ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช

ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเรื่องที่น่าสนใจถึงความเป็นมาอันยาวนาน  เพราะนครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุความเป็นชุมชนใหญ่มาไม่น้อยกว่า 1,500 ปีมาแล้ว เวลาอันยาวนานเช่นนี้ทำให้นครศรีธรรมราชมีสิ่งที่เราทั้งหลายไม่อาจล่วงรู้ ได้อยู่เป็นจำนวนมาก  แต่เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อต่าง ๆ เช่นคำว่า ลิกอร์ โลเค็ก ละคอน ตามพรลิงค์ พระเวียง ตั้งมาหลิ่ง และเชีะโท้ คำเหล่านี้ล้วนเป็นชื่อเรียกดินแดนแห่งหนึ่งในแหลมมลายูที่มากก่อนคำว่า “นครศรีธรรมราช” เป็นชื่อเดิมของนครศรีธรรมราช นั่นเอง ความเก่าแก่ของชื่อเหล่านี้พอจะเป็นหลักฐานข้อหนึ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่า นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในภูมิภาคแหลมมลายู และมีอายุมาก่อนราชธานีแห่งแรกของไทยหลายร้อยปี 

นครศรีธรรมราชเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และชื่อ นครศรีธรรมราช ได้ปรากฏชื่อในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า ศรีธรรมราช เข้าใจว่าจะเป็นเมืองแรกเริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาในประเทศไทย  และได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระ มีพระมหาธาตุเป็นปูชนียสถานคู่เมืองและคู่ประเทศไทย   

จึงขอสรุปเป็นลักษณะของการเรียงลำดับ ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ข้อสันนิษฐานของการก่อเกิดเมืองนครศรีธรรมราชจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ดังนี้

ลำดับประวัติเมืองนครศรีธรรมราช

ไม่ทราบแน่ชัด
กำเนิดเมือง
หาดทรายแก้ว

สันนิษฐานกันว่าที่ตั้งเดิมของเมืองนครศรีธรรมราช ไม่ได้อยู่เขตอำเภอเมืองในปัจจุบันนี้ หากแต่ตั้งอยู่ที่เขาวัง ห่างจากตัวเมืองในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร ต่อมาหัวเมืองได้ย้ายมาตั้งที่หาดทรายริมทะเลแห่งหนึ่ง เรียกกันว่า "หาดทรายแก้ว" ซึ่ง อาจารย์ตรี อมาตยกุล สันนิษฐานว่าคงเนื่องมาจากพวกอินเดียที่ข้ามมาค้าขายยังแหลมมลายู สุมาตราและชวานั้นล้วนเป็นพวกที่อยู่ริมทะเล ชำนาญในการว่ายน้ำ เดินเรือและคลุกคลีกับอากาศทะเลอยู่เป็นนิจ และต่อมาได้ย้ายเข้ามาค้าขายกับเมืองนครศรีธรรมราชกมากขึ้น

พ.ศ. 1016
อาณาจักรตามพรลิงค์
ก่อเกิดอาณาจักรตามพรลิงค์

เมืองตามพรลิงค์มีกษัตริย์ปกครองอย่างแน่ชัดในราว พ.ศ. 1743 เป็นต้นมา ปฐมกษัตริย์ของตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช และพระองค์ยังได้ทรงก่อพระเจดีย์บรมธาตุและตั้งพระอารามขึ้นบนหาดทรายแก้ว  และภายหลังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง มีเมืองขึ้นโดยรอบนครศรีธรรมราชราว 12 เมือง เรียกกันว่า 12 นักษัตร

พ.ศ. 1550-1750
อาณาจักรศรีวิขัย
นครศรีธรรมราชสมัยอาณาจักรศรีวิชัย

     ในปี พ.ศ. 1318 พระเจ้ากรุงศรีวิชัยได้สร้างสถูปเจดีย์ไวในเมืองนครศรีธรรมราช แสดงว่า กษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยได้เสด็จมาถึงนครศรีธรรมราชในฐานะเจ้าประเทศผู้ปกครอง และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สันนิษฐานว่า ได้มีการพุทธศาสนาลัทธิมหายานลงมาเมืองนครศรีธรรมราชด้วย และส่งผลให้พุทธศาสนาลัทธิมหายานในแถบนี้เจริญรุ่งเรือง

    ส่วนชื่อเมืองนครศรีธรรมราชในเวลานั้น เข้าใจว่ายังคงเรียก "ตามพรลิงค์" อยู่

   หลังจากนั้นอาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำนาจลงปลายพุทธศตวรรษที่ 18  พ.ศ. 1773 ผู้ครองนครตามพรลิงค์ ทรงพระนาม "พระเจ้าจันทรภาณุ" ได้ตั้งตัวเป็นอิสระจึงได้ขยายอาณาเขตลงไปถึงอาณาจักรลังกาสุกะ (บริเวณจังหวัดปัตตานี) และขึ้นไปทางเหนือถึงไชยา และเมืองนครศรีธรรมราชได้มีอิสรภาพเป็นครั้งแรก 

