ศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้

ศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้

ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวภาคใต้ จากการที่ได้เรียนรู้ในหลักสูตร ThaiMooc เรื่อง ศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ | Arts handicrafts and Traditional play of Southern  ของมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงขออนุญาตแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ของไทยเราว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง ก่อนจะมีให้เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งคุณค่าของศิลปะที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ก่อน ศิลปะสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของผู้คนมาตลอด ไม่ว่ามนุษย์จะสร้างอะไรขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อทุ่นแรงหรือเพื่อเป็นสิ่งที่เคารพบูชาศรัทธาต่าง ๆ คุณค่าในเรื่องความงามอาจจะเป็นลักษณะเชิงนามธรรมชนิดหนึ่งแต่ของที่มีแต่ละชิ้นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาเราตั้งใจให้มันใช้สอยอย่างเดียว หรือว่าให้มันเกิดความงามขึ้นด้วย เราอาจแบ่งหมวดเป็น แบ่งหมวดเป็นงานด้านศิลปะ แบบศิลปะบริสุทธิ์หรือว่าเป็นศิลปะประยุกต์…
<strong>วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้</strong>

วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้

จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้ คำว่า "วัฒนธรรมท้องถิ่น" กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ…
<strong>เทคนิคการถ่ายภาพแบบสื่อสาธารณะ</strong>

เทคนิคการถ่ายภาพแบบสื่อสาธารณะ

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังเริ่มต้นการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ  และ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีความสวยงามสื่อความหมายถูกต้องตามหลักของสื่อสาธารณะ อันดับแรกเรามาเรียนรู้และทำความรู้จักกับการตั้งค่าพื้นฐานของกล้องเพื่อให้ได้ถ่ายภาพที่สวยงามมากขึ้น อันได้แก่ 1. การปรับค่าควบคุมแสง 3 ค่า คือ ค่า F-stop, ISO และสปีดชัตเตอร์ 2. การบันทึกภาพต่อวินาที หรือ Framerate 3. การปรับความสมดุลแสงสีขาว หรือ White Balance การปรับค่าควบคุมแสง ค่าแรก คือ ค่ารูรับแสง โดยทั่วไปเรามักจะเรียกค่ารูรับแสงสั้น…
เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่นักวิจัยและนักวิชาการทุกคนควรต้องทำ เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยและนักวิชาการควรถือว่าเป็นหน้าที่ ซึ่งอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอใด้หลายวิธี คือ การพูดทางวิชาการ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ หรือด้วยการตีพิมพ์ เป็นต้น การฝึกซ้อมกันนำเสนอ  เนื่องจากการนำเสนอการวิจัยจะเป็นเรื่องใหม่เสมอ ผู้วิจัยจึงต้องฝึกซ้อมก่อนนำเสนอทุกครั้งเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการดังนี้คือ การเตรียมการนำเสนอ และการนำเสนอ วางแผนการนำเสนอ  - ทบทวนการวิจัย, หาข้อมูลผู้ฟัง, กำหนดเวลานำเสนอประมาณ 20-25 นาที และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมการพูด –…