เจดีย์หกหว้า : เครื่องหมายแทนความกตัญญู ความเชื่อ และความศรัทธาที่ผูกพันอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เจดีย์หกหว้า หรือมีชื่อทางการว่า พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช คนส่วนใหญ่มักเรียกว่า เจดีย์ศิลา เจดีย์ศิลาดำ หรือหกว่า (สำเนียงภาษาใต้ หมายถึง โกหกว่า) ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญต่อตำนานของพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์ผู้มีคุณูปการต่อวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

เจดีย์หกหว้า

สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ระหว่างวิหารธรรมศาลา และ พระวิหารหลวง

ลักษณะเฉพาะ

มีลักษณะเป็นสถูปหกเหลี่ยมทำจากหินแกรนิต สถูปมีลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ความสูง 5 เมตร ฐานสถูป เป็นรูปหกเหลี่ยม ความกว้างของฐานราว 1.08 เมตร ฐานนี้ทำด้วยหินแกรนิตรองรับอยู่สามชั้น ความหนาชั้นละ 0.10 เมตร ส่วนกึ่งกลางองค์สถูป (ตรงหน้ากระดาน) แกะสลักเป็นลวดลาย ดอกไม้จีน เรียกอีกชื่อว่า “เจดีย์หิน” และเนื่องจากบริเวณรอบสถูปหกเหลี่ยมนี้มีต้นหว้าซึ่งปลูกล้อมไว้ ผู้คนจึงมักเรียกเจดีย์นี้อีกชื่อหนึ่งว่า “เจดีย์หกหว้า”  (ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, 2565)

ประวัติความเป็นมา

ตามตำนานที่เรียกขานกันว่า เจดีย์หกหว้าหรือเจดีย์ดำ เจดีย์ศิลาดำ เจดีย์เป็นเจดีย์หินแบบจีน มีที่มาที่เป็นปริศนาไม่ทราบแน่ชัด ชื่อของเจดีย์นี้เป็นชื่อที่เป็นคำพ้องเสียงแฝงความหมาย 2 นัยยะ กล่าวคือ “หกหว้า” หมายถึง ลักษณะทางกายภาพที่มีต้นหว้า 6 ต้นอยู่ล้อมรอบเจดีย์  หรือมาจากคำว่า “หกว่า” เป็นการออกเสียงแบบภาษาทางภาคใต้ หมายถึง “โกหกว่า”

มีความเชื่อกันว่าเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานไว้ที่หน้าเจดีย์หกหว้านี้ (เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, 2557) 

ประวัติการสร้าง

ได้จัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2401  โดยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สั่งทำเจดีย์หินแกรนิตสำเร็จรูปมาจากประเทศจีน ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ“ชีวิวัฒน์” พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช คราวเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. 2427 และได้แวะนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ครั้งนั้นทรงบันทึกรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้างในวัด มีความตอนหนึ่งว่า“ มุมวิหารตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์เจ้าพระยานคร (เฒ่า) สั่งมาแต่เมืองจีนมาตั้งไว้ เป็นพระเจดีย์ศิลาบรรจุพระบรมธาตุ รูปเป็นทำนองจีน” บันทึกฉบับนี้จึงเป็นรายละเอียดว่าด้วยประวัติของเจดีย์ศิลาที่ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่สืบค้นได้

ความสำคัญและคุณค่า

เจดีย์หกหว้า
เจดีย์หกหว้า
เจดีย์หกหว้า
เจดีย์หกหว้า

นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์พระบรมรูปพระภิกษุตาก สร้างขึ้นตามความเชื่อของชาวนคร และหลักฐานที่ปรากฎในเมืองว่าพระเจ้าตากสินทรงลี้ราชภัยมาผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดเขาขุนพนม จึงมีการสร้างไว้เพื่อรำลึกถึงพระองค์ในปั้นปลายพระชนม์ชีพ (ภูมิ จิระเดชวงศ์, 2016) ตั้งอยู่ทิศใต้ของพระวิหารหลวง (ภูมิ จิระเดชวงศ์, 2559)

บรรณานุกรม

    • ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2565). เจดีย์ศิลา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. http://m-culture.in.th/album/view/196555/

Series Navigation<< วิหารพระทรงม้า : วิหารแห่งประติมากรรม “มหาภิเนษกรมณ์”พระวิหารหลวง มรดกอันงดงามเคียงคู่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช >>เจดีย์พระปัญญา : สถูปแห่งพระสารีบุตร >>

Visits: 74

This entry is part 7 of 9 in the series วัดพระธาตุ

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.