เทคโนโลยี AR & VR กับการศึกษา
การนําเทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริงใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม ความเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) และบูรณาการเทคโนโลยีความจริงผสม (Mixed Reality : MR) มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ ทางด้านสื่อการศึกษาที่ผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เกิดปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าสู่ห้องเรียน นําเอาประสบการณ์เข้าสู่สถานการณ์จริงที่ผสมผสาน กับสถานการณ์เสมือนจริงผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมผู้เรียนเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) ผู้เรียนเพื่อเกิดพื้นฐานสังคมวิถีใหม่ (New Normal) รูปแบบการเรียนวิชาสังคมศึกษานำไปใช้ดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ในปัจจุบันและอนาคตในการสอนที่เกิดประสิทธิภาพที่ดี
AR (Augmented Reality)
การนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง Real และความเสมือน Virtual เข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ เสียง วัตถุ 3 มิติ ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และ ทำให้เราสามารถตอบสนองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่จำลองนั้น ได้มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติมี ความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอ
AR แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
1. Marker-Based

2. Location-Based

หลักการทำงานของ AR
1. ตัว Marker ซึ่งเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ หรือรูปภาพที่กำหนดไว้เป็นตัวเปรียบเทียบ กับสิ่งที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Marker Database)
2. กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับ Sensor อื่นๆ เพื่อทำการการวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) และวิเคราะห์จาก marker ประเภทอื่นๆ ที่กำหนดไว้
3. ส่วนประมวลผล เพื่อสร้างภาพหรือวัตถุแบบสามมิติ กระบวนการสร้างภาพสองมิติจากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพโดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติที่คำนวณได้จนได้ภาพหรือข้อมูลซ้อนทับไปบนภาพจริง
4. ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือจอภาพโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ
VR (Virtual reality)
เป็นเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์จำลองสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้น โดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น แสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติโดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ทั้งการใช้อุปกรณ์นำเข้ามาตรฐานเช่น แป้นพิมพ์หรือ เมาส์ สภาพแวดล้อมจำลองยังสามารถทำให้คล้ายกับโลกจริงได้
ความแตกต่าง AR กับ VRความแตกต่างของ VR และ AR นั้นก็คือ VR นั้นจะตัดขาดเราออกจากสถาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่สภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แต่ AR จะพยายามรวบรวมหรือผสานระหว่างสภาพแวดล้อมจริงๆ ณ ขณะนั้นเข้ากับวัตถุที่จำลองขึ้นมานั้นเอง
สรุปข้อแตกต่างสั้นๆ
AR เป็นการนำวัตถุเสมือน มาใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง VR เป็นการจำลองโลกเสมือนแยกออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
แนวทางในการประยุกต์ใช้ AR กับการศึกษา
1. เรียนรู้เสมือนจริงแม้อยู่ในชั้นเรียน
2. ช่วยอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจยากให้เห็นภาพได้มากขึ้น
3. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาการเรียน
4. เรียนรู้จากโมเดลสามมิติ
5. ส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวทางในการประยุกต์ใช้ VR กับการศึกษา
1. สามารถพานักเรียนเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงแห่งการเรียนรู้ โดยที่ตัวนักเรียนไม่ต้องออกจากห้องเรียนได้
2. ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับการใช้เครื่องมือในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการปั้นงานศิลปะแบบ 3 มิติด้วย VR
3. ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะ การพูดสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีทั้งสภาพแวดล้อม และตัวละครเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนแบบทันทีทันใด

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA” วิชา สื่อสมัยใหม่เพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Hits: 1852
