโนโลยี ฯ (ปี 64 ไม่มี , ปี 65 เพิ่ม 3 คน)
  2. พนักงานทุกคนต้องมีภาระงาน Job2 ซึ่งเป็นภาระงานที่นอกเหนือจากงานประจำ และกำหนดให้พนักงานทุกคนบันทึกสัดส่วนของ job agreement ประจำปี ดังนี้ –> ภาระงานประจำ + นวัตกรรม + ผู้บังคับบัญชา = (50-90) – 10 รวมเป็น 100 คะแนน เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความตื่นตัว และมีช่องทางในการเพิ่มภาระงานของตนเองให้มากขึ้นนอกเหนือจากงานประจำ (หมายเหตุ : ภาระงาน Job2 ได้แก่ งานจัดอบรม, ทีม smart clasroom service , ทีม Smart Service & Online Cources , ทีม Customer Relationship Management , งาน Digital Content และ ทีม One Stop Service เป็นต้น
    และส่งเสริมให้ทำวิจัย 6 คน (นำเสนองานที่สัมมนา Pulinet วิชาการ)

KR2 พนักงานทุกคนมีการพัฒนาตนเองและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์อย่างน้อย 1 ผลงาน

ทุกคน

ผลสำเร็จ
0%

บรรลุตามเป้าหมาย

  1. พนักงานทุกคนมีคู่มือปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 เรื่อง/upload บนเว็บไซต์ http://clmmanual.wu.ac.th/workmanual/
  2. พนักงานทุกคนมี digital content บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ กัน ได้แก่ youtube , blog , content บน facebook เป็นต้น
  3. มีพนักงานเตรียมขอชำนาญการ 1 คน
  4. มีงานวิจัย 1 เรื่อง ชื่อ “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสำนักงานสีเขียว กรณีศึกษา : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อยู่ระหว่างการเขียนบทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
  5. พนักงานทุกคนมีแผนงานด้านนวัตกรรม/ผลงานเชิงวิเคราะห์-สังเคราะห์ หรือผลงานวิชาการตามเงื่อนที่ ทมอ.กำหนดอย่างน้อย 1 เรื่อง (อยู่ระหว่างนำเสนอและประเมินความเป็นไปได้)

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (16 ตัวชี้วัด) = 81.25% (บรรลุ 13 ไม่บรรลุ 3)

1. จำนวนหนังสือต่อนักศึกษา

เป้าหมาย >23/1 เล่ม/คน

23 เล่ม/คน

บรรลุเป้าหมาย

2. จำนวนหนังสือต่ออาจารย์

เป้าหมาย >400/1 เล่ม/คน

316 เล่ม/คน

ไม่บรรลุเป้าหมาย

3. ปริมาณการยืมทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนผู้ใช้บริการที่มีสิทธิ์ยืม

เป้าหมาย 2 รายการ/คน

6.3 รายการ/คน

บรรลุเป้าหมาย

4. จำนวนฐานข้อมูลออนไลน์

เป้าหมาย 21 รายการ

21 รายการ

บรรลุเป้าหมาย

5. จำนวนผู้เข้าใช้บริการห้องสมุด

เป้าหมาย >35,000 คน/3 เดือน

36,861 คน

บรรลุเป้าหมาย

จำนวน 122,870 คน/10 เดือน (เฉลี่ย 12,287 ต่อเดือน) = 12,287*3=-36,861

  • ออนไซต์ 122,870
  • ออนไลน์ 1,367,218

6. ปริมาณการขอใช้บริการผลิตและพัฒนาสื่อฯ และขอใช้บริการโสตฯ

เป้าหมาย 5,622 คน

8,354 คน

บรรลุเป้าหมาย

7. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าหมาย >90

93.8%

บรรลุเป้าหมาย

ผลการดำเนินงานค่าเฉลี่ย 4.69 (93.8%)

8. มีหลักสูตรการอบรมการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

เป้าหมาย 5 หลักสูตร/ปี

9 หลักสูตร

บรรลุเป้าหมาย

ฝ่ายพัฒนา 8 หลักสูตร
ฝ่ายส่งเสริม 1 หลักสูตร

9. จำนวนผู้เข้าอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ

เป้าหมาย 20%

5402 คน

บรรลุเป้าหมาย (เพิ่ม 61.9%)

10. ร้อยละของการใช้ฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น (รายปี)

เป้าหมาย 10%

605,959 ครั้ง

บรรลุเป้าหมาย

ปี 2564 สืบค้น 487,446 ครั้ง
ปี 2565 สืบค้น 605,959 ครั้ง
เพิ่มขึ้นจากเดิม 19.6%

11. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบห้องสมุดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

เป้าหมาย 975 บาท/คน

862.2 คน

ไม่บรรลุเป้าหมาย

งบหนังสือ 8,968,544 บาท/10,402 คน
= 862.2 บาท/คน

12. เวลาเฉลี่ยในการดำเนินงานตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำให้บริการ (รายปี)

เป้าหมาย 3 วัน

 

1.6 วัน

บรรลุเป้าหมาย

13. ร้อยละของการเบิกจ่ายงบลงทุนตามแผน

เป้าหมาย > ร้อยละ 95

เบิกจ่ายครบ

บรรลุเป้าหมาย 

ใช้งบประมาณ 92.44%
งบเหลือจ่าย 7.56%

14. ค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการเข้าใช้บริการของห้องสมุด (รายปี) งบทรัพยากรทั้งหมด/จำนวนการเข้าใช้

เป้าหมาย 48.5 บาท/ครั้ง

34.47 บาท/ครั้ง

บรรลุเป้าหมาย

งบทรัพยากร 4,235,900 / เข้าใช้ 122,870 ครั้ง = 34.47/ครั้ง

หากใช้ออนไลน์จำนวนทางออนไลน์ 1,367,218 = 3.09 บาท/ครั้ง

15. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (รายปี)

เป้าหมาย 975 บาท/คน

407.2 คน

ไม่บรรลุเป้าหมาย

งบทรัพยากร 4,235,900/10402 คน = 407.2

16. ทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน (รายปี)

เป้าหมายร้อยละ 85

ร้อยละ 99

บรรลุเป้าหมาย

ผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินหน่วยงาน

ยุทธศาสตร์ที่/งาน/กิจกรรม/โครงการ เป้าหมาย/ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค

1. ร้อยละผลสำเร็จการใช้งานระบบ DOMS (เริ่มมกราคม 2565)

1 คะแนน /ร้อยละ100 ได้คะแนนเต็ม

ไม่สำเร็จ

99.60

ไม่ครบ 2 เดือน (98, 98.08)

2. ร้อยละการบันทึกงานประจำวันของพนักงาน

1 คะแนน / ร้อยละ 100 ได้คะแนนเต็ม

ไม่สำเร็จ

87.98

3. ร้อยละของคะแนนประเมิน 5ส

1 คะแนน /สัดส่วน คะแนนการตรวจประเมิน 5 ส

4.88

(ประเมินตนเอง)

4. ร้อยละการประหยัดพลังงาน go green (เทียบกับปีที่ผ่านมาระดับมหาวิทยาลัย)

1 คะแนน / ทุกหน่วยงานได้เท่ากัน ลดได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ได้คะแนนเต็ม

ยังไม่ประเมิน

5. เว็บไซต์ (website) หน่วยงานทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

1 คะแนน / ข่าวภาษาไทย 2 ข่าว/เดือน , ภาษาอังกฤษ 1 ข่าว/เดือน

ยังไม่ประเมิน

6. ร้อยละของการดำเนินงาน และการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี (แผนงานและแผนเงิน)

1 คะแนน /งบลงทุนร้อยละ 100 , งบดำเนินการยกเว้นเงินเดือนค่าจ้าง ร้อยละ 85

กิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด, การผลิตสำเนาข้อสอบ เป็นต้น

 90.38

คงเหลืองบซ่อมในระยะเวลา 2 เดือน

7. การปฏิบัติตามหลักวินัยทางการเงิน และ ผลการตรวจสอบภายใน

1 คะแนน / ได้คะแนนเต็มต้องเป็น 0

ยังไม่ประเมิน

8. การเข้าร่วมกิจกรรมกลางที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น

