จากวิชาการสู่การรักษาจริงผ่าน VDO Call :
อาจารย์กายภาพบำบัด มวล.
VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19
อาจารย์กายภาพบำบัด มวล. VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19

        อาจารย์หลักสูตรกายภาพบำบัด ม.วลัยลักษณ์ บอกเล่าเรื่องราวการนำองค์ความรู้ทางกายภาพบำบัดออกให้บริการ รักษาบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและใกล้เคียงด้วยการรักษาทางไกลแบบ Tele Habitacion ด้วยการ vdo call  ในรายการวลัยลักษณ์สู่สังคม

        วลัยลักษณ์สู่สังคม ตอน “กายภาพบำบัดกับงานบริการวิชาการในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19” โดยอาจารย์ ดร.คมกริบ หลงละเลิง และอาจารย์ ดร.สลิลา เศรษฐไกรกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรกายภาพบำบัดสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินรายการโดยนางสาวชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อาจารย์กายภาพบำบัด มวล. VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19

อาจารย์ ดร.สลิลา กล่าวถึงที่มาที่ไปของการบริการวิชาการด้านกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ว่าเริ่มต้นมาจากโครงการกายภาพบำบัดอาสาพาลมหายใจของสมาคมกายภาพบำบัด ซึ่งตนร่วมเป็นคณะกรรมการอยู่ และได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเนื่องจากโรงพยาบาลมีเตียงไม่พอ ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสที่จะได้รับการดูแลฟื้นฟูด้านจากนักกายภาพบำบัดเหมือนที่อยู่ในโรงพยาบาล

        หลักสูตรกายภาพบำบัดจึงได้นำแนวคิด รูปแบบกิจกรรมจากโครงการนี้มาต่อยอดดูแลผู้ป่วยในนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประสานงานกับโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการการกายภาพบำบัด

        สำหรับรูปแบบการรักษา อาจารย์ ดร.คมกริบเล่าว่าจะเป็นแบบ Tele Habitacion หรือ Tele Medicine คือการฟื้นฟูคนใกล้ทางไกล ด้วยการ vdo call ผ่าน application ซึ่งปลอดภัยและเกิดประโยชน์ในการรักษาอย่างมาก  เพราะจะเห็นสีหน้า ท่าทางอาการของคนไข้ และสามารถปรับแก้ท่าทางการทำกายภาพให้ถูกต้องได้ทันที แม้จะไม่เจอตัวตนจริงก็ตาม

        ซึ่งในผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อาการหลัก ๆ ที่พบ คือ หายใจเหนื่อย หอบ ซึ่งผู้ป่วยควรจะหนุนหมอนให้สูง หรือถ้าอยู่ในท่านั่งจะแนะนำให้ก้มตัว เพื่อลดการทำงานของกะบังลม จะช่วยให้ผู้ป่วยเหนื่อยน้อยลง เป็นต้น

        นอกจากการรักษาขณะป่วยแล้ว การออกกำลังกายหลังจากพ้นระยะวิกฤต หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ก็เป็นสิ่งที่อาจารย์คมกริบให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มนี้ยังคงมีรอยของโรคหลงเหลืออยู่ เช่น ออกซิเจนยังต่ำเพราะปอดยังทำงานไม่เต็มที่ หรือสภาพจิตใจยังไม่คงที่ จึงยังต้องอาศัยการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

        อาจารย์ ดร.สลิสากล่าวเสริมว่า ขณะนี้หลักสูตรกำลังผลิตสื่อแนะนำการรักษาเป็นภาษาถิ่นใต้เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพื้นที่ภาคใต้ได้มากขึ้น

อาจารย์กายภาพบำบัด มวล. VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19
อาจารย์กายภาพบำบัด มวล. VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19
อาจารย์กายภาพบำบัด มวล. VDO Call ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19

ติดตามชมรายการได้ทาง