ข้าวยาโค ข้าวแห่งพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนนครศรีธรรมราช

"ชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า ข้าวยาโคเป็นข้าวทิพย์ที่วิเศษ หากได้รับประทานจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต สมบูรณ์พร้อมไปด้วยปัญญา ทำมาหากินบังเกิดผล และเป็นโอสถขนานเอกช่วยขจัดโรคภัยร้ายทุกชนิดและทำให้อายุยืนยาว "

ความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับข้าวยาโค ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส

ยาโค ยาคู ข้าวมธุปายาส มธุปายาสยาคู ข้าวทิพย์ นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “ข้าวยาโค หรือ ข้าวยาคูชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า ข้าวยาโคเป็นข้าวที่วิเศษ หากได้รับประทานจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต สมบูรณ์พร้อมไปด้วยปัญญา ทำมาหากินบังเกิด และเป็นโอสถขนานเอกช่วยขจัดโรคภัยร้ายทุกชนิดและทำให้อายุยืนยาว

ข้าวยาโค ถือเป็นข้าวแห่งวิถีพุทธ ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู”  ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งการกวนข้าวยาโคในสมัยดั้งเดิมจะกวนข้าวในช่วงเดือน ๖ บ้าง เดือน ๑๐ ภายหลังนิยมทำในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ต่อเนื่องกับวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครศรีธรรมราช

ข้าวยาโค นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นแล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวเกษตรกรทั้งหลาย เพราะเป็นการนำพืชผักผลไม้ตามฤดูกาลมากวนข้าวยาโค เพราะเดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวซึ่งถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับนำมากวนข้าวยาโค นอกเหนือจากนั้น ยังมีผลไม้ พืชผัก ตามฤดูกาล อีกมากมายหลากหลายชนิดเช่น ทุเรียน จำปาดะ ขนุน มันเทศ มันสำปะหลัง เผือก ฟักทอง ข้าวโพด มะพร้าว เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วเป็นวัตถุดิบสำคัญในการกวนข้าวยาโค

สำหรับพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชแล้ว ประเพณีการกวนข้าวยาโค เป็นสิ่งที่สำคัญมากประการหนึ่ง ประเพณีกวนข้าวยาโค จะจัดขึ้นใน “วันมาฆบูชา” ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีการจัดงานประเพณี “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” อย่างยิ่งใหญ่ ก่อนวันแห่ผ้าขึ้นธาตุสองวัน

การกวนข้าวยาโค

พิธีกรรมในประเพณีการกวนข้าวยาโค

การกวนข้าวยาโค  ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เริ่มต้นด้วยพิธีบวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ และพิธีพุทธ ซึ่งในการกวนข้าวยาโคเพื่อความเป็นสิริมงคลในการกวนข้าวยาโคในพิธีต้องใช้สาวพรหมจารีคือผู้หญิงที่บริสุทธิ์ รับสมาทานเบญจศีลก่อนเข้าพิธีกวนแต่ละเตาจะใช้จำนวน ๓ คน สำหรับพิธีพุทธเริ่มต้นด้วยการบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล สาวพรหมจารีรับสมาทานศีล ประธานในพิธีทัดดอกมะตูมให้สาวพรหมจารี สำหรับเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์ได้แก่ ด้าย สายสิญจน์ และอื่น ๆ ซึ่งสายสิญจน์ วงจากพระสงฆ์มาผูกไว้ที่ไม้พาย (ไม้กวน) เพื่อให้สาวพรหมจารีจับไม้พายที่ผูกสายสิญจน์ไว้ 

ข้าวยาโค

พิธีพราหมณ์

ข้าวยาโค

พิธีสงฆ์

ข้าวยาโค
ข้าวยาโค

พิธีทัดดอกมะตูมให้สาวพรหมจารี

วัตถุดิบที่ใช้ในการกวนข้าวยาโค

วัตถุดิบที่ใช้ในการกวนข้าวยาโคมีมากมายหลากหลายชนิด มีทั้งพวกพืชผัก พืชผล พืชสมุนไพร ผลไม้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล โดยสามารถแยกวัตถุดิบออกเป็นประเภทได้ดังนี้ 

    • น้ำนมข้าว ถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดได้จากการเก็บข้าวที่กำลังมีน้ำนมใช้กะลามะพร้าวรูดเอาแต่เมล็ดออกจากรวงนำเมล็ดข้าวไปตำให้แหลกแล้วนำมาคั้นเอาน้ำนมข้าวเหมือนกับการคั้นกะทิ แล้วกรองให้สะอาดเก็บเตรียมไว้

