ประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128
ประตูเยาวราช เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา
ประตูเยาวราช เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา
พระวิหารหลวง พระวิหารหลวง เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัยพร้อมกับพระบรมธาตุ แต่ต่อมาได้ดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ และใช้ประกอบพิธีสักการะบูชาพระบมธาตุร่วมกัน และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมอย่างอุโบสถโดยทั่วไป เช่น กระทำอุโบสถของพระภิกษุสงฆ์ ประกอบพิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมืองและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ประกอบพิธีสมโภชพระบรมธาตุประจำทุกๆ ปี
ภายในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร (วัดพระธาตุ) โดยเฉพาะในบริเวณวิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) นอกจากจะมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งตระหง่านอยู่โดดเด่นแล้ว ยังมีเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ถึง 158 องค์ และหนึ่งในจำนวนนี้มีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “เจดีย์พระปัญญา” หรือ “พระปัญญา” รวมอยู่ด้วย
สวดด้าน มีเฉพาะในวันธรรมสวนะ เวลาก่อนเพลก่อนพระสงฆ์จะขึ้นธรรมาสน์เทศน์ประชาชนที่มารอฟังการแสดงธรรมเทศนาอ่านหนังสือร้อยกรองเป็นภาษาถิ่นใต้
เจดีย์หกหว้าหรือเจดีย์ดำ เป็นเจดีย์หินแบบจีน มีความเชื่อกันว่าเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานไว้ที่หน้าเจดีย์หกหว้านี้
เมื่อเข้าไปในพื้นที่ภายในวิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากจะเห็นองค์พระบรมธาตุเจดีย์และเจดีย์บริวารที่เรียงรายอยู่นับร้อยองค์แล้ว ยังมีสิ่งสะดุดตาอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ระเบียงรอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งมุงด้วยกระเบื้องดินเผาสีแดง ระเบียงหรือวิหารนี้จึงเรียกกันว่า “วิหารทับเกษตร” หรือ “ระเบียงตีนธาตุ” (เครือข่ายการท่องเที่ยววัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช, 2015) วิหารทับเกษตร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระระเบียงตีนธาตุ เป็นระเบียงหรือวิหารที่อยู่โดยรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ คําว่า “ทับเกษตร”…
วิหารสามจอม วิหารหลังเล็กอีกหลังซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพุทธาวาส ใกล้กับวิหารพระแอด และวิหารพระด้าน (วิหารคด) แม้จะสร้างขึ้นหลังวิหารอื่น ๆ แต่ก็เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง ในฐานะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช”
วิหารโพธิ์พระเดิม ตั้งอยู่ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวิหารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีต้นโพธิ์ลังกา อยู่กลางวิหารเช่นเดียวกับวิหารโพธิ์ลังกา แต่มีขนาดย่อมกว่า
วิหารโพธิ์ลังกา เป็นวิหารประดิษฐานสิ่งสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของวัดในพระพุทธศาสนาอยู่สองอย่าง คือพระพุทธรูปและต้นโพธิ์ ซึ่งมาจากศรีลังกาปลูกมานับร้อยปี เรียกอีกชื่อหนึ่ง “วิหารโพธิฆระ” หรือ “วิหารโพธิมณเฑียร” ทางทิศตะวันตกมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว 6 วา (12 เมตร) ประดิษฐานอยู่ จึงเป็นสัญลักษณ์สะท้อนคตินิยมของชาวพุทธในศรีลังกาที่ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชรับมา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดพระธาตุ เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ถือเป็นมรดกแห่งความศรัทธาอันล้ำค่าของเมืองนคร