เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด…
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ…
อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ - นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  ...เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์…
Infographic นี้…ดีไฉนนนน

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ ... วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า "Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้...ดีไฉน" ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ…
เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC "เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้...ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ" "รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง" ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า "ยิ่งเรียนยิ่งรู้ - ยิ่งอ่านยิ่งใช่" เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า…
การสร้างสื่อดิจิทัล ด้วยสมาร์ทโฟน ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

การสร้างสื่อดิจิทัล ด้วยสมาร์ทโฟน ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

ยุคปัจจุบันนี้ สมาร์โฟนมีบทบาทกับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ภาพกราฟิกสวยๆ ได้จากสื่อดิจิทัลทั้งหมด การสร้างสื่อดิจิทัลให้มีความน่าสนใจ ทันสมัยในยุคปัจจุบันมีเคล็ดลับเกร็ดความรู้ นำมาฝากนะคะ สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดย อาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลง สภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งานองค์ประกอบ 3 อย่างคือ  1.เทคโนโลยี คือ ในส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ก่อน อย่างเช่นตอนนี้ถือสมาร์ทโฟนอยู่ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทนึงที่จะใช้สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ต่าง…
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations)  

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations)  

ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking )  เป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอันยั่งยืน เคล็ดลับในการมีความคิดสร้างสรรค์  คือ  อย่าหยุดคิด แต่อาจพักได้บ้าง ความคิดสร้างสรรค์ มาจากไหน? จากพรสรรค์  อัจฉริยะ มาตั้งแต่เกิดจากพรแสวง   การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์บ่อย ๆ  ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกพูด  ฝึกลงมือทำ     จนเกิดเป็นความคิดสร้างสวรรค์ สิ่งจำเป็นที่ต้องมี เพื่อเตรียมรับกับความคิดสร้างสรรค์ คือ เชื่อมั่นในตนเองว่าเราทำได้  อย่าปิดกั้นความคิดอย่าหยุดคิดอ่านให้มากจะได้มีไอเดียมองประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคตมีทิศทางที่ชัดเจน เราได้อะไรจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานที่รวดเร็วขึ้น  ในงานประจําหากปรับเล็กน้อย…
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication)  

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication)  

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์"๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย" องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน…
เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์   (Influencer)

เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์  (Influencer)

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างมาก เพราะคนยังไม่รู้จักเราและเรายังเป็นมือใหม่คอนเทนต์ที่ทำออกมาอาจยังมีข้อบกพร่องอยู่หรือไม่โดนใจผู้ติดตาม เราต้องทุ่มเทและปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สักวันเราก็จะประสบความสำเร็จเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มากด้วยประสบการณ์และมีผู้ติดตามจำนวนมากในที่สุด การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ดีต้องคุณสมบัติอย่างไรบ้าง 1. มีสไตล์ของตัวเอง           การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งที่จำเป็นประการแรกคือ ต้องเป็นคนที่มีสไตล์ของตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ติดตามเรามักจะติดตามจากตัวตนของเราเป็นสำคัญ เช่น เป็นคนเฮฮา สนุกสนาน จริงจัง หรือรักสวย รักงาม  เป็นต้น 2. มีความน่าเชื่อถือ            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถึงจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายตลกเฮฮา สนุกสนาน แค่ไหนเราก็ต้องมีขอบเขตของความตลก…
Microsoft PowerPoint

Microsoft PowerPoint

ไมโครซอฟท์ เพาเวอร์พอยต์ Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมการนำเสนอผลงาน ในบทเรียนนี้ เป็นการนำเสนอผลงานทางการตลาด นำเสนอได้ทั้งเอกสาร กราฟฟิก ใน 1 สไลด์ ใส่ภาพ ใส่ข้อความ แผนภูมิได้ เทคนิคต่างๆ การนำข้อมูลใน Microsoft word มาใส่ใน power point โดยไม่ต้อง copy ที่ละบรรทัด กด copy จาก word ทั้งหมด…
สุดยอดแนวคิดธุรกิจยุคดิจิทัล

สุดยอดแนวคิดธุรกิจยุคดิจิทัล

ธุรกิจยุคดิจิทัล เป็นการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ตามแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่นำอินเทอร์เน็ตมาบูรณาการกับการจัดการธุรกิจแบบไร้ข้อจำกัด เข้ามาพัฒนาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการต่าง ๆ
5 เทคนิคการใช้ Google Calendar

5 เทคนิคการใช้ Google Calendar

บริการปฏิทินแบบออนไลน์ฟรีของ Google ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2009 บนเว็บไซด์ และแอปพลิเคชันบนมือถือทั้ง Android และ iOS ซึ่งทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูลเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมไว้ในที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำหนดการนัดหมายและกำหนดเวลาเหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อความเชิญ สามารถใช้ปฏิทินร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และ ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่ง Google Calendar มีข้อดีกว่าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อโปรแกรมมาใช้ โปรแกรมในคอมพิวเตอร์มีการแสดงกิจกรรมในรูปแบบได้น้อย ซึ่งต่างจาก Google Calendar…
ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (โปรแกรมประมวลคำเพื่องานเอกสาร)

ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (โปรแกรมประมวลคำเพื่องานเอกสาร)

การใช้ปุ่มเมนูลัด ซึ่งในโปรแกรมของไมโครซอฟท์เวิร์ดจะมีปุ่มมหัศจรรย์ 1 ปุ่มคือ ปุ่ม Ctrl เมื่อปุ่ม Ctrl+ (บวกหรือผนวก) กับปุ่มอะไรก็ตามจะกลายเป็น Function key พิเศษขึ้นมา โดยการกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วตามปุ่มที่ต้องการใช้งาน

