การสอนงาน Coaching

การโค้ช (Coaching) ถือได้ว่าเป็นวิธีการส่งเสริมและให้เวลาแก่ครูและเพื่อนร่วมงาน ได้มีการ ไตร่ตรองสะท้อนคิด (Reflect) ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเดียวกัน คือ การะประชุมปรึกษาหารือ การสังเกตการสอน และการให้ข้อมูลย้อนกลับ พร้อมกับช่วยให้ครูได้พูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายในการปฏิบัติ หน้าที่เพื่อพัฒนาการจัดการเรียน

ตอนที่ 1 แนวคิดการ Coaching

1 ความหมายของการ Coaching
                ICF ได้นิยาม ให้ความหมายของการ Coach ดังนี้ “การเป็นคู่คิดให้กับผู้ได้รับการโค้ช ในกระบวนการสนทนาที่กระตุ้นความคิดและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ ที่ท า ให้ผู้ได้รับโค้ชมีแรงบันดาลใจในการน าศักยภาพในตนเองทั้งด้านส่วนตัวและด้านงานอาชีพออกมาใช้สูงสุด” Coaching เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เป็นวิธีการพัฒนาพนักงานนอกเหนือไปจากการฝึกอบรมดั่งในอดีตที่ นิยมกันมาก การ Coaching เพื่อพัฒนาผลงานนี้เองที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นวิธีการที่สามารถพัฒนาพนักงานได้ อย่างตรงประเด็น และไม่มีต้นทุนที่สูงเหมือนกับการส่งพนักงานไปฝึกอบรม   
                เนื่องจากคนที่จะเป็น Coach นั้นจะเป็น พนักงานในองค์กรเอง เช่น หัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ หรือช านาญในเรื่องนั้นๆ เรื่องของการ Coaching นั้น ในปัจจุบันยังมีคนเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะภาษาไทยแปลว่าการสอนงาน พอเจอคำว่าสอนงาน ก็เคยคิดไปว่า การที่พนักงานมานั่งเรียนกับหัวหน้า หรือการที่พนักงานมาทำงานแล้วก็มี On-the-job training ก็เป็นการสอนงาน ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ทั้งหมด
                การ Coaching นั้นมันเป็นอะไรที่ลึก กว่าการสอนปกติครับ มันเป็นทั้งการให้เทคนิคการทำงาน การเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ๆ ในการทำงาน รวมถึงเป็นการสร้างนิสัยใหม่ๆ ในการ ทำงานให้เกิดขึ้นด้วย

ตอนที่ 2 กระบวนการสอนงาน

                หน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่ต้องวางแผนเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการ ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทาง เพื่อมุ่งสู่ ผลสำเร็จที่คาดหวังในอนาคต ดังมีผู้กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการ วางแผน และถ้าวางแผนดี ก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง

องค์ประกอบของการวางแผน
                1. เป็นกระบวนการ (process) กระบวนการในที่นี้ หมายถึง กิจกรรมที่ต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในหน่วยเดียวกันกิจกรรมนี้ต้องการทั้ง ทรัพยากร และพลังงานเพื่อทำให้กิจกรรมดำเนินไปได้
                2. มีการจัดเตรียม (preparing) การวางแผนเป็นกระบวนการของการตระเตรียมหนึ่งของการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับการอนุมัติและ ดำาเนินการโดย องค์การอื่นๆ แม้ว่าหน่วยงานหนึ่งมีหน้าที่วางแผน มีอำานาจอนุมัติและดำเนินการตามแผนก็ตาม กระบวนการดังกล่าวนี้ คงยังมีอยู่ต่างหากโดยเฉพาะ
                3. เป็นชุดหนึ่ง (a set) ในที่นี้จำเป็นต้องแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างการวางแผนกับการตัดสินใจเพราะการวางแผน หมายถึง การตัดสินใจประเภทหนึ่ง และในที่นี้มีลักษณะคือมีความเกี่ยวข้องกับชุดหนึ่งของการตัดสินใจที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นระบบ
                4. การตัดสินใจเพื่อการทำ (decisions for action) การวางแผนมุ่งสู่การกระทำเป็นสำคัญ ไม่ได้มุ่งไปสู่วัตถุประสงค์อย่างอื่น
                5. ในอนาคต (in the future) ลักษณะสำคัญยิ่งของการวางแผน ได้แก่ การมุ่งสู่อนาคต มีการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต ความไม่ แน่นอน และเงื่อนไขต่างๆ
                6. การมุ่งสู่การทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (directed at achieving goals) รายวิชา การสอนงาน 3 กระบวนการวางแผนจะไม่สามารถดำเนินไปได้ถ้าขาดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์จะเป็น ตัวกำหนด ทิศทาง จุดหมายปลายทางของการกระทำเป็นกระบวนการดังกล่าวมา
                7. ใช้วิธีการที่ให้ผลงานสูง (by optimal means) จุดสำคัญอันหนึ่งในกระบวนการวางแผนก็คือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการกับเป้าหมายเพื่อ เลือกวิธีการกระทำที่ก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายมากที่สุด

                ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าการวางแผนก็คือการตัดสินใจล่วงหน้าในการเลือกทางเลือกที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไม่ ว่าจะ เป็นวัตถุประสงค์หรือวิธีการกระทำ โดยทั่วไปจะเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้คือ จะทำอะไร (what) ทำไมต้องทำ (why) ใครบ้างจะเป็นผู้กระทำ (who) จะกระทำเมื่อใด (when) จะกระทำที่ไหนบ้าง (where) และจะกระทำกันอย่างไร (how) โดยการวางแผนที่ดีย่อมต้องมาจากการตั้งเป้าหมายที่ดี
                วางแผนการ Coaching กับพนักงาน โดยจะต้องกำหนดเรื่องที่จะ Coach ในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น Coach เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือ Coach เพื่อให้มีความชำนาญในการนำเสนองานมากขึ้น หรือ Coach เพื่อให้มีความสามารถในการเจรจาต่อรองได้ดีขึ้น ฯลฯ
                นอกจากการกำหนดเรื่องแล้ว สิ่งถัดไปที่ จะต้องกำหนดให้ชัดเจน ก็คือ จะ Coach กันอย่างไร เช่น ทุกวันก่อนเลิกงาน 1 ชั่วโมงให้มาคุยกัน เพื่อที่จะ Coach กันในประเด็นเหล่านี้ พนักงานก็จะนำเอาเรื่องงาน ปัญหาในประเด็นนั้น มาพูดคุยหารือกับผู้ Coach ส่วนผู้ Coach เองก็จะฟัง และให้คำแนะนำสอนงาน รวมทั้งอาจจะใช้คำถาม เพื่อให้พนักงานได้คิดต่อยอดเองได้ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน coaching plan สิ่งที่จะต้องทำก็คือ คนที่เป็น Coach จะต้องสังเกต พฤติกรรมของพนักงานในเรื่องที่ Coach ว่ามีการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ เป็นไปตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ตกลงร่วมกันหรือไม่ พร้อมทั้งให้ Feedback และสอบถามถึงความรู้สึกของพนักงานว่าเป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกถึงความคืบหน้า หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง ฯลฯ
ประโยชน์และความสำคัญของการวางแผน
1. ป้องกันมิให้เกิดปัญหาในอนาคต
2. ทำให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจ การวางแผนจะเป็นหลักหรือแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การตัดสินใจ
3. ทำให้งานมีความเป็นได้
4. ทำให้เกิดการประหยัด
5. เกิดความสะดวกและง่ายในการบริหาร
6. ป้องกันปัญหาทางด้านโครงสร้างและบริหาร กำลังขวัญและความรับผิดสูง การมีวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย ที่ชัดเจน
                ดังนั้นการวางแผนที่ดีย่อมต้องมาจากการตั้งเป้าหมายที่ดีเพื่อที่จะสามารถท าให้บรรลุความสำเร็จตาม ที่ตั้งไจ วางแผนการ Coaching กับพนักงาน โดยจะต้องกำหนดเรื่องที่จะ Coach ในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น Coach เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น หรือ Coach เพื่อให้มีความชำนาญในการนำเสนองานมากขึ้น หรือ Coach เพื่อให้มีความสามารถในการเจรจาต่อรองได้ดีขึ้น ฯลฯ

