บ้านในถุ้ง : ชุมชนต้นแบบการเรียนรู้ประมงชายฝั่งของอำเภอท่าศาลา

ที่ตั้ง

บ้านในถุ้ง  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 

พิกัดชุมชน

อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ประมาณ 9.5 กิโลเมตร หรือเดินทางประมาณ 17 นาที ด้วยเส้นทางถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 7011

      บ้านในถุ้ง ชุมชนมุลลิมชาวประมงในอำเภอท่าศาลา  ซึ่งชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ ได้อพยพมาจากรัฐตรังกานู ของประเทศมาเลเซีย ประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวบ้านได้มองเห็นว่าทรัพยากรบริเวณนี้มีลักษณะเหมาะในการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะอพยพมาทางเรือสำเภา มีการล่องเรือมาในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ซึ่งเรียกกันว่า “ฤดูเภา” ในยุคนั้น จะมีชื่อที่เรียกลมว่า “ลมเภา” ที่พัดผ่านมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข็มทิศที่ 120 องศา บ้างก็ล่องมาจากแหลมตะลุมพุก แล้วมาขึ้นฝั่งที่ท่าสูงบน อันเป็นที่มาก่อนจะมาตั้งถิ่นฐาน ณ “บ้านในถุ้ง” ในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นบ้านในถุ้งมีชื่อเรียกว่า “บ้านปากน้ำ” 

     ในปัจจุบันชายหาดที่ชาวบ้านออกเรือเพื่อหาปลานั้น ในอดีตจะมีชายหาดยื่นออกไปในทะเลประมาณ 1 กิโลเมตร และจะมีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านด้วย (ตามตำนานกล่าวว่าคลองนี้ในสมัยญี่ปุ่นยกพลขึ้นตีเมืองนครศรีธรรมราชมีการผ่านทางลำคลองแห่งนี้ด้วยอีกสายหนึ่ง) ซึ่งในปัจจุบันได้หายไปแล้วเหลือไว้แต่ทะเลที่นับวันคลื่นจะซัดเข้ามาเรื่อยๆ 

     ชุมชนแห่งนี้จะมีกลุ่มขายอาหารทะเล แต่ต้องสั่งเป็นออนไลน์เท่านั้น โดยมีชื่อกลุ่มว่า “มุสลิมประมงพื้นฐานในถุ้ง” และกำลังจะมีโครงการเปิดร้านอาหาร “ภัตตาคารลุยเล” ในอนาคตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนด้วย

บ้านในถุ้ง
ขอบคุณภาพจาก ธีรศักดิ์ ศักดิ์ศรีทวี

ทิศเหนือ ติดกับ หมูที่ 9 ตำบลท่าศาลา

ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าศาลา

ทิศตะวันออก ติดกับ ทะเลฝั่งอ่าวไทย

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลโพธิ์ทอง

ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม 99% มีจำนวน 1,100 กว่าครัวเรือน ประมาณ 5,000 กว่าคน

ประชากรประมาณ 70% มีอาชีพหลักเป็นชาวประมง 

     ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “การดำน้ำฟังเสียงปลา” เป็นการจับเสียงหายใจจากปลา และสัตว์น้ำใต้ท้องทะเล ลักษณะการดำน้ำจะไม่ลึกมาก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจอยู่มาก

 

     ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างหนึ่ง คือ การแนะนำให้ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกในช่วงที่ต้องอยู่ไฟ มากินปลาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ปลาจวด” จะทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งปลาชนิดนี้มีถึง 10 ชนิด และที่ราคาสูงที่สุดคือ “ปลาจวด 2 ซี่” 

ชุมชนบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจัดทำธนาคารปูม้าทั้งรูปแบบโรงเรือนบนชายฝั่งและรูปแบบกระชัง มีจำนวนสมาชิกกลุ่มกว่า 20 คน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบริจาคปูม้าจำนวน 50 คน มีจำนวนแม่พันธุ์ปูม้า ประมาณ 3,000 ตัว/ปี จัดกิจกรรมอนุรักษ์อื่นๆในพื้นที่ จัดทำบ้านปลา และไม่ใช่เครื่องมือประมงทำลายระบบนิเวศ โดยมีการปล่อยปูม้าระยะซูเอี้ย อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมปล่อยปูม้า เพื่อสร้างความตระหนักให้กับระบบนิเวศ โดยการปล่อยลูกปูม้าในช่วงเวลาและบริเวณที่เหมาะสมห่างจากชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนต่างรายได้จากการขายแม่ปูม้า นำไปบริหารจัดการโครงการและเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนในชุมชน 

ความสำเร็จจากการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและระบบนิเวศ เพิ่มปริมาณผลจับและสร้างระบบนิเวศที่ดีขึ้นให้กับชายฝั่งอำเภอท่าศาลา จนได้รับการขนานนามว่า “อ่าวทองคำ”จากข้อมูลสถิติผลจับรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าจำนวนสัตว์น้ำโดยเฉพาะ ปูม้า เพิ่มจำนวนเชิงประจักษ์จากเดิมน้อยกว่า 10 กก./เที่ยว เพิ่มเป็น 15 – 30 กก./เที่ยว ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15,000 – 20,000 บาท/คน 