Welcome an international library user group

บ่อยครั้งที่ได้รับมอบหมายให้ต้อนรับแขกมหาวิทยาลัยและแนะนำการใช้ห้องสมุดแก่กลุ่มนานาชาติ ซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะมีความรู้พื้นฐานทางด้าน English Communication ในระดับที่สื่อสารให้กลุ่มแขกและสมาชิกห้องสมุดนานาชาติเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง ผู้เขียนก็ยังเลือกเรียนหลักสูตร English Communication ในระบบ Thaimooc เพิ่มเติมอีกหลักสูตร เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียน Script การนำเยี่ยมชมและแนะนำการใช้ห้องสมุดแบบถูกต้องตามหลักภาษา เป็นการ Reskill เพราะทักษะใดๆ ก็ตามหากไม่มีการนำมาใช้สม่ำเสมอก็จะหลงลืมไปบ้าง เช่นการใช้ไวยากรณ์ (Grammar) กริยา อดีต ปัจจุบัน และอนาคตในการเชื่อมโยงลำดับเรื่องราวว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร และจะไปที่ไหนต่อ Direction ซึ่งผลจากการทบทวนเนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนั้น ก็จะทำให้เรามีข้อมูลพร้อมที่จะถ่ายทอดให้เป้าหมายการสื่อสารได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่…
ห้องประชุม ที่ดีและเป็นมืออาชีพ ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง

ห้องประชุม ที่ดีและเป็นมืออาชีพ ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง

ในการสร้างห้องประชุมเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับมืออาชีพ นอกเหนือจากการออกแบบความสวยงามและการใช้งานแล้ว โสตทัศนูปกรณ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้การใช้งานห้องประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  โสตทัศนูปกรณ์คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อ “หอประชุม” โสตทัศนูปกรณ์ คือ อุปกรณ์ในระบบโสตทัศน์ โดยระบบโสตทัศน์เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเสียงและภาพ ซึ่งโสตทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากการประชุมเป็นกิจกรรมที่สื่อสารด้วยเสียงกับภาพเป็นหลัก ดังนั้นความชัดเจนของสารที่สื่อจึงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ หอประชุม ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง โสตทัศนูปกรณ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้เกิดหอประชุม นอกเหนือจากที่นั่ง, โต๊ะและไฟ ระบบโสตทัศน์นี้แหละคือระบบปฏิบัติการณ์ภายในห้องประชุม โดยโสตทัศนูปกรณ์สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการสื่อสารดังนี้ ระบบเสียง  ระบบเสียงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากในการประชุมนั้นใช้เสียงในการสื่อสารเป็นหลัก ดังนั้นความสำคัญและประสิทธิภาพของระบบเสียงจึงพิจารณาจากความชัดเจนในการสื่อสารทั้งการพูดและการได้ยิน สำหรับโสตทัศนูปกรณ์ด้านระบบเสียงที่สำคัญต่อหอประชุมมีดังนี้ 1. ไมโครโฟน ไมโครโฟนเป็นต้นกำเนิดเสียง โดยไมโครโฟนที่ใช้สำหรับการประชุมมักพบในรูปแบบของไมโครโฟนชุดประชุม หรือไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ มีการวางระบบเสียงเชื่อมต่อกันระหว่างไมโครโฟนประธานกับผู้เข้าร่วมประชุม  นอกเหนือจากไมโครโฟนชุดประชุมแล้ว อีกหนึ่งไมโครโฟนที่พบได้คือ ไมโครโฟนแบบไร้สาย…
ปัญหาไมค์ห้องประชุม ปัญหาเล็กที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ

ปัญหาไมค์ห้องประชุม ปัญหาเล็กที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ

ไมค์ห้องประชุมถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในดำเนินการประชุม เพราะเป็นหัวใจหลักของการนำเสนอข้อมูล ทั้งการอภิปรายข้อมูลและการเสนอความคิดเห็นล้วนแล้วแต่ต้องใช้ไมโครโฟนทั้งสิ้น ดังนั้นห้องประชุมต้องเตรียมไมโครโฟนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกใช้ไมโครโฟนไปจนถึงการศึกษาปัญหาของไมโครโฟนเพื่อให้การประชุมดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ทำความเข้าใจไมค์ห้องประชุมเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มต้นศึกษาปัญหาของไมโครโฟน เพื่อความเข้าใจหลักการทำงานของไมโครโฟน ควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของไมค์ห้องประชุมก่อน ทั้งลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและการรับเสียง และเมื่อเห็นภาพแล้วจะทำให้เข้าใจปัญหาง่ายมากขึ้น ประเภทของไมค์ห้องประชุม สำหรับไมโครโฟนที่นิยมใช้ในห้องประชุมนั้น เป็นประเภทตั้งโต๊ะเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบถือ (ยกเว้นห้องประชุมอเนกประสงค์ ที่เน้นการทำกิจกรรมเป็นหลัก) ซึ่งไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็น เนื่องจากผู้พูดมีไมโครโฟนประจำตำแหน่งสามารถตอบโต้ได้ทันที ทั้งนี้ไมค์ห้องประชุมแบบตั้งโต๊ะสามารถแยกเป็นสองประเภทได้ดังนี้ 1. Gooseneck Microphone Gooseneck Microphone หรือ ไมโครโฟนก้านยาว/ไมโครโฟนคอห่าน เป็นไมโครโฟนตั้งโต๊ะที่มีลักษณะเฉพาะตัว ด้วยก้านจับไมโครโฟนที่ยาวและสามารถงอก้านไปยังทิศทางที่ต้องการได้ มีปุ่มเปิด-ปิดไมโครโฟนขณะพูด…