พ.ศ. 1837
สมัยสุโขทัย
นครศรีธรรมราชสมัยสุโขทัย

        นครศรีธรรมราชเป็นเมืองขึ้นอย่างแท้จริงในสมัยสุโขทัยในช่วงของพ่อขุนรามคำแหง  ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช ภายหลังที่มีกษัตริย์สืบต่อกันมาจากพระเจ้าศรีธรรมโศกราช 4-5 พระองค์

        นครศรีธรรมราชในสมัยสุโขทัย มีชื่อเรียกว่า "ศรีธรรมราช" ชื่อนี้อาจเชื่อได้ว่าเป็นอิสริยยศที่ถวายแก่กษัตริย์ผู้ปกครองนครว่า "ศรีธรรมราช" และคงจะถือเป็นประเพณีสืบเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้มีการขนานนามราชธานีแห่งนี้ตามชื่ออิสริยยศที่ถวายแก่กษัตริย์ผู้ปกครองนครตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา

       เมืองนครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในด้านการปกครอง และมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชเมืองหนึ่งของสุโขทัย  รวมถึงมีความสัมพันธ์ด้านศาสนา ซึ่งเชื่อได้จากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองนครศรีธรรมราช และขออัญเชิญพระพุทธสิหิงส์ซึ่งคาดว่าจะขอมาจากลังกา และให้ไปประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย 
       
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยประมาณ 56 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 1837-1893) พระเจ้าอู่ทองได้ทรงประกาศตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระทางตอนล่างของสุโขทัย เมืองนครศรีธรรมราชจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาสืบมา

พ.ศ. 1928
สมัยกรุงศรีอยุธยา
นครศรีธรรมราชสมัยกรุงศรีอยุธยา

        ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นานถึง 117 ปี จึงแยกออกมาเป็นระยะ ดังนี้

  1. สมัยเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยา สมัยพระรามาธิบดีที่ 1  หรือพระเจ้าอู่ทอง ไปจนถึงสมัยพระราเมศวร นครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช หรือ "เมืองพระยามหานคร"  ทำหน้าที่ในการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองและเครื่งอราชบรรณาการไปยังกรุงศรีอยุธยา 
  2.  สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ทรงเห็นวาเมืองนี้เป็นหัวเมืองปักษ์ใต้ที่มีความสำคัญต่อเมืองหลวงมากที่สุด เพราะเป็นเมืองศูนย์กลางในการขยายอำนาจของเมืองหลวงลงไปควบคุมหัวเมืองมลายู จึงทรงเปลี่ยนฐานะหัวเมืองนครศรีธรรมราชจากหัวเมืองพระยามหานครเป็นหัวเมืองเอกใน พ.ศ. 1998 และให่้เจ้าเมืองได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมราชฯ 
  3. สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172) เป็นสมัยแรกที่นครศรีธรรมราชเป็นกบฏ เนื่องจากควาแตกแยกของข้าราชการในกรุงศรีอยุธยา และการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ช่วงนี้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นช่วงที่เต็มไปด้วยการรบนองเลือดเกือบทั้งรัชกาล
  4. สมัยพระเพทราชา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏอึกครั้ง จากการไม่ยอมรับพระเพทราชาเป็นกษัตริย์  ทำให้กรุงศรีอยุธยาไม่สู้จะวางใจเมืองนครศรีธรรมราชมากนัก
  5. สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์  ช่วงนี้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ถูกลดฐานะลงมาเป็นเพียง "ผู้รั้งเมือง"  และได้ยกฐานะมาเหมือนเดิมอีกครั้ง ช่วงนี้เป็นช่วงเสียงกรุงครั้งที่ 2 และความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนครศรีธรรมราชกับกรุงศรีอยุธยาสิ้นสุดลง  และตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นในนาม "ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช" 
พ.ศ. 2312
สมัยกรุงธนบุรี
นครศรีธรรมราชสมัยกรุงธนบุรี

        เมื่อสิ้นสุดความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา และเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งตัวเป็นใหญ่ทางภาคใต้ โดยพระปลัดหนู ตั้งตัวเป็นอิสระ เรียกว่า "ชุมนุมเจ้านคร" หรือเจ้านคร (หนู) ส่งผลดีต่อภาคใต้ในด้านการรวบรวมคนไทยทางหัวเมืองภาคใต้ให้เป็นปึกแผ่นมากขึ้น และรวบรวมหัวเมืองภาคใต้เข้ามาอยู่ในอำนาจได้มากขึ้นเช่นกัน  แต่ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้านครแต่เพลี้ยงพล้ำ เนื่องจากเจ้านคร (หนู) ได้ตั้งค่ายสู้ไว้ 3 แห่ง  แต่ตอนหลังถูกจับ และทรงอภัยโทษเนื่องจากมิได้เป็นกบฎต่อบ้านเมือง จึงได้รับราชการในกรุงธนบุรี ส่วนตำแหน่งผู้รั้งเมืองคนใหม่ โปรดเกล้าให้ พระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริวงศ์ ครองตำแหน่ง และยกฐานะเมืองเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นเป็นประเทศราชอีกครั้ง

พ.ศ. 2325-2410
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
นครศรีธรรมราชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

        ในสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 2325-2410 นี้ ราชธานีได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชรวม 4 ครั้ง คือ 

  1. ตั้งเจ้าพัฒน์ออกไปเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. 2337 สมัยนี้เมืองนครฯ กับราชธานีไม่ปกคินัก เนื่องจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไม่พอใจฝ่ายราชธานี จากการปลดเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ออกจากตำแหน่ง
  2. ตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชไปเป็นพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)  ใน พ.ศ. 2355 ตรงกับรัชการที่ 2 เป็นการกลับไปครองเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้งหนึ่ง จนได้รับสมญานามว่า "เจ้าพระยาน้อยคืนเมือง" ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชที่มีอำนาจและอานุภาพมากกว่าเจ้าเมืองคนอื่น ๆ  เพราะเป็นเจ้าเมืองที่มีอำนาจในการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด และที่สำคัญคือได้ติดต่อเจรจาให้อังกฤษยอมรับหัวเมืองไทรบุรีเป็นประเทศของไทย และสามารถรักษาเมืองไทรบุรีให้ขึ่นกับไทยได้ถึง 2 ครั้ง
  3. ตั้งพระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง) บุตรพระยานคร (น้อย) ซึ่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช ออกไปเป็นพระยานครศรีธรรมราช ใน ปี พ.ศ. 2382  ต่อจากบิดา และที่ถึงแก่อสัญกรรม เรียกกันว่า "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช" หรือ "พระยานครน้อยกลาง"  ได้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยรัชกาลที่ 4 
  4. ตั้งพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม) บุตรพระยานครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2410 เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยานคร (น้อย) และในเวลานี้พม่าไม่ได้ยกทัพมารบกวนไทย แต่ไท่ต้องเผชิญกับฝรั่งชาติตะวันตกที่เข้ามาล่าอาณานิคมมากขึ้น และหัวเมืองปักษ์ใต้ก็ล่อแหลมต่อเป็นอย่างมาก  จึงได้มีนโยบายปกครองบ้านเมืองใหม่ เรียกว่า "มณฑลนครศรีธรรมราช โดยการรวมเมืองนครศรีธรรมราชกับเมืองสงขลาอยู่ในมณฑลเดียวกัน และได้โปรดเกล้าให้ พระยาสุขุมวินิจฉัย (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และได้รวมหัวเมืองทั้ง 7 ของปักษ์ใ้ต้มาอยู่ด้วย คือ ปัตตานี ยะลา หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ระแงะ และรามันห์เข้ามาอยู่ด้วย ที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช จึงไปอยู่ที่สงขลา  แต่เจ้าพระยาสุรนัยวินิจมักจะมาประจำอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชอยู่บ่อยครั้ง และการปกครองช่วงนี้ ได้ปรับเปลี่ยนจาก ตำแหน่ง "เจ้าเมือง" เป็น "ผู้ว่าราชการเมือง" และเมืองนครศรีธรรมราชสมัยนี้ได้เจริญก้าวหน้ามาก มีการปฏิรูปและก่อสร้างสาธารณูปโภคหลายอย่าง เช่น ตัดถนน ตัดเส้นเลียบแม่น้ำ ขุดคลอง 

จนกระทั่ง พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการด้วยการยุบมณฑลหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้ง 3 มณฑล เมืองนครศรีธรรมราชจึงได้ยุบเป็นจังหวัดของราชอาณาจักรไทยเรื่อยมา

พ.ศ. 2484
สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา
นครศรีธรรมราชสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา

   เมื่อญี่ปุ่นได้ก่อสงครามมหาเอเชียบูรพาในปลาย พ.ศ. 2484 ขึ้น ได้ยกพลขึ้นบกเพื่อบุกเข้าประเทศไทยทางภาคใต้ รวมทั้งนครศรีธรรมราชเองด้วย ทุกจุดที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทหารไทยทุกจุดทำการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะทหารของมณฑลทหารบกที่ 6 นครศรีธรรมราช ที่น่าสรรเสริญยิ่ง เกียรติประวัติของนักไทยในวันนั้นยังคงจารึกและเป็นอนุสรณ์อยู่ในประวัติศาสตร์เมืองนครฯ สืบมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า "อนุสรณ์วีรไทย"

Visits: 18078

No tags for this post.