วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร : มรดกแห่งความศรัทธาอันล้ำค่าของนครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร  ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 6 วัด เดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุ ต่อมาได้มีประกาศแผนกสังฆการี กระทรวงธรรมการ เรื่องจัดระเบียบพระอารามหลวง ลงวันที่ ๓๐ กันยายน 2548 ให้เรียกว่า “วัดพระบรมธาตุ” ต่อมาได้มีประกาศของแผนกสังฆการี กระทรวงธรรมการ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 ให้เรียกชื่อวัดพระบรมธาตุเสียใหม่ว่า “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” วัดนี้ตั้งอยู่ที่ตําบลในเมือง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกําแพงเมืองโบราณ มีถนนราชดําเนินผ่านหน้าวัด  มีปูชนียสถานสําคัญอยู่ในวัดนี้ รอบ ๆ วัดเต็มไปด้วยวัดใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่น วัดมังคุด บริเวณโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ วัดหน้าพระลาน วัดพระนคร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นต้น 

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

สถานที่ตั้ง

มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือจดโรงเรียน พระมหาธาตุ กว้าง 3 เส้น 

ทิศใต้จดถนนพระลาน กว้าง 3 เส้น 

ทิศตะวันออกจดถนนราชดําเนิน ยาว 4 เส้น 10 วา 

ทิศตะวันตกจดถนนพระบรมธาตุ ยาว 4 เส้น 10 วา

ที่อยู่ : ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

เนื้อที่ : มีเนื้อที่ทั้งหมด จํานวน 25 ไร่ 2 งาน  

นิกาย : มหานิกาย

ประเภทวัด :  พระอารามหลวง  ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด : พุทธศักราช 1098

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา : พุทธศักราช 1820

พื้นที่ของ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีขนาด 34.43  ไร่ (5.14 เฮกตาร์)  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีกำแพงอิฐล้อมรอบ  มีซุ้มประตูทางเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังวัด พื้นที่วัดแบ่งเป็นสองเขต  คือเขตพุทธาวาส  ซึ่งหมายถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  และเขตสังฆาวาส  ซึ่งหมายถึงที่พักและจำพรรษาของสงฆ์  เขตพุทธาวาสนับเป็นพื้นที่โบราณสถาน  มีพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานอยู่  มีระเบียงล้อมรอบทำเป็นลานประทักษิณชั้นล่าง  เรียกว่า “วิหารทับเกษตร”  รอบฐานพระเจดีย์มีประติมากรรมช้างล้อม 22 เชือก  ซึ่งเป็นต้นแบบของเจดีย์ช้างล้อมในศาสนสถานที่สุโขทัย  สวรรคโลก และกำแพงเพชร  (ซึ่งได้รับการรับรองขึ้นเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2534)  ส่วนลานประทักษิณชั้นบนขององค์พระเจดีย์  มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมทั้งสี่มุมรอบองค์พระเจดีย์ใหญ่   ส่วนยอดของพระบรมธาตุเจดีย์เป็นปล้องไฉน (ฉัตรวลี)  52  ชั้น  มีบัลลังก์ทรงสี่เหลี่ยมระหว่างองค์ระฆังกับฉัตรวลีประดับปูนปั้นภาพพระพุทธรูปปางลีลา  เรียงเป็นทักษิณวัตร  เรียกว่า “พระเวียน”  ส่วนปลียอดพระบรมเจดีย์สูง 10.89 เมตร  หุ้มด้วยแผ่นทองคำหนักราว 141.987  กิโลกรัม (หรือ 9,341.31  บาททอง หรือ 14.2 ชั่ง) ประดับด้วยอัญมณีซึ่งมีมูลค่าสูงยิ่ง ทองคำและอัญมณีเหล่านี้ได้มาจาก “พุทธศรัทธา” ของชาวไทยและชาวต่างชาติ  ตั้งแต่ระดับกษัตริย์จนถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง  ในลักษณะ “ราชประชาสมาศัย” (วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, 2023) 

