ศาสนาพราหมณ์

ศาสนาในนครศรีธรรมราช มีทุกศาสนา ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ดังนี้

าสนาพราหมณ์

ศาสนสถานพราหมณ์
ภาพจาก นครออนไลน์

ที่มาของศาสนาพราหมณ์

         นับเป็นเวลาหลายพันปีก่อนพุทธกาลมาแล้ว มนุษย์ได้รวบรวมกันอยู่เป็นหมวดหมู่มีอาชีพในทางเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และทําการค้าขาย มีสังคมเป็นพวกหมู่สําหรับป้องกันภัยพิบัติอันจะเกิดขึ้นด้วยกรณีต่างๆ ก่อนหน้านี้มนุษย์ จะรวมกันอยู่ได้นี้ ได้ประสบกับเหตุการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภัยเหล่านี้เหลือกําลังของมนุษย์ที่จะยับยั้งได้ และเหตุการณ์ธรรมดาชีวิตนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ไม่มีใครกําหนดได้ จึงทําให้ผู้อยากรู้มีอะไรบังคับให้เป็นไปดังนั้นพวกอยากรู้นี้ที่เป็นปัญญาชน รุ่นแรกที่ได้พยายามค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อความรู้

          ในที่สุดก็พบว่า มีเทพเจ้าอยู่เบื้องหลังธรรมชาติเหล่านั้น เป็นผู้คุ้มครองรักษาให้เป็นไปตามเทวะบัญชา ท่านเหล่านี้ นับว่าเป็นฤาษีที่ได้บําเพ็ญพรต เพียรพยายามแสวงหาความรู้และเพื่อการปฏิบัติชอบของมวลมนุษย์ต่อไปนั่นเอง ความรู้ที่ได้รับมานี้ เป็นการได้ยินจากคําดํารัสของพระพรหม เรียกว่า ศรุติ เป็นบทสรรเสริญบ้าง เป็นปุราณะเรื่องราวต่าง ๆ บ้าง รวมกันเรียกเป็น ฤคเวท นับเป็นเวทที่ 1 ที่ศักดิ์สิทธิ์แตะต้องมิได้ ต่อมาก็มีกรรมพิธีต่างๆ ที่จะกระทําให้ถูกต้องต่อเทวะ เป็นแบบธรรมเนียมเกิดขึ้น และได้มีบทขัดกล่อมเป็นโศลก มีลักษณะต่างๆ จึงได้มีเวทที่สองคือยัชุรเวท และเวทที่สามคือสามเวทเกิดขึ้น พวกนักบวช อันได้แก่ ฤาษีพราหมณ์เป็นผู้กระทําพิธี ซึ่งเรามักจะพบเสมอในหนังสือเรื่องราวเก่าๆ ในอินเดีย แม้ในพระพุทธประวัติก็มีปรากฏอยู่

           พราหมณ์ได้แบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 พวก คือ 

1.

โหรดาจารย์  บูชาในลัทธิพิธี

2.

พราหมณ์อุทาคาดา  สวดขับดุษฎีสังเวย

3.

พราหมณ์อัชวรรยุ  จัดทําพิธีในลัทธิ

ความเจริญของพราหมณ์ได้มีขึ้นจนถึงขีดสุด ก็เป็นธรรมดาจะต้องเสื่อมโทรมลงบ้างนั่น คือการแบ่งชั้นวรรณะ โดยพระเวท แล้วท่านได้แบ่งมนุษย์ในสังคมเรานี้ออกเป็นสี่จําพวก (วรรณะ) คือ

   1. วรรณะพราหมณ์  คือผู้รู้ ครูบาอาจารย์

   2. วรรณะกษัตริย์  คือนักรบ ผู้ป้องกันสังคมให้อยู่อย่างสงบเรียบร้อย

    3. วรรณะแพศย์ ผู้ทําการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทําการค้า (ผู้ทําเศรษฐกิจ ของสังคม)