ตอนที่ 3 การแยกประเภทคนตามพฤติกรรม DISC

การจำแนกประเภทของคน DISC มาจากนักจิตวิทยาชื่อ Dr. William Moulton Marston มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เขียนหนังสือ ที่ชื่อ The Emotions of Normal People และจำแนกคนเราออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทไม่มี ประเภทใดที่ดีที่สุด หรือแย่ที่สุด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ สถานการณ์และการปรับตัวเองตามแบบของตนเอง

                DISC จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้ เพื่อให้ได้เข้าใจถึง ธรรมชาติ และพื้นฐานของคนที่แตกต่างกันไปในแต่ละสไตล์ มากยิ่งขึ้น และหาแนวทางในการปรับตัวเองให้เข้ากับคนรอบข้างได้ดี ยิ่งขึ้นต่อไป

ตอนที่4 การจัดการเรียนการสอนด้วยการ Coaching

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาสังคมอย่างแพร่หลาย กระบวนทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การ Cooperrider, Whitney และ Stavros (2003: 15); Watkins, Mohr และ Kelly (2011: 17) ได้วิเคราะห์และนำเสนอกระบวนทัศน์ 2 แบบที่นำมาใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

หลักการพื้นฐานของ AI (Principles of AI)
                Cooperrider, Whitney และ Stavros (2003) ได้เสนอหลักการของการสืบสอบแบบชื่นชม (Appreciative Inquiry: AI) ไว้ 5 ประการ ต่อมานักปฏิบัติด้านการสืบสอบแบบชื่นชม และผู้มีส่วนร่วมได้พบหลักการเพิ่มอีก 3 ประการ รวม 8 ประการ (Cooperrider, Whitney & Stavros, 2003; Preskill & Catsambas, 2006; Reed, 2007; Watkins, Mohr & Kelly, 2011: 72) ได้แก่
                                1) หลักการฉันคือผู้ร่วมสร้างความหมายของความจริงและความรู้ (The constructionist principle)
                                2) หลักการปรากฏขึ้นพร้อมกันของสรรพสิ่ง (The principle of simultaneity)
                                3) หลักการภาษากวี (The poetic principle)
                                4) หลักการวาดหวัง (The anticipatory principle)
                                5) หลักเชิงบวก (The positive principle)
                                6) หลักองค์รวม (The wholeness principle)
                                7) หลักการปฏิบัติจริง (The enactment principle)
                                8) หลักการเลือกอย่างอิสระ (The free choice principle