    • น้ำผึ้งและนม อาทิเช่น น้ำผึ้งรวง น้ำตาลทราย น้ำตาลขัณฑสกร น้ำตาลปิ๊บ น้ำอ้อย นมสด นมข้น นมผง น้ำลำไย น้ำบัวบก เป็นต้น

    • แป้ง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งขาวเหนียว เวลาจะกวนจึงละลายผสมในน้ำนมข้าว

    • มะพร้าว นำไปขูดแล้วคั้นเอาน้ำกะทินำมาเคี่ยวให้แตกมันจนกลายเป็นน้ำมันมะพร้าวเก็บพักไว้

    • ผลไม้ อาทิเช่น ขนุน จำปาดะ มังคุด ละมุด อินทผาลัม กล้วย เงาะ พุทรา มะละกอ ทุเรียนสด ทุเรียนกวน มะตูม สาคูวิลาด และผลไม้อื่นๆ ที่มีตามฤดูกาล ผลไม้เหล่านี้ปอกเปลือกแกะเมล็ด หั่น ต้ม เตรียมไว้

    • พืชมีหัว อาทิเช่น เผือก มันเทศ มันล่า หัวมันหอม เป็นต้น ปอกเปลือกหั่นแล้วนำไปต้มในน้ำกะทิเตรียมไว้

    • พืชผัก อาทิเช่น ข้าวโพด ข้าวโพดอ่อน ข้าวเม่า ข้าวตอก ฟักทอง ถั่วลิสงคั่ว เมล็ดผักชี ลูกบัว หอม กระเทียม ซึ่งแต่ละชนิดเตรียมด้วยการหั่น ซอย คั่วหรือตำให้ละเอียด

    • พืชสมุนไพร อาทิเช่น พริกไทย ลูกกระวาน กานพลู ราแดง ราขาว ราตั๊กแตน ชะเอม ดีปลีเชือก (ดีปลี) ลูกจันทน์ รกจันท์ ดอกจันท์ นำเครื่องเทศทั้งหมดคั่วให้มีกลิ่นหอมแล้วนำไปตำร่อนเอาแต่ส่วนที่ละเอียด ส่วนขิงแห้ง หัวเปราะ หัวกระชาย หัวข่า อบเชย และโป้ยกั๊ก นำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ

ในการกวนข้าวยาโค จะนำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อเตรียมไว้สำหรับกวน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กันพักไว้ ก่อนนำไปใส่ลงในกระทะที่เตรียมไว้สำหรับกวนข้าวยาโค

พิ

ในการกวนข้าวยาโค จะนำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อเตรียมไว้สำหรับกวน โดยแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กันพักไว้ ก่อนนำไปใส่ลงในกระทะที่เตรียมไว้สำหรับกวนข้าวยาโค

วัตถุดิบในการกวนข้าวยาโค
ข้าวยาโค

สถานที่ในการกาวนข้าวยาโค

สถานที่ใช้สำหรับการกวนข้าวยาโค จะมีขึ้น ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จะมีปรัมพิธีในการกวนข้าว บริเวณลานทราย ด้านข้างพิพิธภัณฑ์

การกวนข้าวยาโค
ภาพจาก เฉลิม จิตรามาศ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการกวนข้าวยาโค

อุปกรณ์ในการกวนข้าวยาโค ประกอบด้วย เตา กะทะ ไม้ฟืน และไม้พาย เป็นต้น

ภาพจาก เฉลิม จิตรามาศ

ขั้นตอนการกวนข้าวยาโค

    • พิธีกวนข้าวยาโค เริ่มต้นจากสาวพรหมจารียืนประจำกระทะละ ๓ คน พนักงานนำเครื่องปรุงวางบนโต๊ะข้างกระทะ ประธานในพิธีเข้าประจำที่กระทะ เริ่มพิธีกวนข้าวยาคูโดยประธานในพิธีเทเครื่องปรุงลงในกระทะ จับไม้กวนมีการลั่นฆ้องชัย ตั้งแต่เริ่มกวนพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาจนจบเป็นอันว่าเสร็จพิธี ต่อไปผู้เข้าร่วมงานจะสามารถร่วมกวนข้าวยาโคได้

    • การกวนข้าวยาโค ต้องกวนอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ไม่ติดกระทะ กวนไปจนกระทั่งข้าวยาโคเริ่มเหนียวหนืดจึงใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวไว้เรียบนร้อยแล้วเติมลงในกระทะเพื่อไม่ให้ข้าวยาโคติดไม้พาย ข้าวยาโคจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำเมื่อกวนเสร็จ

