Author: Santat Sarak

PDPA ภาพกิจกรรมศูนย์บรรณสารฯ

คำประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลPersonal Data Protection Policy (PDPA) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีการกำกับดูแล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 จึงไดแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ผู้ใช้บริการทราบเพื่อเป็นการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ https://library.wu.ac.th/?page_id=16194 ในการให้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยเฉพาะการเยี่ยมชม ศึกษาดูงานของคณะบุคคลต่างๆ หรือว่าช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการใช้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา อาจจะมีการบันทึกภาพนิ่งหรือวิดีโอ และมีการนำข้อมูลไปเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือประกอบข้อมูลแนะนำการใช้บริการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปฏิบัติตามประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้สร้างแบบฟอร์มให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมและนำไปใช้ต่อไป โดยให้ตัวแทนสแกนคิวอาร์โค้ดตามรูปภาพตัวอย่าง ทั้งนี้ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ได้แนบภาพ QR Code ให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมไว้ท้ายแบบประเมินความพึงพอใจในการเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://forms.gle/po8L2edt4GDZhQHk7 Visits: 5Santat Sarakบรรณารักษ์

Reskill ภาษาที่สองจากดูหนัง ฟังเพลง

ทักษะในการสื่อสาร นับเป็นทักษะสำคัญหนึ่งของ Soft skill เพราะว่าในการทำงานเราจะต้องพูดคุยประสานงานให้สำเร็จทั้งการพูดเจรจาต่อรอง อธิบาย การอ่านทำความเข้าใจการเขียน (ปัจจุบันเป็นการพิมพ์) ยิ่งมีทักษะภาษาที่สองอย่างเช่น English Communicationจะยิ่งเป็นเพิ่มมูลค่าให้ตัวเราเอง คนฝึกทักษะการสื่อสารจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตามหลักหัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ แต่หากไม่มีการใช้ภาษาที่สองบ่อยๆ ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้งานก็อาจจะหลงลืมไปบ้าง จึงจำเป็นต้องการมี Re-Up Skill อย่างต่อเนื่อง การฟังเพลง ชมภาพยนตร์ภาษาที่สอง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ก็เป็นวิธีง่ายๆ วิธีหนึ่งในการ Reskillเพราะจะรู้สึกเพลิดเพลินกับทำนอง เรื่องราวในเนื้อหา เหมือนไม่ได้ตั้งใจฝึกทบทวนอย่างการอ่านหนังสือเพราะฉะนั้นนอกจากจะได้ Relax ผ่อนคลายในการฟังเพลง ชม MV ชมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้วจะทำให้เราได้ฝึกฟัง แถมได้ฝึกการอ่านภาษาต่างประเทศไปด้วยหากมีคำบรรยาย Subtitleผู้เขียน Blog จะใช้วิธีดังกล่าวในการทบทวนภาษาอังกฤษยามว่าง ทั้งการชมภาพยนตร์ละครซีรี่ส์ไทย ประกอบกับคำบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกอ่านจากบทสนทนาง่ายๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน และการชมผลงานภาพยนตร์ละคร ซีรี่ส์ จีน เกาหลีมีคำบรรยายภาษาอังกฤษ […]

โลกของนักสะสมของพรีเมี่ยมนิยาย

ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมี E-Book แพลตฟอร์ม Content นิยายออนไลน์รูปแบบต่าง หนังสือนิยายรูปเล่ม Hard copy ฉบับพิมพ์ในเมืองไทยก็ยังอยู่ได้ เพราะกลยุทธ์ของแถมพรีเมี่ยม และพฤติกรรมการอ่าน การสะสม และงานอดิเรกของกลุ่มผู้อ่านหนังสือเฉพาะด้านต่างๆ อย่างเช่นกลุ่มผู้อ่านนิยาย การสั่งชุดจองผลงานนักเขียนแรร์ไอเท็ม Rare Item จะมีคำศัพท์เฉพาะต่างๆ นานา เช่น แกะซีลเช็คสภาพ จิบิลิ การ์ดใส สติกเกอร์ แผ่นภาพ ชุด Box สะสม กล่องจั่วปัง มือ 1 ในซีล มือหนึ่งนอกซีล อ่านมือเดียว หนังสือมีตำหนิแต่ไม่มีผลกระทบต่อการอ่าน Trigger warning NC+ อันคัท Uncut ฯลฯ จากเมื่อก่อนรู้จักแต่ Bookmark, Postcard ที่แถมมาในเล่ม และอีกเสน่ห์หนึ่งคืออาร์ตเวิร์กปกนิยายของนักวาดปกมีชื่อเสียง หรือการต่อภาพปกของนิยาย 2 เล่ม เมื่อนำมาเรียงต่อกันเช่นตัวอย่างปกชุดนิยายแปลจีน เลี้ยงลูกมังกรออนไลน์ชุด Box จั่วปังนี้มีของสะสมสวยละลานตา Visits: 29Santat […]

Gimmick กับ Signature มีความหมายต่างกันอย่างไร?

