ลาน ฮ.มวล.

ลาน ฮ.มวล.

ตั้งแต่วันรับปริญญามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2563 สนามหญ้าเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่มีเฮลิคอปเตอร์มาลงให้ตื่นเต้นกับเสียงดังของเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กันอีกแล้ว เนื่องจากได้มีการสร้าง ลานเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งอยู่ริมถนนวงใน ก่อนถึงสะพานยกระดับหน้าอาคารบริหาร แต่สนามกว้างเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะปรากฎซุ้มสวยๆ จากความร่วมมือของนักศึกษาสำนักวิชาต่างๆ มาแทนที่ให้บัณฑิตถ่ายรูปกับหมู่ญาติ เพื่อนฝูง ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ท่ามกลางท้องฟ้าสดใส ตั้งแต่วันซ้อมย่อย จนถึงวันรับพระราชทานปริญญาจริง คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิต และผู้ปกครองจะมาหลบร้อนที่ร้านกาแฟหน้าศูนย์บรรณสารฯ และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาก็เป็นจุด Check in ที่ฮ็อตอีกที่หนึ่ง โดยใช้จุดเช็คอินว่า Walailak University Library เป็นบรรยากาศที่สดชื่นอบอวลไปด้วยความสุข ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์จึงเป็นการย้อนระลึกบรรยากาศช่วงพิธีรับปริญญาในอดีต…
Foundation stone

ตามหาพิกัดจุดวางแผ่นศิลาฤกษ์

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ…
WUSmartIDcard

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?  นับตั้งแต่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้กรอกข้อมูลพร้อมแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ใช้แสดงสถานะนักศึกษา ไว้เข้าสอบ และยืมหนังสือในห้องสมุดตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รุ่นแรก ศูนย์บริการการศึกษาร่วมกับธนาคารกรุงไทยสาขาท่าศาลา ในการออกแบบบัตรนักศึกษาตามยุคสมัยเพื่อให้รองรับการใช้สิทธิ์กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอด มาดูบัตรนักศึกษารุ่นต่างๆ กัน อายุการใช้บัตรก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของนักศึกษาเจ้าของบัตร  🧑‍ บัตรนักศึกษารุ่นแรกสีขาว ไม่สามารถใช้กับเครื่อง ATM ได้ การยืม-คืนผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือเจ้าหน้าที่นำรหัสนักศึกษาจากหน้าบัตร พิมพ์เรียกค้นข้อมูลสมาชิกในระบบ สังเกตุให้ดีโดเมน E-mail นักศึกษาจะเป็น @praduu บัตรรุ่นต่อมาเป็น…
โครงการขนมล่อมด

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่…
WULecturebuilding

ปริศนาอาคารเรียนรวม

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ.…
One stop service

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯
แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird…
รับร้องเฟรชชี่รุ่นแรก'41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก'41เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ โดยกำหนดให้เป็นลักษณะ “กลุ่มสัมพันธ์” เป็นการรับน้องมิติใหม่ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวกับชีวิตที่เติบโตขึ้นในเมืองมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรุ่นพี่ (เฟรชชี่เรียกว่าพี่บุค ย่อมาจากพี่บุคลากร)…
วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่วังผีเสื้อ อ่านแล้วไม่ใช่สถานที่ในยุทธภพนิยายจีนกำลังภายใน ที่มาชื่อนี้เป็นทั้งชื่อกลุ่มนักศึกษาชายรุ่นแรกๆ ของมวล. ที่กล้าแสดงออก ร่าเริง และยังมีที่มาคือเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหลังอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น เพราะมักจะมีวัชพืชผักตบลอยแพกีดขวางเส้นทางน้ำ คลองระบายน้ำที่ไหลผ่านหลังศูนย์บรรณสารฯ และโรงอาหารสี่จึงมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าวังผีเสื้อไปด้วย โรงอาหารสี่เป็นโรงอาหารที่อยู่ใกล้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันด้วย Covered way ต่อไปนักศึกษาใหม่ก็คงไม่เห็นชื่อโรงอาหารสี่ในตำนานของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกๆ อีกต่อไป เพราะกำลังปรับปรุงอาคารเป็นสตูดิโอของหลักสูตรนิเทศศาสตร์รองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องใช้งานเพิ่มขึ้น เลยบันทึกข้อมูลและภาพในอดีตของโรงอาหารสี่ที่มีคลองระบายน้ำไหลผ่านในเส้นทางที่แปรเปลี่ยนไป ไว้เป็นที่ระลึกเนื่องจากโรงอาหารสี่อยู่ในพื้นที่กลุ่มอาคารปฏิบัติงานของบุคลากร เลยเป็นแหล่งพักรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน รวมกับนักศึกษาที่เรียนอาคารวิชาการใกล้ๆ ด้วย เลยเป็นโรงอาหารในความทรงจำของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกจวบจนถึงปี 2566 ที่จะกลายเป็นอาคารปฏิบัติการตรงข้ามตึกสหกิจศึกษาและใกล้ตึกเรียนรวม 6 (ST)นอกจากเป็นแหล่งพักทานข้าวแล้ว โรงอาหารสี่ในอดีตยังเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารสำหรับการประชุมสัมมนาต่างๆ และสถานที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง…
มหาลัยไร้รั้วแต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาลัยไร้รั้ว..แต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย จะตัดออกไปสู่ถนนทางหลวง 401 ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลท่าศาลา ถนนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีเส้นทางออกไปยังวัดนางตรา และหากเป็นด้านข้างมหาวิทยาลัย จะเป็นเส้นทางออกวัดแส็งแรง…
ใครไม่หลงสิแปลก?

