ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ | Southern Folk Art

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา PSU: PSU009 ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ | Southern Folk Art สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นชายแดนใต้
  • ภูมิปัญญาเป็นวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่สะสมจากการปฏิบัติจริงในห้องทดลองของสังคม เป็นความรู้ดั้งเดิมที่ถูกค้นพบ มีการทดลองใช้ แก้ไขดัดแปลง จนเป็นองค์ความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาไทยเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่คนไทยทุกคนควรรู้ ควรศึกษา ปรับปรุงละพัฒนาใช้เพื่ออนาคตแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การการศึกษา
  • การนับถือศาสนาของเผ่าชนที่อาศัยในประเทศไทย สมัยโบราณวิวัฒนาการมาจากความกลัวปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว ฝนตก ฯลฯ ปรากฏการณ์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์ และเชื่อว่าธรรมชาติมีอำนาจลึกลับเหนือมนุษย์ สามารถบันดาลความสุข ความทุกข์แก่มนุษย์ได้ จึงพยายามหาวิธีการเอาใจอำนาจลึกลับของธรรมชาติด้วยการ เซ่นไหว้ บวงสรวง บูชา ซึ่งปรากฏในงานจิตกรรมของมนุษย์ในยุคหิน ซึ่งเป็นความเชื่อในอำนาจลึกลับและจิตวิญญาณหรือเรียกว่านับถือผีและเทพปกรนัมโดยจำแนกได้ดังนี้ เทวดา อารักษ์ ผีบรรพบุรุษ ผีวีรบุรุษ ผีร้าย คตินับถือผีนี้ ยังคงฝังลึกจิตใจของชาวไทย แม้นว่าสมัยต่อมาจะได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ คติการนับถือผีก็ยังคงอยู่ โดยผสมผสานกับลัทธิศาสนาที่เผยแพร่เข้ามา เช่น ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
2. ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้
  • เครื่องแต่งกายมลายู เสื้อผ้าของทั้งมุสลิมชาย และมุสลิมหญิง ต้องสะอาด ประณีต เรียบร้อย ดูสวยงามเหมาะสมกับบุคลิกภาพ โดยการดำรงตนสมถะหรือการเคร่งครัดในศาสนา ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการใส่เสื้อผ้าเก่าแลดูซอมซ่อ เพื่อให้บุคคลอื่นเห็นว่าไม่ใส่ใจใยดีต่อโลก แต่ควรแต่งกายให้เหมาะสมด้วยสีสันและลวดลาย โดยหลักการศาสนาอิสลาม เสื้อผ้าที่มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ หรือรูปมนุษย์ ต้องพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ และสำหรับมุสลิมชายนั้น มีข้อห้ามในการสวมผ้าไหม และสิ่งทอที่ประกอบหรือประดับด้วยทองคำแท้
  • ชนิดของว่าวมลายู ได้แก่ 1. ว่าวบูหลัน (Wau Bulan) หรือว่าวดวงจันทร์  2. ว่าวกูจิง (Wau Kucing) หรือว่าวแมว 3. ว่าวจาลาบูดี (Wau Jalabudi) หรือว่าวเกี่ยวกับเพศหญิง 4. ว่าวมือรัก (Wau Merak) หรือว่าวนกยูง ว่าวทั้ง 4 ชนิดนี้จะอยู่ในว่าวตระกูลเดียวกัน แต่ส่วนท้ายจะมีลักษณะต่างกันไปตามชื่อของตัวว่าว ส่วนท้ายของว่าวจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ทั้งนี้ว่าวบูหลันจะมีลักษณะแตกต่างจากว่าวอื่น และมีรูปทรงที่เด่นชัดกว่า ว่าวบูหลันจึงเป็นที่นิยมเล่นมากกว่าว่าวอื่น แต่ความงามของตระกูลว่าวจำพวกนี้ก็ยังคงซึ่งถึงลวดลายที่บรรจงลงบนตัวว่าว
  • เรือกอและ หมายถึง เรือประมงที่ใช้กันแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อด้วยไม้กระดาน โดยทำส่วนหัวและส่วนท้ายสูงจากลำเรือ   มีการทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาด เป็นลายไทยและลายอื่นๆ เรือกอและประเภทปาตะกือระ (ท้ายตัด) หมายถึง เรือประมงที่มีลักษณะเหมือนเรือกอและแบบดั้งเดิมเกือบทุกประการ แต่มีท้ายตัดเพื่อวางเครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อนลวดลาย หมายถึง ลวดลายตกแต่งที่เป็นลายประดิษฐ์ ได้แก่ ลวดลายพรรณไม้แบบเถาเลื้อย อิทธิพลศิลปะอิสลาม ลวดลายเถาเลื้อย ลวดลายหน้ากระดาน ลวดลายประจำยามฯลฯอิทธิพลศิลปะไทยจิตรกรรม หมายถึง ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยประสบการณ์ทาวสุนทรีภาพ และความชำนาญ โดยใช้สีชนิดต่างๆ เป็นสื่อในการแสดงออก ได้แก่ภาพสัตว์ในจินตนาการประเพณี ศาสนา วรรณคดีศิลปะการแสดง สัตว์หิมพานต์ สัตว์ในจินตนาการของจีน ภาพสัตว์น้ำ ภาพทิวทัศน์ ฯลฯ
3. ดนตรีและการแสดงท้องถิ่นชายแดนใต้
  • หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น อย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่ง มาเป็นเวลานาน นักวิชาการเชื่อว่ามหรสพการแสดงเงา ประเภทหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายทั้งในแถบประเทศยุโรปและเอเชีย ในแถบเอเชียการแสดงหนังตะลุงได้แพร่หลายเข้าสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) เขมร พม่า มาเลเซีย และประเทศไทย
  • ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า “ลิเก” หรือ”ดิเกร์”เป็นศัพท์เปอร์เซีย  “ฮูลู หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็นการละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล
  •  การแสดงปัณจักสิลัต ได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิมที่เข้ามาจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย การเล่นสิละซึ่งเป็นศิลปะชั้นเชิงการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่าเป็น และได้กลายมาเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นจนทุกวันนี้ในระยะเริ่มแรกลักษณะการเล่นยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแต่เป็นการละเล่นเพื่อประลองความสามารถกัน ในสมัยก่อนชาวมุสลิมส่วนมากที่ความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าหรือมีการใช้อาวุธต่อสู้ด้วย คือ กริช เพื่อไว้ป้องกันตัวจากการศึกสงครามเมื่อหมดศึกสงคราม สิละจึงกลายเป็นการละเล่นที่มีการประชันขันแข่ง จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 
4. สถาปัตยกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้
  • เรือนมลายู หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้  นอกจากหลังคาทั้ง 3 แบบ ดังกล่าวแล้ว เรือนชาวไทยมุสลิมโบราณในจังหวัดปัตตานียังมีลักษณะเด่น คือ การประดิษฐ์ลวดลายไม้แกะสลักทั้งบริเวณช่องลมและประดับฝาเรือนอีกด้วย ไม่นิยมฝังเสาเรือนลงไปในดิน และไม่นิยมสร้างรั้วกั้นบริเวณเรือน แต่จะปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน กล้วย เพื่อให้ร่มเงา และเป็นการแสดงอาณาเขตของบ้านเรือนซึ่งนิยมสร้างแยกกันเป็นหลัง
  • ลวดลายที่ใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรม ชาวไทยมุสลิมนำลวดลายอักษรประดิษฐ์นี้มาตกแต่งบริเวณเหนือประตูหน้าต่าง รูปแบบของลักษณะอักษรประดิษฐ์นี้นิยมแบบ ซูลูซี  (Sulusi) อักษรคูฟี (Kufi) และนัสคี (Nuski) สำหรับข้อความหรือคำที่นำมาประดิษฐ์ได้มาจากโองการในอัลกุรอานหรือหะดิษ
  • มัสยิดโบราณ การออกแบบแผนผังของมัสยิด  ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือผืนผ้า มีบ้างบางแห่งที่รูปทรงมาจากสี่เหลี่ยมผืนผ้า  2  รูป  วางทับกันแบบกากบาด  ส่วนหลังคาเป็นรูปโค้งกลม  หรือโค้งกลมทรงหัวหอม  หรือมียอดแหลม  การตกแต่งในส่วนของหลังคานี้  ส่วนมากนิยมตกแต่งด้วยหินสลับสี  ส่วนอาคารภายในนิยมใช้โครงสร้างโค้งมน  และโค้งแหลม  (Arch ,  Vault)  พร้อมด้วยประดับลวดลายปูนปั้น   เช่น   ประดับตกแต่งหัวเสาภายในมัสยิด  ลวดลายรูปปั้นเหล่านั้นอาจประดับตามผนังกำแพงเพดาน  และบริเวณภายนอกของมัสยิด  ภายในมัสยิดเป็นที่โล่ง  เพื่อประชาชนจะได้เข้ามาทำการนมาซ    สิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในมัสยิดก็มีเพียงมิมบัร ( Mimbar ) เท่านั้น และมัสยิดทุกแห่งจะมีหออะซาน ( Minaret ) สำหรับเชิญชวนมุสลิมนมาซซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในเวลาต่อมา 
สิ่งที่ได้จากการศึกษาบทเรียนนี้
การศึกษาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ | Southern Folk Art สามารถนำมาประยุกต์กับการทำงานเรื่อง OER (Open Educational Resources) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ซึ่งมีแผนการดำเนินงานจะลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปกรรมท้องถิ่น อาหารพื้นบ้าน เป็นต้น โดยการได้ศึกษาบทเรียนนี้ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและกำหนดหัวข้อหรือเนื้อหาที่จะศึกษาข้อมูลท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้อย่างมีแนวทางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

           

Visits: 2696

Comments

comments

Back To Top