นอกจากนี้จากการสำรวจชนิดสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งพบว่ามีสัตว์น้ำกว่า 200 ชนิด แสดงถึงระบบนิเวศที่ซับซ้อนมีความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำสูง ประชาชนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมง สามารถทำอาชีพต่อเนื่องจากการฟื้นฟูของปูม้า เช่น อาชีพมัดปู แกะเนื้อปู ทำความสะอาดอวน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนในภาพรวมหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชนประสงค์จะมาร่วมทำงานในพื้นที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และชาวประมงเข้าถึงโอกาสในการสร้างอาชีพต่อเนื่องจากการทำธนาคารปูม้ามากขึ้นเช่นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ร้านค้าอาหารท้องถิ่น เป็นต้น 

ความสำเร็จจากการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและระบบนิเวศ เพิ่มปริมาณผลจับและสร้างระบบนิเวศที่ดีขึ้นให้กับชายฝั่งอำเภอท่าศาลา จนได้รับการขนานนามว่า “อ่าวทองคำ”จากข้อมูลสถิติผลจับรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าจำนวนสัตว์น้ำโดยเฉพาะ ปูม้า เพิ่มจำนวนเชิงประจักษ์จากเดิมน้อยกว่า 10 กก./เที่ยว เพิ่มเป็น 15 – 30 กก./เที่ยว ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15,000 – 20,000 บาท/คน นอกจากนี้จากการสำรวจชนิดสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งพบว่ามีสัตว์น้ำกว่า 200 ชนิด แสดงถึงระบบนิเวศที่ซับซ้อนมีความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำสูง ประชาชนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมง สามารถทำอาชีพต่อเนื่องจากการฟื้นฟูของปูม้า เช่น อาชีพมัดปู แกะเนื้อปู ทำความสะอาดอวน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนในภาพรวมหน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะภาคเอกชนประสงค์จะมาร่วมทำงานในพื้นที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และชาวประมงเข้าถึงโอกาสในการสร้างอาชีพต่อเนื่องจากการทำธนาคารปูม้ามากขึ้นเช่นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ร้านค้าอาหารท้องถิ่น เป็นต้น รางวัลและชื่อเสียงของชุมชนต้นแบบ ขยายผลต่อการเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ศูนย์บริการวิชาการ, 2564)

ธนาคารปูม้า
ธนาคารปูม้า
ธนาคารปูม้า

     เจริญ โต๊ะอิแต ประธานสมาคมประมงท้องถิ่นประมงบ้านในถุ้ง และชาวประมงท้องถิ่น ออกมารับธงรณรงค์แสดงออกถึงการร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหว เจริญเล่าว่าที่ผ่านมาทางชุมชนทำกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ อาทิ ธนาคารปูม้า พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ “โรงเรียนชาวเล” มาอย่างต่อเนื่องหลายปี 

– รับพระราชทานรางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการเพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ในปี พ.ศ. 2562 จาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

– รางวัลเกษตรกรดีเด่นดีานการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

– รางวัลชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการประมงชายฝั่งโดยชุมชนระดับเขตและระดับภาค มอบโดย กรมประมง

– รางวัลชุมชนต้นแบบต้นไม้แห่งความสุข มอบโดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

– รางวัลนวัตกรรมสื่อเผยแพร่ธนาคารปูม้าต้นแบบ มอบโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

– รางวัลอาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรดีเด่น มอบโดย กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

บังมุ หรือ คุณเจริญ โต๊ะอิแต  ผู้อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน  คุณเจริญเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนงานการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพราะเห็นว่ามีการลักลอบทำประมงอย่างผิดกฏหมายในเขตพื้นที่ ต้องการเพียงแค่หอยลาย แต่กลับใช้เครื่องมือที่กอบโกยเอาทรัพยากรอื่นๆ ทางทะเลไปด้วย การใช้ตะแกรงเหล็กกวาดเอาทุกอย่างออกไป ทำให้หน้าโคลนถูกขุดขึ้นมา เกิดแก๊สไข่เน่าบนผิวน้ำ สัตว์น้ำบริเวณนั้นจึงไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ชาวบ้านแถวนั้นจึงไม่สามารถทำประมงได้ ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูนานหลายปี จึงอยากให้ชาวบ้านทุกคนตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและจะส่งผลอย่างไรในอนาคตหากไม่ร่วมมือกัน น่าเศร้าที่เสียงของชาวบ้านไม่ดังพอที่จะเรียกความสนใจจากหน่วยงานรัฐให้เข้ามาช่วยเหลือ ชาวประมงท้องถิ่นจึงประสบกับปัญหาเรื่อยมา (เกียรติรัตน์ จินดามณี, 2021)

  • เกียรติรัตน์ จินดามณี. (2021). คุณเจริญ โต๊ะอิแต ผู้นำชุมชนอนุรักษ์ พิทักษ์สัตว์ทะเล คนต้นแบบเมืองนคร. สืบค้นจาก shorturl.at/dkMZ1

  • มหาวิทยาลัยลักษณ์  ศูนย์บริการวิชาการ. ( 2564). ชุมชนต้นแบบ : ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง. สืบค้นจาก https://cas.wu.ac.th/ชุมชนต้นแบบ

  • ศูนย์บรรณสารเเละสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, จริยา รัตนพันธุ์ และ เจริญ โต๊ะอิแต. (2566). วิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงบ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก  https://oer.learn.in.th/search_detail/result/287466

Visits: 1477

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.