คำว่า Gimmick กับ Signature จะเป็นคำที่ได้ยินหรือได้อ่านใน Content ทางด้าน Marketing เช่น Signature Menu ของร้านอาหารดังแห่งนี้คือ ข้าวยำสมุนไพรน้ำบูดู เสิร์ฟพร้อมข้าวเกรียบปลาทอด เมื่อลูกค้าเห็นภาพเมนูก็จะจำได้ทันทีว่านี้เป็นจานเด็ดของร้านอาหารนี้ ใครเห็นก็นึกออกว่าเป็นรายการเมนูของร้านอาหารนี้ที่เดียว หรือหากไปทานอาหารซีฟู้ดที่อำเภอท่าศาลา เมนูแกงส้มปลากระพงยอดมะพร้าวอ่อนของร้านซีฟู้ดหนึ่ง จะเป็นเมนูเด่นที่ทุกคนต้องสั่ง เปรียบเสมือนลายเซ็นของร้านอาหารแห่งนั้นเป็นต้น เพราะคำว่า Signature มาจากคำว่า Sign ลายเซ็น ซึ่งการเซ็นชื่อของทุกคนจะแตกต่างไม่เหมือนกัน อย่างเช่นในผลงานการผลิตซีรี่ส์ดังของจักรวาลชินวอนโฮ ผู้กำกับเกาหลี จะเป็นย้อนรำลึกความทรงจำในอดีต มิตรภาพความอบอุ่นเป็นต้น ส่วนคำว่า Gimmick เข้าใจว่าจะเป็นลูกเล่น/กลเม็ด วิธีการที่ใช้ดึงดูดใจสร้างแบรนด์ สร้างความนิยม เป็นจุดขายได้ตลอดไป เช่น พนักงานบริการของร้านอาหารปักษ์ใต้ดัง นุ่งผ้าปาเต๊ะ จะกล่าวว่า Signature เป็นหน้าตา ภาพลักษณ์ที่ประทับใจตั้งแต่ได้สัมผัส หรือ เห็นครั้งแรกก็ว่าได้ และหากกล่าวถึงการสร้างแบรนด์ของห้องสมุด แต่ละที่จะมี Gimmick กับ Signature ที่ตราตรึงเมื่อแรกพบคืออะไร? ในที่นี้จะลองใช้กับสิ่งใกล้ตัว เช่น Signature ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา […]

คำขยะ

มีโอกาสได้เข้าร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการเป็นพิธีกร” รุ่นที่ 1 วันที่ 25-26 สิงหาคม 2565 ณ ห้องระเบียงบรรณ 1 อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดโดยส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยากรท่านหนึ่งได้กล่าวถึง Do & Don’t สำคัญในการพูดในที่สาธารณะ เช่น พฤติกรรม พูด “คำขยะ” ระหว่างการพูด ซึ่งส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพกับผู้พูดมากจริงๆ ได้แก่ “และก็, อ่า, อึ่ม, อันนี้, ไม่นี่ ฯลฯ” เป็นคำขยะที่พูดติดปากโดยไม่รู้ตัว และอาจทำให้ผู้ฟังรำคาญ หงุดหงิดได้ บางคนก็มีท้ายคำที่พูดจนชินปาก แต่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว เช่น “เนอะ” วิธีแก้ไขคือ บันทึกวิดีโอหรือบันทึกเสียงขณะพูด จะได้รู้ว่ามีพฤติกรรมอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะถ้าไม่แก้ไข ก็จะเป็นความเคยชินติดปาก และส่งผลต่อเนื้อหาที่พูด และกลายเป็นคนตลกไป ซึ่งเป็นผลลัพท์ที่เราไม่ต้องการเมื่อจำเป็นต้องออกไปพูดต่อหน้ากลุ่มคนจำนวนมาก Visits: 128Santat Sarakบรรณารักษ์

