พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

พระสิหิงค์ซึ่งประดิษฐานภายในหอพระสิหิงค์นั้น เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 32 เซนติเมตร กางกั้นด้วยฉัตรหักทองขวางทำด้วยโลหะปิดทองฉลุลาย ด้านข้างของพระสิหิงค์มีพระพุทธรูปหุ้มเงินและพระพุทธรูปหุ้มทองปางอุ้มบาตรประทับยืนข้างละ 1 องค์

Continue Readingพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำนครอันสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม

ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งดอกราชพฤกษ์ มีความหมายว่า “ต้นไม้ของพระราชา” ละเป็นดอกไม้ประจำเทศกาลสงกรานต์ เพราะออกดอกสีเหลืองบานสะพรั่งอร่ามงามตา ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

Continue Readingดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำนครอันสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
ต้ม
ต้ม

ต้ม ปัด เกอตูปัต : อาหารพหุวัฒนธรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช

ตูเกอตูปัต เป็นคำเรียก ต้ม ของชาวมุสลิม นับเป็นของว่างหรือขนมในงานบุญทั้งพุทธศาสนิกชน และชาวมุสลิม สำหรับชาวมุสลิมแล้ว “เกอตูปัต” (کتوڤت, kertupat) คือ ข้าวเหนียวผัดกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยม นำไปต้มจนสุก กินเป็นอาหารว่างก็ดี หรือจะกินเป็นอาหารหลักก็ได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นถิ่น และด้วยความที่เมืองคอนเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เราจึงเห็นต้ม ปัด ในประเพณีลากพระ และตูปะ หรือเกอตูปัตในวันฮารีรายอ อาหารบนคาบสมุทรมลายู

Continue Readingต้ม ปัด เกอตูปัต : อาหารพหุวัฒนธรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช

พระวิหารหลวง มรดกอันงดงามเคียงคู่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

พระวิหารหลวง พระวิหารหลวง เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัยพร้อมกับพระบรมธาตุ แต่ต่อมาได้ดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ และใช้ประกอบพิธีสักการะบูชาพระบมธาตุร่วมกัน และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมอย่างอุโบสถโดยทั่วไป เช่น กระทำอุโบสถของพระภิกษุสงฆ์ ประกอบพิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมืองและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ประกอบพิธีสมโภชพระบรมธาตุประจำทุกๆ ปี

Continue Readingพระวิหารหลวง มรดกอันงดงามเคียงคู่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
ประเพณีแห่นางดาน
นางดาน

แห่นางดาน : ประเพณีปีใหม่ของพราหมณ์เพื่อบูชาเทพบริวารทั้ง 4 ด้วยไม้กระดาน 3 แผ่น

ประเพณีแห่นางดาน เป็นการบูชาเทพบริวารในคติพราหมณ์ด้วยแผ่นไม้กระดาน กว้าง 1 ศอก สูง 4 ศอก 3 แผ่นแทนพระจันทร์และพระอาทิตย์ พระธรณี พระคงคา สมมติแทนเทพทั้ง 4 รับเสด็จพระอิศวรหรือพระศิวะ

Continue Readingแห่นางดาน : ประเพณีปีใหม่ของพราหมณ์เพื่อบูชาเทพบริวารทั้ง 4 ด้วยไม้กระดาน 3 แผ่น

พลูดีนครศรีธรรมราช : พลูปากหราม พลูวังโหล

พลู มีบทบาทต่อประเพณีวัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราช พลูที่นิยมกินกันมากที่สุดคือพลูปากหรามจนมีสำนวนว่า "... พลูปากหราม ควายงามสิชล คนงานฉลอง"

Continue Readingพลูดีนครศรีธรรมราช : พลูปากหราม พลูวังโหล

วัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช เป็นวัดที่มีประวัติยาวนาน ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างพระธาตุ นครศรีธรรมราช เป็นที่รวมของผู้คนที่เดินทางมาสักการะพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

Continue Readingวัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช

สนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สนามหน้าเมือง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสนามสวนหย่อมที่ตั้งอยู่หน้าเมือง ใจกลางเมือง อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และศาลาประดู่หก บริเวณด้านหลังจะติดกับถนนที่เป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช

Continue Readingสนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เจดีย์พระปัญญา : สถูปแห่งพระสารีบุตร

ภายในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร (วัดพระธาตุ) โดยเฉพาะในบริเวณวิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) นอกจากจะมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งตระหง่านอยู่โดดเด่นแล้ว ยังมีเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ถึง 158 องค์ และหนึ่งในจำนวนนี้มีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “เจดีย์พระปัญญา” หรือ “พระปัญญา” รวมอยู่ด้วย

Continue Readingเจดีย์พระปัญญา : สถูปแห่งพระสารีบุตร

วิหารพระทรงม้า : วิหารแห่งประติมากรรม “มหาภิเนษกรมณ์”

วิหารพระทรงม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิหารพระม้า หรือ วิหารพระทรงม้า หรือ วิหารพระมหาเภิเนษกรม อันเป็นชื่อเรียกทางราชการ แต่ชาวนครนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วิหารพระม้า ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะว่าภายในวิหารนี้ มีปูนปั้นเป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์ทรงม้าเสด็จออกบรรพชา อยู่ที่ฝาผนังจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า วิหารพระม้า (วิเชียร ณ นคร และคณะ, 2521, น. 450) ดังนั้น จึงถือว่าวิหารพระทรงม้า…

Continue Readingวิหารพระทรงม้า : วิหารแห่งประติมากรรม “มหาภิเนษกรมณ์”

End of content

No more pages to load