ประวัติวัด

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ความเป็นมาแต่เริ่มแรกของวัดนี้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด มีเพียงตํานานเท่านั้น หลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดเพิ่งมีในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมีจดหมายเหตุบ่งไว้ถึงการบูรณะปูชนียสถานภายในวัด แต่เดิมจะมีพระสงฆ์ประจําอยู่ที่วัดนี้หรือไม่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานเช่นกัน เพิ่งปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พ.ศ. 2458 ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดเพชรจริกซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดพระมหาธาตุมาดูแลรักษาวัด โดยประจําอยู่ที่วัดตามพระราชดําริของรัชกาลที่ 6 ซึ่งเสด็จประพาสเมืองนคร ในครั้งนั้นพระองค์เสด็จวัดพระมหาธาตุได้ทรงเห็นว่าวัดนี้ไม่มี พระสงฆ์ประจําอยู่ จึงทรงมีพระราชดําริว่าควรที่จะมีพระสงฆ์ประจําที่วัด และในปีที่เสด็จประพาสเมืองนคร (เมื่อ พ.ศ. 2458) นี่เอง พระองค์ก็ได้พระราชทานนามวัดพระมหาธาตุว่า “วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร” เมื่อมีพระสงฆ์ประจําอยู่ก็ทําให้มีการดูแลรักษาซ่อมแซมบูรณะวัดกันอย่างสม่ําเสมอและทั่วถึง ต่างจากเดิมซึ่งเจ้าเมืองนครได้ร่วมกับพระเถระผู้ใหญ่ของเมืองนครบูรณะวัดพระมหาธาตุเป็นคราว ๆ โดยแต่งตั้งพระเถระขึ้นรับภาระในการนี้ขึ้น แม้ว่าพระเถระชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ประจําที่วัดพระมหาธาตุก็ตาม แต่แต่งตั้งพระครูเหมเจติยานุรักษ์และพระครูเหมเจติยาภิบาล (ซึ่งแปลว่าพระครูผู้รักษาเจดีย์ทอง) เป็นหัวหน้าพร้อมด้วย พระครูผู้ช่วยอีก 4 รูป คือ

          1. *พระครูกาแก้ว ทําหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศตะวันออก

          2. พระครูการาม ทําหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศใต้

          3. พระครูกาชาด ทําหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศตะวันตก

          4. พระครูกาเดิม ทําหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศเหนือ

นับแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก ตําบลศาลามีชัย อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มาเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดพระมหาธาตุเมื่อ พ.ศ. 2458 แล้วก็มีเจ้าอาวาสและพระสงฆ์อยู่ประจําที่วัดพระมหาธาตุตลอดมาจนปัจจุบันนี้ สําหรับเจ้าอาวาสรูปแรกที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ทรงอาราธนามาจากวัดเพชรจริก  คือพระครูวินัยธร (นุ่น) นั้นได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่จนมรณภาพ  ถัดจากนี้ก็มีเจ้าอาวาสสืบลําดับกันต่อมาจนบัดนี้  ดังนี้ (วิเชียร ณ นคร และคณะ, 2521) 

         1. พระครูวินัยธร (นุ่น) 

        2. พระครูปลัดแก้ว (ชิน)

       3. พระเทพญาณเวที (ฦๅ ยติโก)

       4. พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ)

       5. พระธรรมรัตโนภาส (ประดับ โอภาโส)

       6. พระธรรมวชิรากร (สมปอง ปญฺญาทีโป)

ความสำคัญ

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีความสำคัญต่อจังหวัดนครศรีธรรมราชมาก ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้ (ดรุณี บุญพิบาล, 2542, น. 5128-5137)

1. เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน  และเป็นวัดโบราณคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ตามตํานานกล่าวว่า สร้างขึ้นโดยพระยาศรีธรมาโศกราช เมื่อ พ.ศ. 1098 พร้อม ๆ กับการตั้งเมืองนครศรีธรรมราช วัดนี้ในครั้งก่อนโน้นเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จําพรรษา เป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์  ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดนี้ให้เจริญขึ้นอีกในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ในสมัยของพระยาศรีธรรมาโศกราช (พงษาสุระ) ได้เกิดไข้ห่าขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช ผู้คนจึงอพยพออกจากเมือง นครศรีธรรมราชจึงกลายเป็นเมืองร้างอยู่นาน จนกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดนี้ขึ้นมาอีก โดยการบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์และโบราณสถานโบราณวัตถุอื่น ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาเห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์และโบราณสถานภายในวัดพระมหาธาตุซึ่งไม่ได้บูรณะมานานแล้วชํารุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในระหว่าง พ.ศ. 2433-2441 เมื่อ พ.ศ. 2513 กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ได้ดําเนินการซ่อมแซมวิหารคดหรือพระระเบียง โดยได้เปลี่ยนไม้เครื่องบนทุกตัว ผนังอิฐซึ่งเคยคดงอก็ดัดเสียใหม่ ทําฐานบัวเพิ่มขึ้น หัวเสาทําใหม่ตามแบบเดิม อาสนะพระด้านทําให้หนาและกว้างขึ้น พื้นล่างปรับระดับให้สูงขึ้น วิหารนี้จึงดูสวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น และใน พ.ศ. 2517 ได้มีการบูรณะพระวิหารหลวงอีก ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ  ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงยกช่อฟ้าพระวิหารหลวง 

2. เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นมิ่งขวัญของชาวนครศรีธรรมราชและชาวภาคใต้ทุกคน พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมานมัสการพระบรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาด 

3. มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจํานวนมากมายอยู่ในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารแห่งนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจําลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปางประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นต้น

4. เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยเหตุที่องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนําทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียนเป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทําด้วยทอง เงิน นาก สําริด เช่น พระพุทธรูป ต้น ไม้เงินต้นไม้ทอง ถ้วยชาม เครื่องลายคราม สร้อย แหวน ต่างหู เข็มขัด กําไล และปิ่นปักผม เป็นต้น และได้ใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย ฯลฯ จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดไป 

5. เป็นแหล่งเริ่มต้นหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช  ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม พอมีหนังสือเพิ่มขึ้นก็ได้ย้ายไปที่วิหารธรรมศาลา วิหารทับเกษตร และวิหารคด ตามลําดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัด สร้างหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดสวนหลวงตะวันออกซึ่งเป็นวัดร้าง อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

6. เป็นแหล่งกําเนิดของประเพณีที่สําคัญ ๆ เช่น ประเพณีสวดด้าน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตร ธูปเทียน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ล้วนแต่เป็นประเพณีที่เกิด จากการที่ชาวเมืองได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินทองตามกําลัง ศรัทธา เพื่อไปซื้อผ้าพื้นสีขาว แดง หรือเหลืองมาเย็บต่อกันเข้าให้เป็นแถวยาวนับร้อยนับพันหลา แล้วจัดขบวนแห่ผ้าดังกล่าว ไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อนําแถบผ้าไปพันโอบรอบ ฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นเจดีย์ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพสักการะของชาวเมืองส่วนประเพณีตักบาตรธูปเทียนนั้น เป็นประเพณีเก่าแก่มีมาพร้อมๆ กับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  นับเป็นประเพณีของชาวนครศรีธรรมราชอีกประเพณีหนึ่งที่แตกต่างไปจากแห่งอื่น ๆ

7. เป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันสารทเดือนสิบ วันออกพรรษา โดยเฉพาะวันมาฆบูชาและวันสารทเดือนสิบนั้นจะมีพุทธศาสนิกชนจากทุกหนทุกแห่ง มาทําบุญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมากที่สุด

8. เป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีและพิธีสําคัญ เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีสวดอาฏานา และพิธีโล้ชิงช้า เป็นต้น

ปัจจุบันนี้ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของเมืองนคร และเมืองใกล้เคียงทุกปีมีภิกษุสามเณรมาบวชและจําพรรษาที่วัดนี้เป็นจํานวนมาก วัดจึงแบ่งการปกครองพระสงฆ์ออกเป็นคณะเหนือและคณะได้ แต่ละคณะมีรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นผู้ปกครอง 

ด้านการศึกษาสําหรับภิกษุสามเณรและศิษย์วัดนั้น  แต่เดิมจัดตามแบบเก่า ต่อมาได้ตั้งสํานักเรียนนักธรรมและบาลีขึ้น ก็คือโรงเรียนปริยัติธรรม ได้เปิดสอนนักธรรมแก่ฆราวาสทั่วไปและแก่ภิกษุจากวัดธรรมยุติกนิกาย เช่น  วัดมเหยงคณ์ วัดท่าโพธิ์ และ วัดศรีทวี เป็นต้น โรงเรียนนี้ในบางคราวก็จัดเป็นที่พักของพระสงฆ์และฆราวาสเป็นครั้งคราว ตามโอกาส นอกจากโรงเรียนที่กล่าวมาแล้วยังได้ตั้งโรงเรียนสําหรับศิษย์วัดเรียนด้วย ทุกวันนี้ก็คือโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 

ในด้านเผยแพร่พระพุทธศาสนาก็ส่งเสริมให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาทุก ๆ วันพระที่ระเบียง (พระด้าน) และวิหารทับเกษตร  ก่อนมีการเทศน์ผู้มาร่วมฟังเทศน์ได้จัดให้มีการอ่านหนังสือต่าง ๆ เป็นภาษานครเรียกว่า “สวดด้าน” ซึ่งภาษากลางเรียกว่า “โอ้เอ้วิหารราย”

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ

ภายใน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีโบราณสถานที่สําคัญอยู่มากมาย  และแทบทุกที่ทุกทางภายในวัดล้วนมีคุณค่าต่อการศึกษาและมีประโยชน์สําหรับอนุชนทั้งสิ้น โบราณสถานที่สําคัญของวัดตามลําดับดังนี้ (วิเชียร ณ นคร, 2521, น. 443-462) 

1. พระบรมธาตุเจดีย์

พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบทรงระฆังคว่ำ มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่า องค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวาย แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช คำว่า “พระธาตุทองคำ” จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุ นอกจากจะมีความงดงามแล้ว พระธาตุยังมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้บูชาและขอพร 

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

2. วิหารพระม้า

วิหารพระม้านั้นอยู่ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์ทางด้านทิศเหนือ เป็นวิหารที่มีหลังคาเดียวกับวิหารเขียน แต่มีผนังกั้นอยู่จึงแยกออกเป็น 2 ส่วน คือเป็นวิหารพระมาส่วนหนึ่งและเป็นวิหารเขียนอีกส่วนหนึ่ง แต่เดิมมาวิหารทั้งสองหลังนี้มีประตูวงโค้งสามารถเดินทะลุถึงกัน ต่อมาวิหารเขียนใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ จึงปิดประตูโดยทําเป็นผนังตันไป 

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

3. วิหารเขียน

วิหารเขียน ที่ได้ชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่าแต่เดิมนั้นเสาและผนังของวิหารนี้มีภาพลายเส้นอยู่เต็ม ชาวนครจึงเรียกว่าวิหารเขียน ซึ่งก็คือวิหารที่มีภาพเขียนภาพวาดปรากฏอยู่เป็นลักษณะพิเศษไปจากวิหารอื่น ๆ  