1 คะแนน /เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90ได้คะแนนเต็ม

ยังไม่ประเมิน

9. การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT)

1 คะแนน /ร้อยละ100 ได้คะแนนเต็ม ร้อยละ 95.00-99.99 คิดตามสัดส่วน ต่ำกว่าร้อยละ 95 ได้คะแนน 0

ยังไม่ประเมิน

10. ผลสัมฤทธิ์การทำงานเป็นทีม โดยที่หน่วยงาน ไม่มีพนักงานที่ได้คะแนนผลการประเมินการปฏิบัติงานต่ำกว่า 80 คะแนน

1 คะแนน / ได้คะแนนเต็มต้องเป็น 0

ยังไม่ประเมิน

2.2 ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงตามนโยบายเร่งด่วนของอธิการบดี หรือยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูง (HPO)

กิจกรรมหลัก ผลิตสื่อการสอนออนไลน์เพื่อรองรับ Virtual University

สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ Virtual University เพื่อผลิตสื่อการศึกษาร่วมกับสำนักวิชาอย่างน้อย 10 รายวิชา/ปี

23 วิชา

ผลการดำเนินงาน

ภารกิจในด้านสนับสนุนการเรียนการสอน
(1) ร่วมกับสำนักวิชาในการผลิตบทเรียน ThaiMOOC จำนวน 7 รายวิชา
(2) ผลิตบทเรียนออนไลน์สนับสนุนการเรียนการสอนการศึกษาทั่วไปจำนวน 3 บทเรียนคือ การใช้อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน Smart Classroom, การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ และ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน
(3) ผลิตบทเรียนออนไลน์ของรายวิชาต่าง ๆ 

ผลสำเร็จ

มีรายวิชาในระบบ ThaiMOOC 7 รายวิชา รวมเป็น 23 รายวิชา และมีแผนจะเพิ่มอีก 10 รายวิชา เพิ่มบริการผลิตสื่อการสอนสำหรับอาจารย์เพื่อเยผแพร่บน Wu-elearning

ปัญหาอุปสรรค

เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดทำให้การผลิตบทเรียนล่าช้าต้องขยายเวลาในการผลิต ทีมงานไม่พอเพียงกับรายวิชา ต้องจัดจ้างเพิ่มเติม ต้องพัฒนาทักษะและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตบทเรียน/การผลิตสื่อ/เอกสารประกอบการเรียน แนวทางบูรณาการกับรายวิชา

ตัวชี้วัด WU2-2-3 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ (นักศึกษา บุคลากรและประชาชน)

ร้อยละ 92.5

95.58 %

ผลการดำเนินงาน

  • ร้อยละความพึงพอใจต่อบริการห้องสมุด = 97.25
  • บริการด้านผลิตสื่อการศึกษา = 94.29
  • บริการจัดอบรม CLM training = 95.2 

***ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวม = 95.58 %

ผลสำเร็จ

95.58 %

ตัวชี้วัด WU 6-3-6 จำนวนประชาชนที่เข้าถึงหลักสูตร/สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่จัดการศึกษาในรูปแบบ life long learning

ค่าเป้าหมาย 700,000 คน/ปี

100 %

ผลการดำเนินงาน

บุคคลภายนอก = 436,954 ครั้ง

  • จำนวนการเข้าเว็บไซต์ Library.wu.ac.th = 64,425
  • จำนวนผู้ใช้ภายนอกที่เข้าใช้บริการ 861 คน
  • จำนวนผู้ใช้ที่สืบค้นบริการห้องสมุดผ่าน OPAC =158,244
  • จำนวนผู้ลงทะเบียนรายวิชาออนไลน์ (WU MOOC) =80,811 และผู้ใช้ผ่าน WU-OER = 150,229

จำนวนผู้เข้าถึงเพจและเว็บไซต์ต่างๆ อีก 13 ช่องทาง = 538,610 ครั้ง

ผลสำเร็จ

100 %

ตัวชี้วัด WU7-3-6 ร้อยละของการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี

ค่าเป้าหมายร้อยละ 90

100 %

ผลการดำเนินงาน

  • ร้อยละของการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลสำเร็จ

90.38 %