WU MOOC Logo

        ปัจจุบันองค์กรทั่วโลกได้มีการนำการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) มาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นทางเลือกและอำนวยความสะดวกต่อผู้เรียน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาช่วยทำการเรียนการสอน การสอนแบบออนไลน์จึงมีความหมายครอบคลุมทั้งการเรียนทางไกล การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือผ่านเว็บไซต์ เพิ่มคุณภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากรโดย แบบไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ (Anywhere Anytime)

        การเรียนการสอนออนไลน์นอกจากเป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเองแล้ว ยังมีคุณลักษณะสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองหลายประการ คือ (1) ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามที่ผู้เรียนต้องการ สามารถเลือกเรียนตามความชอบ การเรียนการสอนแบบออนไลน์จึงต้องรองรับผู้เรียนที่เป็นใครก็ได้ อยู่ที่ใดก็ได้ เรียนเวลาก็ใด ตลอด 24 ชั่วโมงตามความสะดวกของผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนจากสื่อทุกประเภท หลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นข้อความ รูปภาพเสียง VDO และ Multimedia โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser, สื่อสังคมออนไลน์ และโปรแกรมประยุกต์ (Application) ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี และเข้าใจเนื้อหาต่างๆง่ายดายมากขึ้น ที่สำคัญผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นทุกคน สามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้ E-mail, Chat, Social Network และ Links ต่อไปยังแหล่งความรู้อื่นๆ ทำให้ขอบเขตการเรียนรู้กว้างออกไป และเรียนอย่างรู้ลึกมากขึ้น

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิทยาการสมัยใหม่เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากล  โดยกำหนดให้มีโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ขึ้น เพื่อรองรับการความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายที่จะรองรับให้ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความต้องการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ โยงใยออกไปยังกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คนทำงานหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และช่วยลดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมาก ๆ ประกอบการเรียนแบบปกติ ที่สำคัญหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ ต้องสามารถรองรับให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง (Accessibility) ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความพร้อมของผู้เรียน สามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หรือปรึกษากับผู้สอนหรือผู้ช่วยสอนได้ตลอดเวลา ที่สำคัญเป็นการสร้างเสรีภาพ (Freedom) ให้กับผู้เรียน ซึ่งจะมีสิทธิเข้าเรียนได้เหมือนกันหมด สามารถเลือกหัวข้อที่อยากเรียนได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวบังคับ เรียนตามความเร็วและเวลาที่ตนเองสะดวกสามารถใช้เทคโนโลยีควบคู่ไปการเรียนรู้และการดำรงชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดการแข่งขันในด้านการจัดการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาทึ่ต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในลักษณะของหลักสูตรออนไลน์ ด้วยแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ทันสมัย เช่น e-learning, open learning, social media ฯลฯ

        ในการนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้จัดทำ “โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ขึ้น โดยมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาทางไกลในรูปแบบต่างๆ จัดรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิด และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ร่วมกับโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University : TCU) เพื่อที่พัฒนาความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter University Network : UniNet) สนับสนุนมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการผลิตบทเรียนออนไลน์หรือชุดวิชาเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งการให้บริการการเรียนรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WUMOOC) แก่ประชาชนทุกระดับและอาชีพ ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งจัดฝึกอบรมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่ครู อาจารย์ นักศึกษา ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน จัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นสหวิทยาการให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงาน

วัตถุประสงค์

      มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความประสงค์ในการร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และร่วมกันพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิดให้กว้างขวางและเป็นมาตรฐานตามหลักสากล อันเป็นที่ส่งเสริมและขยายโอกาสให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์ความร่วมมือดังนี้

  1. เพื่อร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้สอดคล้องตามหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ผ่านการพัฒนาและให้บริการรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิด
  2. เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิด
    ให้กว้างขวางและเป็นมาตรฐานตามหลักสากล
  3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการวิจัย พัฒนา คิดค้น และให้นวัตกรรมทางการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาออนไลน์สำหรับการศึกษาแบบเปิด

    นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมมือกับ TCU ในการผลิตรายวิชาออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ดังนี้

Work Performance Enhancement with AI

การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ |
Work Performance Enhancement with AI

การคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาตนเอง |
Creative Thinking for Personal Development

WU026 จริยธรรมสารสนเทศสำหรับพลเมืองดิจิทัล

จริยธรรมสารสนเทศสำหรับพลเมืองดิจิทัล |
Information Ethics for Digital Citizenship

WU025 สหกิจศึกษากับการพัฒนาทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21

สหกิจศึกษากับการพัฒนาทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 |
Cooperative Education and Working Skill Development in 21st Century

WU024 การนอนหลับกับสุขภาพดี

การนอนหลับกับสุขภาพดี |
Healthy Sleep for Healthy Life

WU023 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
Occupational Health and Safety

WU022 อนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน

อนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน |
Introduction to Environmental Health

WU021 การสาธารณสุขพื้นฐาน

การสาธารณสุขพื้นฐาน |
Introduction to Public Health

WU MOOC

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล |
Information Technology in Digital Era

WU MOOC

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย |
Thai for Contemporary Communication

WU MOOC

บริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล |
Information Services for Digital Organization

WU MOOC

เมทาดาทาสำหรับการจัดระบบสารสนเทศดิจิทัล |
Metadata for Organizing Digital Information WU

WU MOOC

กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับผู้บริการสุขภาพ (Criminal Law and Civil and Commercial Law for Healthcare Workers)

WU MOOC

การสืบค้นข้อมูลเพื่อการค้นคว้าและเขียนรายงาน |
Searching information for research report

WU MOOC

การแสวงหาความรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
(Knowledge Inquiry for development the 21st Century Skills)

WU MOOC

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง : จากแนวคิดไปสู่ผลิตภัณฑ์
(Internet of Things : from idea to product)

WU MOOC

เครื่องมือออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 |
Online Tools for 21st Century Learning

WU MOOC

อาหารไทยเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย |
Thai Food for Health and Anti-Aging

WU MOOC

เตรียมสหกิจศึกษา |
Pre Cooperative Education

WU MOOC

จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น |
Developmental Psychology in Adolescent

WU MOOC

จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ |
Developmental Psychology in Elderly

WU MOOC

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม |
Creative Thinking and Innovations

WU MOOC

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับปัจจุบันและอนาคต |
IT for the Present and Beyond