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

4. วิหารโพธิ์ลังกา

วิหารโพธิ์ลังกา ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่าตรงกลางของวิหารมีลานสําหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นใหญ่ต้นหนึ่ง เชื่อกันว่าพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ได้พันธุ์มาจากลังกา จึงเรียกชื่อว่าโพธิ์ลังกา และเรียกชื่อวิหารตามชื่อของต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกาว่า วิหารโพธิ์ลังกา สถานที่ตั้งอยู่ติดกับวิหารเขียนด้านเหนือของวิหารเขียนและบรมธาตุเจดีย์ สร้างเป็นแบบสร้างวิหารคดรอบปูชนียวัตถุปูชนียสถานทั่ว ๆ ไป คือเป็นวิหารสี่เหลี่ยมจตุรัสล้อมรอบพระศรีมหาโพธิ์

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

5. วิหารสามจอม

เล่าสืบต่อกันมาว่าผู้สร้างวิหารนี้เป็นผู้ชายชื่อ สามจอม โดยสร้างพร้อมกันกับเจดีย์ใหญ่ (เจดีย์บริวารองค์หนึ่ง) ซึ่งอยู่ด้านหลังของวิหาร ดังนั้นจึงเรียกชื่อวิหารตามชื่อของผู้สร้างว่า วิหารสามจอม  สถานที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของพระบรมธาตุ ตรงข้างประตูพระระเบียงก่อนเข้าสู่วิหารจะเห็นรูปปั้นพระธรณีกําลังบีบมวยผมที่ผนังด้านหน้าของวิหาร ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น เรียกกันว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีเครื่องทรงอย่างกษัตริย์โบราณ ประดับชฎายอดสูง เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา จากชื่อของพระพุทธรูป พระเจ้าศรีธรรมโศกราช” องค์นี้ บางครั้งชาวนครเรียกวิหารสามจอมนี้ว่า “วิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช” ด้านหลังของวิหารเป็นซุ้มประตู 3 ช่อง บรรจุพระพุทธรูปปางมารวิชัยและเก็บอัฐิของเชื้อพระวงศ์ และเจ้านายในเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และตรงซุ้มประตูมีภาพปั้นพระพุทธประวัติตอนทรงตัดเมาฬีเพื่อออกบรรพชา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

6. วิหารพระกัจจายนะ หรือวิหารพระแอด

วิหารพระแอด เรียกกันตามชื่อของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลังนี้ คือพระกัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ หรือพระสภาเถระ แต่คนโดยทั่วไปเรียกกันว่า พระแอด ดังนั้นวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้ชื่อว่า วิหารพระแอด  สถานที่ตั้งอยู่ต่อกับวิหารสามจอมไปทางด้านเหนือ แต่เดิมนั้นวิหารพระแอดอยู่ภายนอกเขตพระระเบียงใกล้กับวิหารธรรมศาสลา ครั้นพระรัตนธัชมุนี (คุณฐาภรณเถร-แบน-เปรียญ) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ ก็ได้ดําเนินการบูรณะพระแอดและสร้างวิหารพระแอดขึ้นใหม่ โดยผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ คือพระครูพุทธิสารเจติยาภิวัฒน์ หรือพระพุทธิสารเถระ (ผุด สุวฑฺฒโน) เป็นผู้อํานวยการ เมื่อสร้างเสร็จก็อัญเชิญพระแอดขึ้นไป ประดิษฐานที่วิหารหลังใหม่มาจนทุกวันนี้

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

7. วิหารทับเกษตรหรือพระระเบียงตีนธาตุ

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระระเบียงตื่นธาตุ เป็นระเบียง หรือวิหารที่อยู่โดยรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์  คําว่า “ทับเกษตร” เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรม หมายถึง ผิวพื้นบริเวณที่ใช้เป็นที่ตั้งพระพุทธรูปหรือนาบบนฐานพระ หรือเรือนซึ่งเป็นขอบเขต ซึ่งได้แก่ระเบียงคด วิหารคด ด้วยเหตุนี้วิหารทับเกษตรจึงได้ชื่อตามหน้าที่ก็คือวิหารคด ซึ่งเป็นวิหารแสดงขอบเขตของพระบรมธาตุเจดีย์

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

8. วิหารคดหรือวิหารพระระเบียง

หรือบางทีก็เรียกว่าพระด้าน ที่เรียกกันว่าวิหารคด เพราะว่า วิหารนี้สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบบริเวณภายในขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ การที่สร้างให้หักเป็นมุมนี่เองชาวบ้านจึงเรียกว่า วิหารคด ส่วนที่เรียกกันว่าพระด้านหรือพระระเบียงก็เพราะว่าเป็นระเบียงขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ จึงเรียกกันว่า พระระเบียง และ ที่เรียกว่า พระด้าน ก็เพราะว่าในวิหารหรือระเบียงนี้เต็มไปด้วยพระพุทธรูปปั้นเรียงระเบียบ เป็นพระพุทธรูปนั่งเป็นแถวยาวตลอดทุกด้านของระเบียง จํานวน 173 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ การที่มีพระพุทธรูปอยู่รอบด้านของพระบรมธาตุเจดีย์นี้เองชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระด้าน

9. วิหารธรรมศาลา

 ที่ได้เรียกชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่าภายในวิหารนี้มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ มีชื่อว่าพระธรรมศาลา เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในวิหารหลังนี้ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นศิลปะยุคเดียวกับพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราชซึ่งประดิษฐานในวิหารสามจอม

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

10. พระวิหารหลวง (พระอุโบสถ)

ที่ได้เรียกเช่นนี้ก็เพราะถือกันว่าวิหารนี้เป็นของกลางที่พุทธศาสนิกชนทุกหนทุกแห่งมีสิทธิ์ใช้ร่วมกัน ในสมัยแรกพระสงฆ์ไม่ได้จําพรรษาที่วัดพระมหาธาตุ แต่จําพรรษาที่วัดอื่น ๆ ซึ่งอยู่รอบวัดพระมหาธาตุ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องการให้วัดพระมหาธาตุเป็นของส่วนกลางจริง ๆ ดังนั้นวิหารซึ่งมีมาแต่เดิมและใช้ประกอบพิธีสักการะบูชาพระบรมธาตุร่วมกันนี้จึงเรียกกันว่าพระวิหารหลวง ต่อมาได้มีการดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ แต่ผู้คนก็ยังเรียกว่าพระวิหารหลวงอยู่เช่นเดิม หาได้เรียกพระอุโบสถไม่  สถานที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ อยู่ภายนอกเขตของพระระเบียงคด ถือเป็นพระอุโบสถของวัดพระมหาธาตุ เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัยพร้อมกับพระบรมธาตุ ชาวลังกาเป็นผู้ก่อสร้างและดูแลรักษา 
          พระวิหารหลวงเป็นอาคารที่มีความใหญ่และงดงามมาก นับเป็ฯพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในปักษ์ใต้ 

วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

11. เจดีย์รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์

ภายในบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ถัดเข้าไปจากพระระเบียงวิหารคด มีเจดีย์ขนาดต่าง ๆ เรียงรายรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ดูราวกับว่าผู้สร้างมีเจตนาที่จะให้เป็นบริวารของพระบรมธาตุเจดีย์  เจดีย์บริวารเหล่านี้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าแต่เดิมผู้สร้างเจตนาที่จะใช้บรรจุอัฐิหรือไม่ เป็นศิลปะราวสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

12. วิหารโพธิ์พระเดิม

วิหารโพธิ์พระเดิมนี้อยู่ทางตอนสุดอาณาเขตของวัดพระมหาธาตุ ทางด้านเหนือของพระบรมธาตุ เป็นวัดที่สร้างหลังวัดพระมหาธาตุ ไม่นานนัก เรียกว่า วัดพระเดิม ในวัดนี้มีวิหารแบบเดียวกับวิหารโพธิ์ลังกาภายในบริเวณพระบรมธาตุทุกประการทั้งพระพุทธรูปและต้นโพ ทั้งยังเชื่อกันว่าโพต้นนี้ได้มาจากลังกาเช่นกัน สําหรับต้นโพต้นนี้ทั้งขนาดและลักษณะก็เห็นว่าน่าจะมาสู่ประเทศไทยสมัยเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วิหารโพธิ์ลังกาจริง     ปัจจุบันนี้วัดพระเดิมได้ยุบรวมเข้ากับวัดพระมหาธาตุและได้สร้างกุฏิของพระภิกษุสงฆ์วัดพระมหาธาตุไว้ในบริเวณที่เป็นวัดพระเดิมมาแต่โบราณ

