แน่นอนล่ะ ทุกคนเคยได้ยินคำว่า พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ วิทยากร หรือผู้สอน คนเหล่านี้คือผู้นำเสนอ ส่วนการนำเสนอ ก็คือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้นำเสนอต่อผู้ฟัง ไปจนถึงกลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก ซึ่งการที่จะทำให้การนำเสนอเกิดประสิทธิภาพได้นั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี  แล้วพวกเขาจะมีเทคนิคการเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนออย่างไรบ้างมาติดตามกันเลยค่ะ การเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอ สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้นำเสนอเกิดความมั่นใจ คือการเตรียมความพร้อม ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาวัตถุประสงค์ในการนำเสนอว่าทำเพื่อสิ่งใด เพื่อแจ้งให้ทราบ เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อขอความเห็นชอบ หรือเพื่อตัดสินใจ ทำให้ผู้นำเสนอทราบว่าควรเตรียมเนื้อหาที่มีรายละเอียด จุดสำคัญในลักษณะใดบ้าง ซึ่งจะช่วยทำให้การนำเสนอกระชับ ตรงประเด็น น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเสียเวลาและรำคาญ การวิเคราะห์และเข้าใจผู้ฟัง การรู้จักและเข้าใจกลุ่มผู้ฟัง  รู้ว่ากลุ่มผู้ฟังคือใคร มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราพูดในด้านใด หากวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟังผิดสิ่งที่เตรียมมาทั้งหมดอาจไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้การนำเสนอนั้น ล้มเหลวได้ การวางแผนนำเสนอ คือ การเตรียมเนื้อหา กำหนดขอบเขตเนื้อหา ควรศึกษาหาข้อมูลในแหล่งต่างๆ รวมถึงกำหนดใจความสำคัญที่ต้องการให้ผู้ฟังรับรู้ได้ โดยเน้นสิ่งที่ต้องการขอให้ผู้ฟังพิจารณาRead More →

ถ้าจะกล่าวถึงความเชื่อ หลายท่านก็คงจะนึกถึงความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, โหราศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของข้าพเจ้านั้นมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม และมีความศรัทธาในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยตลอดระยะเวลา 23 ปี ที่ได้เข้ามาทำงานในดินแดน 9,000 ไร่แห่งนี้ที่มีนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” นั้นมีเรื่องราวมากมายให้พบเจอ บางช่วงเวลาก็ต้องเจอกับปัญหาให้เกิดความท้อแท้ใจบ้างก็ต้องมองหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้มีเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้นตั้งอยู่บริเวณตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานกล่าวขานกันมานานถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานว่า “พื้นที่แห่งนี้เคยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชื่อเรียกขานนามว่า “โบราณสถานตุมปัง” ซึ่งตำนานของที่นี่ ได้กล่าวไว้ในบางส่วนของหนังสือ “โบราณสถานตุมปัง  โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช” เขียนโดย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หน้า 69-70 ดังข้อความที่กล่าวว่า “ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดที่คนในภาคใต้ได้ยึดถือสืบทอดต่อ ๆ กันมามีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ซึ่งในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดอย่างแพร่หลาย เช่น ทวดกลาย ทวดเกียบ ทวดทอง และอีกหนึ่งในความเชื่อเรื่องทวดเหล่านั้นมี “ทวดตุมปัง”Read More →