การทำนาดำ : วิถีการทำนาแบบดั้งเดิมของเกษตรกรนครศรีธรรมราช

การทำนาดำ : วิถีการทำนาแบบดั้งเดิมของเกษตรกรนครศรีธรรมราช

วิถีการทำนา

         การทำนาดำ เป็นการปลูกข้าว เป็นหนึ่งสองวิธี คือ วิธีแรกเป็นการปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน  และวิธีที่สองคือการเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นได้แก่ การทำนาดำ  ซึ่งเป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปปลูกในอีกที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำและวัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ

        1. การตกกล้า โดยเพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 – 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 – 30 วัน

         2. การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่ม ปักดำระยะห่างหน่อย เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ (มูลนิธิข้าวไทย ในพระราชูปถัมป์, ม.ป.ป.)

          สำหรับการทำนาดำ หรือการดำนา ของชาวนครศรีธรรมราช วิถีชีวิตของเกษตรกรแบบดั้งเดิมนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง  และแฝงไปด้วยการดูความเหมาะสมของเวลาในการทำนาดำด้วย ตั้งแต่ดูฤกษ์และเลือกวันสำหรับการปลูกข้าว การตกกล้าและปลูกข้าวโดยการปักดำต้นกล้าลงไปในนา รวมถึงการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถืงกรกฎาคมของทุกปีซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนนี้ผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรังสามารถทำได้ตลอดปี ในปัจจุบันนี้ชาวนาทำนากันน้อยมาก ส่วนคนที่ยังทำนาอยู่ได้เปลี่ยนไปทำนาแบบนาหว่านกันมากขึ้น การทำนาดำจึงเริ่มหายไปจากวิถีชีวิตของชาวนา

ขั้นตอนการทำนาดำ

การเตรียมดิน

     1. การเตรียมดิน ก่อนการทำจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน คือ

       – การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกเพื่อพลิกดินให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช และโรคพืชบางชนิด หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ 

       – การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว

       – การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากแปลงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุมดูแลการให้น้ำ

          สำหรับการทำนาดำ หรือการดำนา ของชาวนครศรีธรรมราช วิถีชีวิตของเกษตรกรแบบดั้งเดิมนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง  และแฝงไปด้วยการดูความเหมาะสมของเวลาในการทำนาดำด้วย ตั้งแต่ดูฤกษ์และเลือกวันสำหรับการปลูกข้าว การตกกล้าและปลูกข้าวโดยการปักดำต้นกล้าลงไปในนา รวมถึงการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถืงกรกฎาคมของทุกปีซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนนี้ผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรังสามารถทำได้ตลอดปี ในปัจจุบันนี้ชาวนาทำนากันน้อยมาก ส่วนคนที่ยังทำนาอยู่ได้เปลี่ยนไปทำนาแบบนาหว่านกันมากขึ้น การทำนาดำจึงเริ่มหายไปจากวิถีชีวิตของชาวนา

การทำนาดำ
การทำนาดำ
การทำนาดำ

การปลูก

  การปลูก การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ

           การตกกล้า โดยเพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3–5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20-30 วัน

        การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงนา ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่ม ปักดำระยะห่างหน่อย เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ

การดำนา

การเก็บเกี่ยวข้าว

           หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อม ๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกแล้วประมาณ 10 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลืองและกลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพดี 

การทำนาดำ

การทำนาดำ

ขอบคุณภาพจาก ไร่เกษมสุข

ขอบคุณภาพจาก facebook ธรรม นำทาง 

       อุปกรณ์ที่ใช้ที่ในการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ แกระ หรือ แกะ ซึ่งเรียกกันว่าการเก็บข้าว เป็นคำที่ใช้ในภาษาใต้ และ เดียว คล้าย เคียว แต่มีสองเคียว หนึ่งด้าม มีมีดคมข้างเดียว อีกด้านของเดียวมีไว้สำหรับดึงต้นข้าวที่ล้มขึ้นมาไว้ในกำมือก่อนที่จะใช้ข้างมีคมตัด ซึ่งจะมีใช้บางท้องถิ่น ได้แก่ บ้านจันพอ ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถ้าเป็นชาวนาในภาคกลางก็จะใช้เคียวในการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเรียกกันว่า การเกี่ยวข้าว

 

การทำนาดำ การทำนาดำ

                                                                 แกะ หรือ แกระ

เดียว

อ่านเรื่องคล้ายกัน ได้ที่นี่

บรรณานุกรม

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). การทำนา. สืบค้นจาก https://thairice.org/?p=573

รจนา หมาดหล้า. (2565). เดียว เกี่ยวข้าวที่จันพอ ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา. สืบค้นจาก                       https://oer.learn.in.th/ search_detail/result/268899

สำนักงาน กปร. (2562). องค์ความรู้ข้าวข้าวของคนพอเพียง. สืบค้นจาก   https://www.rdpb.go.th/MediaUploader/File/10352/เอกสารองค์ความรู้ข้าว.pdf

Visits: 7731

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.