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

13. พระพุทธบาทจําลอง

ประดิษฐานในมณฑปบนเนินสูง อยู่ทางด้านเหนือของพระบรมธาตุภายนอกวิหารคต พระพุทธบาทนี้เป็นแผ่นหินสลักพระพุทธบาทจําลอง หินที่นํามาแกะสลักพระพุทธบาท แต่เดิมเป็นของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พร้อม) พระพุทธบาทจําลองนี้สร้างเมื่อวันที่ 1 มกราคม ๒4๕๐ ผู้สร้างคือพระรัตนธัชมุนี (รัตนธัชเถร-ม่วง เปรียญ) เมื่อครั้งดํารงสมณศักดิ์ที่พระสิริธรรมมุนี โดยร่วมกับพระครูกาแก้ว (สี) และพระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) สมัยที่มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาตรังคภูมาภิบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

14. ศาลาศรีพุทธิสาร

สร้างทางด้านใต้ของพระวิหารหลวง ติดกับถนนหลังวัดพระมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2506 ผู้สร้างคือพระพุทธิสารเถร (ผุด สุวฑฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ศาลาหลังนี้สร้างเพื่อใช้เป็นที่พักของพระสงฆ์อาคันตุกะ และพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะพระบรมธาตุ 

15. พระศรีมหาโพธิ์

 ภายในบริเวณวัดพระมหาธาตุนั้นมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีอายุมาก ๆ อยู่หลายต้น แต่ทางด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุมีพระศรีมหาโพธิ์อยู่ต้นหนึ่ง มีอายุไม่มากนักเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่นํามาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียอย่างแท้จริง

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

16. ประตูเยาวราช

16. ประตูเยาวราช

16. ประตูเยาวราช

16. ประตูเยาวราช

16. ประตูเยาวราช

17. วิหารพระปัญญา

เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุทางด้านหน้านั้นมีอยู่ 3 ประตู ประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา เรียกว่า ประตูเยาวราช  เมื่อ พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูกลางของวัด พระมหาธาตุเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ มีลายปูนปั้นประดับ จารึกปีที่สร้าง คือ ร.ศ. 128 มีซุ้มทิศด้วย ยอดของซุ้มประตูเป็นแบบพระมหามงกุฎ และพระราชทานนาม ว่าประตูเยาวราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุทางด้านหน้านั้นมีอยู่ 3 ประตู ประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา เรียกว่า ประตูเยาวราช  เมื่อ พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูกลางของวัด พระมหาธาตุเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ มีลายปูนปั้นประดับ จารึกปีที่สร้าง คือ ร.ศ. 128 มีซุ้มทิศด้วย ยอดของซุ้มประตูเป็นแบบพระมหามงกุฎ และพระราชทานนาม ว่าประตูเยาวราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

18.พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร 

พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร หรือ เจ้าหญิงเหมชาลา เจ้าชายทันทกุมาร บางครั้งนิยมออกนามว่า พระแม่เหมชาลา พระฑันทกุมาร ในภาษาไทยและเหมามาลี ฑันทกุมารสำหรับในภาษาสิงหล ภาษาทมิฬ และภาษาอังกฤษ (สิงหล: දන්ත කුමරු හේමමාලා කුමරියทมิฬ: இளவரசி ஹேமமாலா இளவரசர் தந்தாอังกฤษ: Princess Hemamali Prince Dantha) เป็นบุคคลที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ศรีลังกา และในเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นทางภาคใต้ของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะปูชนียบุคคลผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมายังนครลงกา ประเทศศรีลังกาและพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และวัดจะทิ้งพระ จ.สงขลา (พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร, 4 มกราคม 2566)

