Category: เทคโนโลยีดิจิทัล

กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล

ทำไมถึงเลือกเรียนรายวิชานี้ ในใจลึกๆ ประเมินไว้ว่า “บริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล” ไม่น่ายากหรอก เป็นอะไรที่ใกล้ตัวด้วย ก็เลยตัดสินใจเข้าทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และสอบประมวลความรู้ แล้วสิ่งที่คาดการณ์สิ่งที่เล็งไว้กับคะแนนผลสอบมันช่างสวนทางกันค่ะ เกรดสุดท้ายได้มาแค่นี้ 73% รายวิชานี้เขาเรียนอะไรบ้าง เราตามไปดูกันค่ะ บทแรกเริ่มต้นด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล ตามมาด้วยบทที่ 2 ระบบบริการดิจิทัลสำหรับองค์กร บทที่ 3 การออกแบบบริการสำหรับองค์กรดิจิทัล ต่อด้วยบทที่ 4 กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล บทสุดท้าย บทที่ 5 การกำหนดพิมพ์เขียวการบริการสำหรับองค์กรดิจิทัล อ่านมาถึงตรงนี้ก็มีแอบกังวลด้วยเห็นว่าเป็นรายวิชาหนึ่งที่อัดแน่นเนื้อหามาก ๆ ถ้าเราจะสรุปเนื้อหาให้ครบสมบูรณ์ก็จะมีความยาวเกินไป ทำให้ไม่น่าติดตามอ่าน วันนี้จึงขอบอกกล่าวเพียงหัวข้อเดียวคือ “กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล” มาเล่าสู่กันฟังก่อนค่ะ คุณลักษณะการให้บริการแบบสมาร์ทดิจิทัล จุดเด่นคือจะเน้นให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการเชื่อมต่อบริการบนมือถือด้วยแอพลิเคชั่นใหม่ ๆ เน้นบริการใหม่ ๆ ที่สร้างคุณค่าในการใช้งานให้กับผู้รับบริการ เป็นนวัตกรรมการบริการที่คิดค้นเพื่อตอบสนองและส่งมอบที่มีคุณค่าให้กับผู้รับบริการ กลยุทธ์การให้บริการแบบสมาร์ทดิจิทัล 1) การวางกลยุทธ์ในการบริการแบบสมาร์ทดิจิทัล ต้องมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ถ่ายทอดเป้าหมาย วางระบบงาน และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ตัวอย่างการหลอมรวมบริการในห้องสมุด เช่น บริการยืมคืนจะเชื่อมโยงบริการยืมคืนบนมือถือ ทำร่วมกับแอพลิเคชั่นจะเชื่อมโยงการจ่ายเงินกับธนาคาร ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ห้องสมุด […]

การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ใช้ Social media ในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าสังคมในปัจจุบันอาจด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง จึงทำให้บางครั้งผู้คนอาจละเลยหรือเพิกเฉยในการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องต่อกัน จึงมองว่าควรมีการเรียนรู้แนวทางในการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้ได้อย่างถูกต้องตามที่สังคมยอมรับกันเพื่อความเรียบร้อยของสังคมค่ะ มาเรียนรู้ “จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์” กันค่ะ เพื่อจะได้นำความรู้ไปเป็นแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีศีลธรรม ใน 4 ประเด็นหลัก คือ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และ การเข้าถึงข้อมูล มาเรียนรู้กันเลยค่ะ จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีศีลธรรม มีความรู้สึกับผิดชอบชั่วดี หรือใช้งานในสิ่งที่บุคคลในสังคมยอมรับกัน โดยในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) […]

Library of Things

“Library of Things” หมายถึง ห้องสมุดที่สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือ วารสาร นิตยสาร หรือทรัพยากรพื้นฐานที่ห้องสมุดมีให้บริการ ซึ่งห้องสมุดแต่ละประเภทจะสิ่งของที่ให้ยืมแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้ หรือตามความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด

การถ่ายภาพเบื้องต้น | Basic Photography

จากการไปศึกษาการถ่ายภาพเบื้องต้น จะได้รู้ถึงด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์มารวมกัน การถ่ายภาพจึงหมายถึง การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนะคติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือการปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้ามา กระทบกับวัสดุไวแสงและนำวัสดุไวแสงนั้นไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏออกมา หากเป็นระบบฟิล์มแบบเก่าเราไปล้างกับน้ำยาและมีภาพปรากฏออกมา หากเป็นระบบดิจิทัลคือการแปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นภาพ เป็นความหมายของการถ่ายภาพที่รวบรวมทั้งในส่วนของ วิทยาศาสตร์และศิลปะเข้ามาร่วมมือกัน ประเภทของกล้องถ่ายภาพประเภทของกล้องถ่ายภาพสามารถที่จะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ1) กล้องฟิล์ม เป็นกล้องที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยการถ่ายภาพยุคแรกไปจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานอยู่แต่อาจจะเฉพาะเจาะจงอยู่ในกลุ่มที่อนุรักษ์นิยมหรือเป็นงานอดิเรก กล้องฟิล์มสามารถจำแนกตามขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้อง 2) กล้องถ่ายภาพแบบทันที (Instant Camera) หรือทั่วไปเรียกว่า กล้อง Polaroid (โพลารอยด์) เป็นกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มและกระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้วบรรจุภายในกล้อง โดยหลังจากกดปุ่มบันทึกภาพแล้วกลไกในกล้องจะทำให้ฟิล์มเลื่อนผ่านลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งจะรีดน้ำยาให้กระจายไปทั่วฟิล์มและทำปฏิกิริยาสร้างภาพขึ้นบนกระดาษ เมื่อลอกฟิล์มกับกระดาษออกจากกันจะทำให้เห็นภาพที่บันทึกไว้ กระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น กล้องชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เช่น การถ่ายภาพติดบัตร การถ่ายภาพท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สำหรับถ่ายภาพเพื่อทดสอบสภาพแสงและการจัดองค์ประกอบภาพก่อนถ่ายจริงในสตูดิโอ 3) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นกล้องที่กำลังได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยแทนที่จะบันทึกภาพลงในฟิล์มภาพที่ถ่ายจะถูกแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัลและบันทึกลงหน่วยความจำในกล้อง ช่างภาพสามารถเห็นภาพได้ทันทีจากจอภาพของกล้องหรือต่อผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดลงบนกระดาษเหมือนกล้องฟิล์ม อุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่รับภาพและแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลนี้เรียกว่า “ตัวรับภาพ” หรือ “อิมเมจเซ็นเซอร์” (Image […]

Back To Top