ตอนที่ 5 การมอบหมายงาน

ความหมายของการมอบหมายงาน
                การมอบหมายงานเพื่อการพัฒนาตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Delegation ซึ่งเป็นการที่บุคคลหนึ่ง บุคคลใด มอบหมายงาน อำนาจ และความรับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่บุคคลอื่น โดยมั่นใจว่าผู้รับ มอบหมายมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จะทำงานนั้นๆ ได้บรรลุผลตามต้องการ อย่างไรก็ ตามสิ่งสำคัญในการ มอบหมายงาน คือ งานที่ถูกมอบหมายไปนั้นยังคงเป็นงานของผู้มอบหมายอยู่ ซึ่งแตกต่าง จากการสั่งงาน (Assign) ที่ ภาระงาน และความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นของผู้ทำงานนั้นๆ ทำไมต้องมอบหมายงาน วัตถุประสงค์หลักของการมอบหมายงาน จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาลูกน้องหรือทีมงาน
                ดังนั้นต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่าการมอบหมายงาน ไม่ใช่เกิดจากงานนั้นเป็นงานที่เราไม่ชอบหรือไม่ ศิลปะของการ มอบหมายงาน อยากทำและไม่ใช่เพียงเพราะเราทำเองไม่ไหวและต้องการให้มีคนมาทำงานนั้นๆ ให้เสร็จ แต่เกิด เนื่องจากเรา ต้องการทำให้คนหรือทีมงานของเราได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และพัฒนาศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อ นำไปสู่ ความเจริญก้าวหน้าในการทำงานและความเติบโตของธุรกิจต่อไป ในทางปฏิบัติ การมอบหมายงานไม่ใช่เพียง เป็นกระบวนการในการพัฒนาลูกน้องหรือทีมงานเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการที่ทำให้ทั้งลูกน้องและหัวหน้างานสามารถพัฒนาได้ทั้ง 2 ฝ่าย หรือทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็น Win-Win Situation คือ ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยในส่วนของหัวหน้า หรือผู้มอบหมายงาน จะทำให้เกิดประโยชน์ ในการที่ไม่ต้องทำเองทุกเรื่อง สามารถนำ เวลาที่มีอยู่ไป เรียนรู้ หรือบริหารจัดการเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอื่นๆ ได้ ในส่วนของลูกน้อง หรือ ผู้รับมอบหมายงาน จะท าให้ได้เรียนรู้ ในการบริหารจัดการ และการตัดสินใจต่าง ๆ ในการดำเนินงานทำให้สามารถ พัฒนาความสามารถได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของการมอบหมายงานที่ดี

นอกจากทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรแล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีอีกหลาย ประการที่ ตามมา ได้แก่
                         • การประหยัดเวลาในการทำงาน (ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการมอบหมายงานในครั้งแรก ผู้รับ มอบหมายงานอาจ ต้องใช้เวลาในการทำค่อนข้างนาน แต่เมื่อเกิดความชำนาญ และทักษะ ก็จะทำ ให้สามารถทำงานได้บรรลุผลภายในเวลา ที่รวดเร็วขึ้น
                         • การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือทีมงานอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
                         • การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทีมงาน เนื่องจากได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตใน อนาคต เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน หากการมอบหมายงานนั้นๆ ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่จะ ตามมาอีกหลายประเด็น เช่น ทำาให้พนักงานสับสน และเกิดความกังวลใจ หรือตระหนักกับงานที่ได้รับมอบหมาย บั่นทอนกำลังใจ และอาจนำมาซึ่งผลเสียของงาน ทำให้ไม่บรรลุผลตามต้องการได้ ทำอย่างไรเมื่อต้องมอบหมายงาน

การมอบหมายงานที่ดีควรทำดังนี้

1. ชี้แจงให้ผู้รับมอบงานทราบชัดถึงเหตุผลในการเลือกบุคคลหรือทีมงานนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการทำงาน
2. สร้างทัศนคติที่ดีในการรับมอบหมายงาน ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ ไม่ใช่เป็นการสร้างภาระงานที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
3. มีการประเมินความรู้ ความสามารถและทักษะของผู้รับมอบงาน เพื่อนำไปสู่การใช้ความรู้นั้นๆ เพื่อการทำงานให้บรรลุผล
4. สร้างความชัดเจนถึงหน้าที่ ขอบเขต และอำนาจที่มีในการทำงานนั้นๆ
5. กำหนดเป้าหมาย และความคาดหวังที่ต้องการในผลลัพธ์ของงานอย่างชัดเจน รวมทั้งบอกถึงตัวชี้วัดที่มี
6. พิจารณาและจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการทำงานให้บรรลุผล สิ่งสำคัญในการมอบหมายงาน คือ งานที่ถูกมอบหมายไปนั้นยังคงเป็นงานของผู้มอบหมายอยู่ ไม่ใช่งาน ของผู้รับมอบ
7. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานให้ชัดเจน รวมทั้งบอกถึงผลดีที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบที่ตามมา หากงานไม่บรรลุ
8. การเตรียมการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงาน
9. วิธีการติดตามงานและการให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงาน ทั้งนี้ในการมอบหมายงาน ต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลย์ระหว่างการติดตามงานและการเปิดโอกาสให้ผู้รับมอบงานได้ทำงานด้วยตนเองอย่างเต็มที่