   4. วรรณะศูทร คือ กรรมกรผู้ใช้แรงงานต่าง ๆ

      ถ้าเราพิจารณาด้วยความเป็นธรรมแล้ว ไม่มีปัญหาเลยว่าทุกวันนี้ในสังคมใด จะเป็นซ้ายสุดหรือขวาสุด ก็มีบุคคลอยู่ที่ วรรณะ พูดถึงเรื่องวรรณะที่ว่าจะเปลี่ยนไม่ได้ก็เพียงแต่หมายความว่า เราจะเอาอาจารย์ที่สอนมหาวิทยาลัยไปทําหน้าที่นักรบ หรือทํางานกรรมกรย่อมไม่ได้ ถึงจะบังคับให้ทํา ก็คงจะทําไม่ได้ไม่ดีเท่าของจริงของเขา เช่นเดียวกันเราจะเชิญกรรมกรสักคน ไปสอนในมหาวิทยาลัยแทนอาจารย์ (วรรณะพราหมณ์) ก็ย่อมไม่ได้เช่นเดียวกัน แต่ความเสื่อมโทรมได้บังเกิดขึ้นเพราะกิเลสของมนุษย์ทุกชั้นแล้วพยายามที่จะยกคัมภีร์ที่ว่าด้วยวรรณะของตน ก็ไม่ได้ศึกษาหาความชํานาญในสายเลือดของตนเอง กลายเป็นการหลอกบุคคลอื่น เช่นบุตรของครู (วรรณะพราหมณ์) ไม่เล่าเรียนศึกษาพระเวทก็ย่อมไม่รู้ และไม่อยู่ในฐานะที่จะสอนเขาได้ เมื่อเหตุการณ์บังคับให้ตนต้องทําหน้าที่สอนคนก็สอนบิดเบือนไปทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับบุตรนักรบ (วรรณะกษัตริย์) ถ้าไม่ศึกษาเล่าเรียนยุทธวิธีเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็ย่อมจะรักษาบัลลังก์หน้าที่ราชการไว้ไม่ได้ นี่เป็นเรื่องแน่นอน และในยุคนี้เอง ได้เกิดมหาบุรุษอันยิ่งใหญ่คือ เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ ที่ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาการของพราหมณ์ต่างๆ ถึง ๑๘ ประการ มีอาจารย์ เป็นฤๅษีชื่ออาฬารดาบสและอุทกดาบส ในตอนที่ประสูติใหม่ ๆ นั้นสมเด็จพระราชบิดาได้โปรดให้ประชุมพราหมณาจารย์ถึง ๑๐๘ ท่าน เพื่อประกอบพิธีการถวายคําทํานายได้มีความเห็นว่า ถ้าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป ก็จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ และถ้าออกบรรพชา ก็จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลก พราหมณาจารย์ โกณฑัญญะ ได้ถวายคําทํานายยืนยันว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะได้เป็นพระบรมศาสดาเอกของโลกไม่เป็นอย่างอื่น ท่านโกณฑัญญะ ได้ตั้งความปรารถนาในขณะนั้นว่าตนจะขอเป็นศิษย์ของพระบรมศาสดาต่อไป และในที่สุดความปรารถนาของท่านก็เป็นผลสําเร็จ และเป็นสาวกของพระพุทธองค์ที่สําเร็จพระอรหันต์เป็นองค์แรก เรียกว่า อัญญาโกณฑัญญะ (จากพระพุทธประวัติ)

          จึงพอจะเห็นได้ว่า วิชาการของพราหมณ์ในสมัยนั้นที่ดีก็ดีเลิศ ที่ห่างไกลจากความดีงามทั้งหลายก็มีไม่น้อย ฉะนั้นเมื่อพระองค์ ได้ทรงปฏิรูปศาสนาความเชื่อเป็นพุทธบัญญัติแล้ว จึงมีพราหมณ์เป็นจํานวนมากที่ได้เข้ามาสู่ร่มธงของพระพุทธองค์ พวกที่ยังถือทิฐิอยู่ก็ยังคงปฏิบัติตามเดิมต่อไป

พราหมณ์ในประเทศไทย

        พราหมณ์ในประเทศไทย นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นพราหมณ์สมัยพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่าที่ตั้งของศาสนพิธีของพราหมณ์ก็ดี ของพุทธก็ดี ที่เราได้สํารวจพบมีวัตถุเทวรูป ประติมากรรม จะเห็นได้ว่า พบในสถานที่ตําบลเดียวกันเสมอ เริ่มแรกที่ได้แพร่เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมินี้ เข้าใจว่าประมาณพุทธศักราช คือเป็นสมัยที่เกี่ยวข้องกับพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นศาสนทูตของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นเอง และย่อมเป็นของแน่นอนว่าพราหมณ์ปุโรหิตที่ได้เข้ามาในสมัยเดียวกันนี้เอง ได้เริ่มสอนวิชาการต่างๆ อันเป็นอาถรรพเวท และอุปเวทต่าง ๆ ควบคู่กันไปกับการสอนพระพุทธศาสนา เราจะได้พบว่าพุทธกับไสยได้ตีเกลียวเป็นเชือกเส้นเดียวกัน เรียกง่าย ๆ ว่า “พุทธกับไสยย่อมอาศัยกันมาจนถึงวันนี้ คณาจารย์สายแรกที่มาตั้งจัด ณ นครปฐม ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ระยะหนึ่งแล้วจึงเดินทางลงไปทางใต้ สู่ราชบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี จนถึงนครศรีธรรมราช ระหว่างทางนี้ได้สร้างโบสถ์วิหารของพุทธและของพราหมณ์ตลอดรายทางลงไป ดังจะได้พบเห็นปูชนียวัตถุทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันไปดังกล่าวแล้ว

      สายที่สองที่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ เดินทางอ้อมมาจากหมู่เกาะชวา ขึ้นที่ประเทศจาม (ราวๆ ญวนใต้หรือเขมร) แล้วแผ่อิทธิพลเข้าไปในอาณาจักรขอม ในตอนนี้เป็นที่น่าสนใจว่ากษัตริย์ที่ปกครองเขมรมีนามว่า องค์สุริยวรมัน ก็ได้สถาปนาเป็นราชวงศ์ขึ้นใหม่ชื่อว่า สุริยวรมัน วงศ์นี้ได้นําความเจริญมาสู่ขอมอย่างมากมายทั้งทางวัตถุและศาสนา เป็นต้น ความเจริญรุ่งเรืองทั้งพุทธจักรและอาณาจักร มีวัตถุโบราณอันเป็นศิลปวัตถุของสมัยนี้ปรากฏอยู่

Visits: 781