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

19. พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุทางด้านหน้านั้นมีอยู่ 3 ประตู ประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา เรียกว่า ประตูเยาวราช  เมื่อ พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูกลางของวัด พระมหาธาตุเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ มีลายปูนปั้นประดับ จารึกปีที่สร้าง คือ ร.ศ. 128 มีซุ้มทิศด้วย ยอดของซุ้มประตูเป็นแบบพระมหามงกุฎ และพระราชทานนาม ว่าประตูเยาวราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

20. พระอนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมโศกราช

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นปฐมกษัตริย์เป็นต้นราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่งอาณาจักรตามพรลิงก์ เป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช จากชุมชนเดิมซึ่งมีชื่อเรียกว่า ตามพรลิงก์ บนหาดทรายแก้ว (บริเวณตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 17 จนกลายเป็นนครรัฐหรือเป็นอาณาจักรใหญ่ในคาบสมุทรไทย ก่อนที่จะเข้ารวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย สมัยกรุงศรีอยุธยาในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 พระนามกษัตริย์ พระองค์นี้ ปรากฏอยู่ในหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายชิ้น เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และจารึกดงแม่นางเมือง (จารึกหลักที่ 35) (พระเจ้าศรีธรรมโศกราช, 21 กรกฎาคม 2565)

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

21. อนุสาวรีย์แม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาวแม่เจ้าอยู่หัว)

 พระแม่เจ้าอยู่หัว พระนางเลือดขาว ท่านเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 5 ( สีหราช ) พระนางเลือดขาว เป็นอัครสาวิกา ผู้สร้างพุทธสถานไว้มากมายในแผ่นดินภาคใต้ พระนางเลือดขาว (แม่เจ้าอยู่หัว) ได้สร้างวัดแม่เจ้าอยู่หัวไว้ที่นี้ และไม่ว่าผู้ใดเดือดร้อน มาบนบานศาลกล่าว ก็จะสมปรารถนาทุกประการ ด้วยเชื่อมั่น ศรัทธาในความเมตตาของพระแม่เจ้าอยู่หัว (ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, 2016)

กรมศิลปากร ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และคณะกรรมการมรดกโลก มีมติในการประชุมคณะกรรมการสมัยที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 รับรองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเข้าสู่บัญชีเบื้องต้นก่อนเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก (

ข้อมูลอ้างอิง

ดรุณี  บุญพิบาล. (2542). พระมหาธาตุวรมหาวิหาร,วัด. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. (เล่ม 11, น. 5128-5137). มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. 

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช. ( 21 กรกฎาคม 2565). ใน Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร. (4 มกราคม 2566). ใน Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/พระนางเหมชาลา_พระทันทกุมาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. (2023). ประวัติและพัฒนาการของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. http://phramahathat-heritage.com/เกี่ยวกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร/ประวัติและพัฒนาการของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร/

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. (2023). วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มรดกธรรมสู่มรดกโลก. http://phramahathat-heritage.com/

วิเชียร ณ นคร, สมพุทธ ธุระเจน, ชวน เพชรแก้ว, ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ และ ปรีชา นุ่นสุข. (2521). นครศรีธรรมราช. อักษรสัมพันธ์.

ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม. (2016). วัดแม่เจ้าอยู่หัว. https://www.facebook.com/vanvipnakhon/posts/1152680111479699/?locale=th_TH

MUSEUM THAILAND. (ม.ป.ป.). นครศรีธรรมราช :  นครอันงามสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม.  https://www.museumthailand.com/en/2671/storytelling/พระบรมธาตุฯ-เมืองคอน/พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

Series Navigation<strong>วิหารโพธิ์พระเดิม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร </strong> >>

Visits: 9487

This entry is part 1 of 10 in the series วัดพระธาตุ

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.