ใครไม่หลงสิแปลก

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี ก่อนเปิดเทอม จะมีการสอบวัดระดับนักศึกษาเพื่อแยกกลุ่มจัดตารางสอน ทีนี้อาคารเรียนรวม 1,3,5,7 จะมีลักษณะพิเศษ คือชั้น…
บันทึกรากแห่งปณิธาน “ศึกษิต” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บันทึกรากแห่งปณิธาน “ศึกษิต” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มีหลายครั้งที่ได้รับคำถามในฐานศิษย์เก่า (หรือที่วลัยลักษณ์เรียกว่า ศึกษิต) คนหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่า “ศึกษิต” คืออะไร หมายถึงใคร ... ตามความเข้าใจของตัวเองมาโดยตลอด ได้อธิบายว่าเป็นคำเรียกศิษย์เก่าที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกคนว่าเป็นศึกษิต ส่วนจะสำเร็จวิชาจาก “สำนัก” ไหนนั้นก็แล้วแต่ว่าเลือกเรียนอะไรกันมา... และในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกศึกษิตให้เป็น “ศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์” เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และทางมหาวิทยาลัยได้เชิญให้เป็นแขกคนสำคัญในงานแสดงความยินดีก่ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มและโล่กิตติการ เข็มรางวัลจภ.ทองคำ เข็มประกาศเกียรติคุณอาจารย์ดีเด่น และโล่รางวัลศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์ โดยเชิญครอบครัวของศึกษิตแห่งปีฯ เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย ศึกษิตในความเข้าใจของเราเอง ..อย่างพื้นฐานเลยคือ จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นทั้ง…
“ทัศนียภาพอันงดงาม/อาคารสีสันสดใส COLORFUL”         ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

“ทัศนียภาพอันงดงาม/อาคารสีสันสดใส COLORFUL” ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน การแข่งขันทางการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัย  หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลือกจำนวนของมหาวิทยาลัยที่มีมากขึ้นกว่าในอดีต จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของนักเรียนมีมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะชักจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น อาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความมีชื่อเสียงตั้งแต่เดิมของมหาวิทยาลัย  คณะหรือหลักสูตรที่สนใจ หรือแม้แต่ทัศนียภาพที่สวยงามของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มองเห็นถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของการที่จะดึงดูดใจนักเรียนให้มีความสนใจเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงทัศนียภาพให้มีความงดงาม มีพื้นที่ให้เป็นจุด Check In ถ่ายรูปสวย จึงได้มีการปรับปรุงอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น…
30th WU : be my love

30th WU : be my love

“ฉันรักวลัยลักษณ์ เพราะวลัยลักษณ์พาฉันกลับมาสู่อ้อมกอดของความรัก รักษ์วลัยลักษณ์”