วิธีการมอบหมายงานให้ได้ผล (Delegate for Results)
วิธีการมอบหมายงานให้ได้ผล แบ่งเป็น 5 วิธีการหลักดังนี้
                1. Keep (เก็บไว้ทำเอง) คือ การคงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบไว้ เพื่อดำเนินงานเองงานนั้น เป็นงาน พิเศษอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของท่าน ใช้เมื่อ
                                – ผู้บริหารเจาะจงให้ท่านเป็นผู้ดำเนินงานนั้นแล้วเสร็จ
                                – ผู้อื่นยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ
                                – ผู้อื่นไม่สามารถทำให้เสร็จได้ตามกำหนดเวลาสรุปแล้วการ
                2. Delegate idea Generation (มอบหมายให้หาแนวความคิด) คือ การมอบหมายให้ผู้อื่น รับผิดชอบในการ หาแนวความคิดหรือให้นำสถานการณ์ใดๆ ไปไตร่ตรองใคร่ครวญต้องการได้รับมุมมองหรือ แนวความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้เมื่อ
                                – ต้องการให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวความคิดมีส่วนร่วมในแนวความคิดและช่วยให้การสนับสนุนจากงาน นั้นๆ
                                – ยอมรับหรือเลือกดำเนินการตามแนวความคิดที่ผู้อื่นเป็นคนนำเสนอ
                3. Delegate The Task (มอบหมายงาน) คือ การมอบหมายความรับผิดชอบที่มีขั้นตอนการทำงานชัดเจน และงานนั้นไม่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่เล็กน้อยในการตัดสินใจ ใช้เมื่อ
                                – งานนั้นไม่ต้องการการตัดสินใจ
                                – งานนั้นมีการวางระบบงานไว้เป็นอย่างดี
                                – งานนั้นมีขั้นตอนการทำงาน
                                – ผู้อื่นมีคุณสมบัติไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจในงานนั้น
                4. Delegate Authorities (มอบหมายอำนาจหน้าที่) คือ การมอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้อื่น ทำงานที่มี ขั้นตอนการทำงานชัดเจน และต้องใช้อำนาจในการตัดสินใจที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ใช้เมื่อ
                                – ต้องการให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นให้กับผู้ที่ได้รับมอบหมาย
                                – ผู้นั้นมีคุณสมบัติเพียงพอในการให้อำนาจตัดสินใจ
                                – ต้องการสร้างสรรค์โอกาสในการพัฒนาบุคลากร
                                – มีการจัดให้มีการฝึกอบรมหรือการชี้แนะ
                5. Refer (การส่งต่อ) คือ ส่งงานให้ผู้อื่นเพราะงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลหรือทีมงาน นั้น ใช้เมื่อ
                                – บุคคลหรือทีมงานนั้นๆ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ
                                – ให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงอยู่แล้ว
                                – ได้มอบหมายงานนั้นแล้ว แต่บุคคลหรือทีมงานต้องการส่งคืนงานกลับมายังคุณ
ดังนั้น มอบหมายงานที่ดี ต้องมีการวางแผนเตรียมการ และดำเนินงานอย่างดี โดยคำนึงถึงทั้งตัวงานที่มอบหมาย ความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำของผู้รับมอบ รวมทั้งการให้อำนาจในการดำเนินงาน สนับสนุนทรัพยากรอย่างเต็มที่ และมีการติดตามผลของผู้มอบหมายงาน อันจะนำไปสู่การทำงานที่บรรลุ เป้าหมายตามต้องการ คือ “งานได้ผล คนสิ่งสำคัญอันดับแรกสุดคือการที่ผู้บริหารหรือผู้นำขององค์กรต้องมี การสำรวจตนเองและพร้อมที่จะ ปรับเปลี่ยนทัศนคติความคิดในเรื่องของการมอบหมายหรือการกระจายงาน อย่างมีมุมมองที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ แท้จริง อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการภายในองค์กร