การจัดการคลังภาพด้วย Google photo

ทุกคนคงมีการจัดเก็บไฟล์รูปภาพที่ถ่ายกับสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก แล้วพบปัญหาเมมโมรี่เต็มกันใช่ไหมคะ และแน่นอนว่าต้องลบภาพออก หรือย้ายที่จัดเก็บภาพที่กินเนื้อที่ เพื่อสามารถบันทึกภาพใหม่เข้ามาได้อีก ปัจจุบันเราสามารถย้ายอัลบั้มภาพที่ใช้พื้นที่หลาย GB ไปไว้บน Server ที่เรียกว่า Cloud ซึ่งผู้เขียนชอบใช้แอพพลิเคชั่น Google photo ในการ Sync ข้อมูลไปจัดเก็บที่ Google เพราะมีการเชื่อมต่อกับ Gmail อยู่แล้ว และเมื่อต้องการค้นหาภาพทั้งส่วนบุคคลหรือภาพที่เกี่ยวกับการทำงาน ก็ใช้วิธีค้นข้อมูลโดยพิมพ์คำค้นง่ายๆ เช่น หนังสือ, food ระบบ Google photo ก็จะดึงข้อมูลมาให้เราเลือกใช้หลากหลาย เป็นระบบ AI ที่น่าทึ่งมาก ยิ่งถ้าเราต้องการค้นหาภาพบุคคลท่านใดท่านหนึ่งเพื่อนำมาประกอบ Content ระบบ AI ใน Google photo ก็มีการค้นรวมภาพของบุคคลนั้นที่เราได้จัดเก็บไว้บน Server เช่นกัน หากเราได้ทำ Metadata บันทึกชื่อเรียกของใบหน้าบุคคลในภาพ เรียกว่าเป็นการทำดรรชนีภาพใบหน้าบุคคลที่มหัศจรรย์มาก ในภาพตัวอย่างผู้เขียนลองใช้คำค้น “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” ระบบ Google photo ก็จะแสดงผลลัพท์ออกมาเป็นภาพกิจกรรมในสถานที่ “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” ออกมาทั้งหมดให้เลือกใช้ […]

Google translate ตัวช่วยในการทำงานที่ดี

ทุกๆ ครั้งที่มีการจัดทำประกาศข่าวเปิด ปิด บริการห้องสมุด แจ้งเปลี่ยนแปลงการบริการต่างๆ จำเป็นต้องประกาศเป็น สองภาษา เพื่อสมาชิกห้องสมุดจะได้รับทราบไปพร้อมกัน ตัวช่วยที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการจัดทำประกาศข่าวแบบสองภาษาคือ Google translate โดยนำข้อความภาษาไทยที่ต้องการสื่อสาร และประกาศ แจ้งเตือนต่างๆ พิมพ์ใส่ในช่องแรก และเลือกแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ต้องการ หลังจากได้เลือกเข้าใช้ Feature Google translate URL: http:s//translate.google.co.th แต่ไม่ใช่ว่าเราจะนำผลจากการแปลมาใช้ได้เลยทันที เพราะ Google translate ยังไม่ได้รองรับการแปลเป็นภาษาไทยเป็นรูปประโยคที่ถูกต้องสละสลวยอย่างเป็นทางการได้ จำเป็นต้องใช้ทักษะการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษมาประกอบด้วยกัน จึงจะนำข้อมูลที่แก้ไขเรียบเรียงแล้วสื่อสารข้อมูลออกไปในรูปแบบประกาศอย่างเป็นทางการได้ แต่ก็เห็นพัฒนาการของ Google translate ที่แปลข้อความเป็นประโยคยาวๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อ่านเข้าใจง่ายขึ้น และมักนำข้อมูลภาษาอังกฤษที่ต้องการใช้งานมาแปลและทำความเข้าใจจากข้อมูลที่เรามีความรู้พื้นฐานประกอบ Visits: 24Santat Sarakบรรณารักษ์

