การบริหารความเสี่ยงดิจิทัล | Digital Risk Management

Digital Risk Management

การพัฒนาองค์กรดิจิทัล ต้องมีกระบวนการวางแผนและออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ต่างๆที่มีผลต่อความก้าวหน้าและความสำเร็จขององค์กร
สถาปัตยกรรมองค์กรเป็นทั้งกรอบแนวทาง (Framework) และ ขั้นตอนวิธี (Method) รวมทั้งกฎกติกาและกระบวนการมาตรฐานต่างๆ ที่ช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบพิมพ์เขียว รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการจัดท าแผน และพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจาก “วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์” ขององค์กร       ให้กลับกลายเป็น     “ผลลัพธ์ที่เป็นจริง”
ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าขององค์กรหรือความสำเร็จของการดำเนินการขององค์กรในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 อันดับได้แก่

DRM

อันดับ 1 สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business  Architecture) การกำหนดเป้าหมายองค์กร โครงสร้างองค์กร ทักษะ และกระบวนการทำงานขององค์กร

อันที่ 2  สถาปัตยกรรมระบบงาน (Application  Architecture)  จัดเตรียมพิมพ์เขียว (blueprint)ของแอพพลิเคชั่น(Application) แต่ละตัวที่ถูกสร้างขึ้นระบบ และมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน(interactions)รวมทั้งเกี่ยวสัมพันธ์ (relationships) กับกระบวนงานธุรกิจขององค์กร (core business processes)

อันที่ 3 สถาปัตยกรรมข้อมูล (Data  Architecture) อธิบายถึงโครงสร้างข้อมูลขององค์กรทั้งทางตรรกะ(logical) และกายภาพ(physical)โดยมุ่งเน้นที่ข้อมูลหลัก (Master Data) ข้อมูลที่ใช้ในการเชื่อมโยง ข้อมูลที่ใช้ในการออกรายงาน รวมถึงธรรมาภิบาลด้านข้อมูล application architecture และ Data architecture สามารถเรียกรวมกันเป็น information system architecture ได้

อันที่ 4 สถาปัตยกรรมระบบเทคโนโลยี (Technology  Architecture)  อธิบายถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบที่จำเป็นต้องใช้เพื่อสนับสนุนการให้บริการข้อมูลธุรกิจและแอพพลิเคชัน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT infrastructure) เครือข่ายการสื่อสาร ฯลฯ

การบริหารจัดการประยุกต์ใช้ไอทีเพื่อองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

สามารถแบ่งรูปแบบองค์กรที่มีการนำได้ไอทีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็น 4 Level ดังนี้

Level 1: Silo องค์กรดังเดิม  เน้นการขับเคลื่อน ด้วยกระดาษ มีการทดลองทำบริการดิจิทัล Traditional “Paper Based”

Level 2: Standard  องค์กรทีใช้ดิจิทัลเข้ามา ให้บริการทั้งภายในและภายนอก  มีมาตรฐานการ ทํางานบนดิจิทัล Focus on Paperless “Mobile App”

Level 3: Optimization องค์กรแห่งการเชื่อมโยง สามารถเชื่อมโยงการทำงานกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล Focus  on  Data ”One  stop service”

Level 4: Modularity องค์กรทีใช้ดิจิทัลสามารถเปิดให้ผู้ที่เกี่ยวของเข้ามาร่วมพัฒนาบริการดิจิทัล หรือแอบพลิเคชั่นต่อยอดการพัฒนาในทุกภาคส่วนร่วมกันอย่างยั่งยืน Focus on Services “Platform for All”

DRM

จากแผนภาพจะพบว่า ในแต่ละ Level จะมีระดับความเสี่ยงในการดำเนินงานแตกต่างกันดังนี้

แบบ Silo ต่างคนต่างทำจะใช้เวลาในการดำเนินงานสูง ขาดมาตรฐาน หากเกิดปัญหาจะเปลี่ยนแปลงได้ยากถือว่าเป็นแบบที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด

          แบบ Standard เป็นรูปแบบขององค์กรที่มีการจัดกลุ่มกระบวนการทำงาน ทำให้มีการวางแผนด้านการรับส่งข้อมูล ลดต้นทุนในการจัดการทั้งในด้านของเวลา งบประมาณ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมเรื่องความปลอดภัย

          แบบ Optimization เป็นองค์กรที่มีสามารถพัฒนาบริการด้านไอทีให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการเชื่อมโยงข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ และมีการวางแผนเรื่องความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

          แบบ Modularity เป็นองค์กรที่มีการวางแผนด้านไอทีควบคู่ไปกับการวางแผนด้านธุรกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถต่อยอดการพัฒนาบริการใหม่ๆ ให้กับหน่วยงานภายนอกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ข้อมูลร่วมกัน

หากมีการนำแทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร จะช่วยทำให้สามารถวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเดิมและวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ใหม่ ช่วยในการวิเคราะห์บริการรูปแบบใหม่ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นและเทคโนโลยีสามารถสร้างช่องทางใหม่ในการส่งมอบบริการ และช่วยให้เกิดประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานอื่นๆที่ต้องการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)

ธรรมาภิบาลข้อมูล คือ การปฏิบัติด้านการกำกับดูแลข้อมูล  การวางแผน และการบังคับใช้การจัดการสินทรัพย์ข้อมูลต้องมีการจัดการและควบคุมการพัฒนาองค์กรตั้งแต่การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แล้วจึงกำหนดการนำใช้ digital ได้อย่างมีเหตุมีผลมีความปลอดภัยในการใช้งาน

มีการบันทึกหลักฐานด้วยดิจิตอลเพื่อทำให้เห็นว่าใครเป็นผู้ทำกิจกรรมในงาน ใครเป็นผู้ตัดสินใจ และใครเป็นผู้ตรวจประเมินอย่างชัดเจน

เป้าหมายของธรรมาภิบาล มี 5 ขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 เรียกว่า Discipline Discipline คือคนในองค์กรมีวินัยมีวินัยรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไรอยู่ในขั้นตอนไหนกระบวนการไหนมีสิทธิมีอำนาจแค่ไหนในองค์กรนี้คืออยู่ในวินัยของตัวเอง ต้องมาทำงานกี่โมง

ขั้นที่ 2  Transparency  Transparency เป็นเรื่องของความโปร่งใสที่เราสามารถทำอะไรแล้วถูกตรวจสอบได้โดยที่เราไม่ต้องไปกลัวในสิ่งที่เขาจะมาตรวจสอบเรา

ขั้นที่ 3  Independence นั่นหมายความว่าคนอื่นและตัวเราเองจะไม่ก้าวก่ายการทำงานกันแต่ละคนมีอิสรภาพ

ขั้นที่ 4 Accountability สิ่งที่รับผิดชอบทำอะไรก็ตัวเองก็ต้องรับผิดชอบแหละในสิ่งที่ตัวเองทำ

ขั้นที่ 5 Fairness คำว่า Fairness มันไม่ใช่ Fair แค่เพียงในองค์กรของเราเองมัน Fair ไปถึงลูกค้า Fair ไปถึงคู่ค้า Fair ไปถึงคู่แข่งถ้ามีแล้ว Fair ไปถึงเรื่องของสภาพแวดล้อมโลกร้อนต่าง ๆ นานาFair ต่อระบบเศรษฐกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะธรรมาภิบาลของค์กรดิจิทัล ต้องมีการจัดการและควบคุมการพัฒนาองค์กรตั้งแต่การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แล้วจึงกำหนดการนำใช้ digital ได้อย่างมีเหตุมีผลมีความปลอดภัยในการใช้งาน ต้องมีการบันทึกหลักฐานด้วยดิจิตอลเพื่อทำให้เห็นว่าใครเป็นผู้ทำกิจกรรมในงาน ใครเป็นผู้ตัดสินใจ และใครเป็นผู้ตรวจประเมินอย่างชัดเจน

ที่มา https://thaimooc.org/course/THAIMOOC%3A%3Acourse–v1%3AOCSC-OCSC007-2019

Views: 560

Comments

comments

Back To Top