วิธีการมอบหมายงานให้ได้ผล (Delegate for Results)

วิธีการมอบหมายงานให้ได้ผล แบ่งเป็น 5 วิธีการหลักดังนี้
                1. Keep (เก็บไว้ทำเอง) คือ การคงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบไว้ เพื่อดำเนินงานเองงานนั้น เป็นงาน พิเศษอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของท่าน ใช้เมื่อ
                                – ผู้บริหารเจาะจงให้ท่านเป็นผู้ดำเนินงานนั้นแล้วเสร็จ
                                – ผู้อื่นยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ
                                – ผู้อื่นไม่สามารถทำให้เสร็จได้ตามกำหนดเวลาสรุปแล้วการ
                2. Delegate idea Generation (มอบหมายให้หาแนวความคิด) คือ การมอบหมายให้ผู้อื่น รับผิดชอบในการ หาแนวความคิดหรือให้นำสถานการณ์ใดๆ ไปไตร่ตรองใคร่ครวญต้องการได้รับมุมมองหรือ แนวความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้เมื่อ
                                – ต้องการให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวความคิดมีส่วนร่วมในแนวความคิดและช่วยให้การสนับสนุนจากงาน นั้นๆ
                                – ยอมรับหรือเลือกดำเนินการตามแนวความคิดที่ผู้อื่นเป็นคนนำเสนอ
                3. Delegate The Task (มอบหมายงาน) คือ การมอบหมายความรับผิดชอบที่มีขั้นตอนการทำงานชัดเจน และงานนั้นไม่ต้องใช้อำนาจหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่เล็กน้อยในการตัดสินใจ ใช้เมื่อ
                                – งานนั้นไม่ต้องการการตัดสินใจ
                                – งานนั้นมีการวางระบบงานไว้เป็นอย่างดี
                                – งานนั้นมีขั้นตอนการทำงาน
                                – ผู้อื่นมีคุณสมบัติไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจในงานนั้น
                4. Delegate Authorities (มอบหมายอำนาจหน้าที่) คือ การมอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้อื่น ทำงานที่มี ขั้นตอนการทำงานชัดเจน และต้องใช้อำนาจในการตัดสินใจที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ใช้เมื่อ
                                – ต้องการให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นให้กับผู้ที่ได้รับมอบหมาย
                                – ผู้นั้นมีคุณสมบัติเพียงพอในการให้อำนาจตัดสินใจ
                                – ต้องการสร้างสรรค์โอกาสในการพัฒนาบุคลากร
                                – มีการจัดให้มีการฝึกอบรมหรือการชี้แนะ
                5. Refer (การส่งต่อ) คือ ส่งงานให้ผู้อื่นเพราะงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลหรือทีมงาน นั้น ใช้เมื่อ
                                – บุคคลหรือทีมงานนั้นๆ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ
                                – ให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงอยู่แล้ว
                                – ได้มอบหมายงานนั้นแล้ว แต่บุคคลหรือทีมงานต้องการส่งคืนงานกลับมายังคุณ

ดังนั้น การมอบหมายงานที่ดี ต้องมีการวางแผนเตรียมการ และดำเนินงานอย่างดี โดยคำนึงถึงทั้งตัวงานที่มอบหมาย ความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำของผู้รับมอบ รวมทั้งการให้อำนาจในการดำเนินงาน สนับสนุนทรัพยากรอย่างเต็มที่ และมีการติดตามผลของผู้มอบหมายงาน อันจะนำไปสู่การทำงานที่บรรลุ เป้าหมายตามต้องการ คือ “งานได้ผล คนสิ่งสำคัญอันดับแรกสุดคือการที่ผู้บริหารหรือผู้นำขององค์กรต้องมี การสำรวจตนเองและพร้อมที่จะ ปรับเปลี่ยนทัศนคติความคิดในเรื่องของการมอบหมายหรือการกระจายงาน อย่างมีมุมมองที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ แท้จริง อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการภายในองค์กร

Visits: 1356

Comments

comments

Back To Top