นวัตกรรมในชีวิตประจำวัน

IT กับชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น หน้าฝน เรามักจะมีปัญหาเสื้อผ้าซักแล้วแห้งช้า เพราะความชื้นทางอากาศ ปราศจากแสงแดดอุ่นๆ ผู้ที่ไม่มีเครื่องซักผ้าแบบปั่นแห้งดีๆ หรือเครื่องอบผ้า ก็มักจะไปหาร้านซักผ้าหยอดเหรียญอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันหาใช้บริการได้ง่ายในราคาที่ไม่สูง เนื่องจากมีธุรกิจบริการเครื่องซักผ้าบริการแข่งขันกันทุกพื้นที่ ทั้งแบบจำกัดเวลาเปิดบริการ และแบบบริการ 24 ชม. ส่วนตัวเลือกร้านที่มีทั้งเครื่องซัก และอบผ้าแบบสแกนจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ด เพราะเคยเจอปัญหาร้านบริการแบบหยอดเหรียญและสอดธนบัตร เหรียญเต็ม หรือไม่รับธนบัตร ยิ่งเป็นร้านที่ติดตั้งและWIFI แรงๆ ฟรียิ่งชอบ ร้านที่ใช้บริการประจำตอนนี้ติดตั้งระบบสแกนคิวอาร์โค้ดหน้าเครื่องซักและเครื่องอบทุกเครื่อง ซึ่งมีภาพ QR Code ให้เราตรวจสอบเครื่องว่างผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งรอเครื่องว่างหรือระบบทำงานเสร็จเรียบร้อย  นับว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะกับชีวิตประจำวันที่มีตารางเวลาทำอะไรหลายๆ อย่าง เพราะคำว่านวัตกรรมคือ การมีเครื่องมือแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอน ลดเวลา สามารถตรวจสอบ เข้าถึงได้ตลอดเวลา มีความสะดวก ถึงแม้อาจจะเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่ในเวลาที่เราต้องนั่งรอเครื่องปั่นผ้า เราสามารถไปช้อปปิ้งจ่ายตลาด ดีกว่าไปนั่งรอ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้จริงๆ                        […]

Welcome an international library user group

ตัวอย่าง Script แนะนำห้องสมุดแก่นักศึกษานานาชาติHello and welcome to the Center for Library resources and Education media. This is the university library’s official name. This library tour will introduce you to our library facilities and operating hours. First of all, the library’s collection of books, journals, and other resources is found on the 1st-3rd floor of this building. 1st floor […]

การเลือกภาพประกอบ Content

การเขียน Content เล่าเรื่องต่างๆ ให้น่าสนใจจะต้องมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งเราจำเป็นต้องมีภาพให้คัดเลือกก่อน หรือเขียนเนื้อหาแล้วค่อยหาภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหา? อันไหน ยาก ง่ายกว่ากัน? จากประสบการณ์นักเล่าเรื่องในอดีต มักจะตั้งหัวข้อไว้ก่อนคร่าวๆ แล้วค่อยไปค้นหาภาพประกอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างเช่น การเขียนเรื่องการใช้บัตรนักศึกษาสแกนผ่านประตูอัตโนมัติศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา Visits: 29Santat Sarakบรรณารักษ์

เรียนออนไลน์แบบ Relax สบายๆ ที่มุม Projection

มุมโปรเจ็คชั่น Projection corner เป็นพื้นที่บริการหนึ่งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ดูแลบริหารการจัดการโดยฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา เพื่อรองรับการใช้งานประชุม Present งาน และ Discuss ของกลุ่มนักศึกษา ที่ต้องการใช้สื่อประกอบการอภิปราย บรรยาย มีโสตทัศนูปกรณ์รองรับการใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเปิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ DVD/VCD/CD คอมพิวเตอร์ Desktop สำหรับเปิดไฟล์ข้อมูล พร้อมซอฟต์แวร์ทันสมัยในการท่องอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลจาก Browser ต่างๆ มีจอ LCD เชื่อมต่อสัญญาณกับระบบเครื่องเสียงที่ทันสมัย ทำให้เป็นมุมยอดนิยม Top hit อีกมุมของกลุ่มนักศึกษาที่ต้องการเปิดฉายหนังร่วมกับกลุ่มเพื่อน หรือเชื่อมต่อกับระบบประชุม Online ในการเรียนผ่านหน้าจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอยต่อ เปิดเทอมเรียนออนไลน์ และเรียน Onsite จากที่บ้าน ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กลุ่มนักศึกษาก็จะมาเชื่อมระบบสัญญาณกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวนั่งเรียนในพื้นที่แห่งนี้ นับว่าเป็นการบริการ Workspace อีกรูปแบบหนึ่งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา Visits: 32Santat Sarakบรรณารักษ์

Back To Top