    • การกวนข้าวยาโค แต่ละกระทะจะใช้เวลาประมาณ ๘ ถึง ๙ ชั่วโมง เวลาที่ใช้ในการกวนข้าวยาโคแต่ละกระทะจะใช้เวลากวนไม่เท่ากัน เพราะการใส่ส่วนผสมและขนาดของกระทะไม่เท่ากัน รวมทั้งการเติมไฟเชื้อเพลิงแต่ละกระทะไม่เสมอกัน

    • เมื่อกวนข้าวยาโคเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะตักข้าวยาโคจากกระทะใส่ถาด เกลี่ยข้าวยาโคให้บาง ๆ เท่า ๆ กัน แล้ววางไว้จนข้าวยาโคเย็นลง ในวันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่ร่วมกันตัดข้าวยาโคบรรจุใส่ถุงและบรรจุลงกล่องสำหรับนำไปถวายพระในวัด รวมถึงแจกจ่ายให้กับพุทธศาสนิกชน ซึ่งข้าวยาโคของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพุทธศาสนิกชนจะรับได้ในวันมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
ข้าวยาโค

สาระสำคัญของการกวนข้าวยาโค

  • เป็นการแสดงถึงพลังศรัทธาของมหาชน การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพราะในการกวนข้าวยาโคนั้นต้องอาศัยความรักความสมัครสมานสามัคคีในเหล่าพุทธศาสนิกชนด้วยกัน เพราะต้องร่วมแรงร่วมใจจัดหาอุปกรณ์ วัตถุดิบต่าง พลังกาย พลังใจ ในการกวนข้าวยาโคให้สำเร็จลุล่วง
  • เป็นประเพณีที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกร และการทำการเกษตรของสังคมไทย คือให้ความสำคัญต่อข้าวหรือน้ำนมข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของชาวไทย
  • เป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงาม และเป็นการถ่ายทอดประเพณีให้แก่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการกวนข้าวยาโค เพื่อสืบทอดประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป
  • แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้ำใจ ของพุทธศาสนิกชน ในการอบ่งปันข้าวยาโคให้ได้รับประทานกันอย่างทั่วถึง มีการแจกจ่ายให้ผู้ร่วมงาน หรือ มีการนำไปฝากญาติมิตรให้ได้รับประทานข้าวยาโค ซึ่งถือว่าเป็นข้าวที่มีพลังวิเศษ
  • การกวนข้าวยาโค ถือเป็นพลัง

ศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ที่สืบทอดกันมาครั้งโบราณกาล โดยเริ่มต้นจากความเชื่อและความศรัทธา โดยมีการนำน้ำนมข้าวและผลผลิตทางการเกษตรมาร่วมกันกวนเป็นข้าวยาโค เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือเป็นการสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ และผลบุญเหล่านี้จะส่งผลให้ผลผลิตในเรือกสวนไร่นา มีความ เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ และข้าวยาโคนี้ ยังถือเป็นข้าวทิพย์ หากใครได้รับประทานจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต

วัลยา สุวรรณบัณฑิตย์ และ เรวดี อึ้งโพธิ์ มีความเห็นว่าประเพณีกวนข้าวยาโค หรือ ข้าวมธุปายาส ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและยึดมั่นในพุทธศาสนา ยึดถือขนบธรรมเนียมซึ่งได้ส่งผลให้เกิดการสืบทอดทั้งประเพณีและระเบียบวิธีปฏิบัติทางพุทธศาสนา รวมถึงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตในด้านอาชีพการทำนาและเกษตรกรรม วิถีชีวิตแห่งชาวพุทธที่วัด พระสงฆ์ ประชาชนและหน่วยงานของรัฐต่างมีส่วนร่วมในงานประเพณี ที่ถือเป็นการอนุรักษ์ประเพณีและสืบทอดภูมิปัญญาอันดีงาม ส่งเสริมความสามัคคีของคนในชุมชน ตลอดจนระบบเครือญาติที่กลมเกลียวสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม

ข้าวยาโคที่กวนเสร็จแล้ว นำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับญาติสนิทมิตรสหายได้รับประทานอย่างทั่วถ้วนหน้า

ภาพอดีตในการกวนข้าวยาโค หรือ ข้าวมธุปยาส

ภาพถ่ายบรรยากาศการกวนข้าวยาโค หรือ ข้าวมธุปายาส ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ โดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช

การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค
การกวนข้าวยาโค

Visits: 250

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.