อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ด้วยตัวผู้เรียนมีความไฝ่รู้เรื่องสุขภาพ ใส่ใจเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพอยู่แล้ว จึงมีความสนใจบทเรียนอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อดูแลตัวเองในอนาคต และดูแลคนใกล้ชิดในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุให้ดูแล และถึงแม้ไม่ใช่ผู้สูงอายุ การใส่ใจในอาหารการกิน จะช่วยเรื่องการป้องกันการเกิดโรคในวันข้างหน้าได้

ปัจจุบัน ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คาดว่ามีหลายคน มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล สิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ คืออาหาร ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป เช่น อาหารทอด ขนมหวาน ผลไม้ที่มีรสหวาน ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยรับประทานอาหาร เลือกทานแต่ของที่เคี้ยวง่าย มีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่

ผู้สูงอายุควรระวังเรื่องโรคอ้วน ที่ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันอุดตัน ผู้สูงอายุจึงต้องรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่  ความต้องการสารอาหารของผู้สูงอายุ จะเป็นอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ ปลาทู ไข่ ถ้าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวควรรับประทานแต่ไข่ขาว ถ้าผู้สูงอายุรับประทานโปรตีนมากเกินไป ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ส่งผลให้ไตทำงานหนักในการขับสารยูเรีย

สารอาหารแต่ละประเภทสำหรับผู้สูงอายุ

  • ไขมัน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ความต้องการไขมันในผู้สูงอายุลดลง เนื่องจากความต้องการพลังงานลดลง นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นตัวนำหรือตัวละลายวิตามินในไขมันด้วย ได้แก่ วิตามัน A D E และ K
  • คาร์โบไฮเดรต ควรให้ผู้สูงอายุทานข้าวไม่ขัดสี หรือข้าวกล้อง เพื่อลดน้ำตาลในข้าว
  • วิตามัน ได้แก่ ผัก ผลไม้ วิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามันเท่ากับวัยหนุ่มสาว
  • เกลือแร่ สารอาหารประเภทเกลือแร่ ได้แก่ อาหารประเภทเกียวกับวิตามิน คือผัก และผลไม้
  • ธาตุเหล็ก ได้จากตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง เลือดสัตว์ เพื่อการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น ควรรับประทานผักสดหรือผลไม้ที่มีวิตามันซีสูงควบคู่ไปด้วย
  • แคลเซี่ยม นอกจากเช่วยเรื่องสร้างกระดูกและฟันแล้ว ยังช่วยในการแข็งตัวของโลหิต การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าร่างกายขาดแคลเซี่ยม จะส่งผลให้เกิดการดึงแคลเซียมจากกระดูก และการขาดแคลเซียมมักจะพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ร่างกายจะเริ่มการสลายแคลเซียม มากกว่าสร้างแคลเซียม
  • น้ำ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร น้ำช่วยในการย่อยและขับของเสียออกจากร่างกาย

ผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อลดปัญหาสารอาหารเกินและขาด

  • รับประทานอาหารให้หลากหลาย ในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  • รับประทานข้าวเป็นหลัก เน้นนข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย อย่างน้อยมื้อใดมื้อหนึ่งของวัน
  • รับประทานพืช ผัก ผลไม้ ตามฤดูกาลให้มาก และเป็นประจำ ผักควรรับประทานให้ไม่น้อยกว่า 4 ทัพพี/วัน และผลไม้ให้เน้นผลไม้ที่รสไม่หวานจัด
  • รับประทาน ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ควรติดมัน ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
  • ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่นโยเกิร์ตรสธรรมชาติ
  • หลึกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสหวานจัด เค็มจัด
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย
  • งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หลักการประกอบอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  • ลดปริมาณอาหารให้น้อยลง เพิ่มมื้ออาหารให้มากขึ้น
  • บริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรดื่มนมทุกวัน วันละ 1-2 แก้ว
  • การประกอบอาหารควรดัดแปลงอาหารให้เคี้ยวง่าย เช่นสับให้ละเอียด ต้มให้เปื่อย ปรุงให้เหลว
  • ปรุงรสชาติอาหารให้จืดลงเล็กน้อย ไม่ให้เค็มมาก
  • เสริฟอาหารใหม่ๆ ร้อนๆ เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำย่อยและน่ารับประทานมากกว่าอาหารเย็น
  • บริโภคอาหารมื้อหนักตอนกลางวันและมื้อบ่ายแทนบริโภคมื้อเย็น เพราะจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ

ที่มา https://thaimooc.org/course/THAIMOOC%3A%3Acourse–v1%3ACRRU-CRRU012-2019

อาจารย์วาสนา ติวงศ์

อาจารย์ชุติภัสร์ เรืองวุฒิ

อาจารย์กนกวรรณ ปลาศิลา

อาจารย์วาสนา เสภา

อาจารย์จิราพร มะโนวัง

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้บทเรียนนี้

  1. ได้รู้สภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมไปตามอายุ
  2. ได้รู้ข้อจำกัดของผู้สูงอายุในการทานอาหาร
  3. เข้าใจสภาพจิตใจของผู้สูงอายุมากขึ้น
  4. ได้เรียนรู้คุณค่าทางอาหารแต่ละประเภท ที่ผู้สูงอายุทานได้
  5. ได้รู้วิธีการปรุงอาหารเพื่อให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้มากขึ้น
  6. ได้เรียนรู้การปรับพื้นที่สำหรับรองรับผู้สูงอายุ

Visits: 42

Comments

comments

Back To Top