PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม…
ลาน ฮ.มวล.

ลาน ฮ.มวล.

ตั้งแต่วันรับปริญญามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2563 สนามหญ้าเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่มีเฮลิคอปเตอร์มาลงให้ตื่นเต้นกับเสียงดังของเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กันอีกแล้ว เนื่องจากได้มีการสร้าง ลานเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งอยู่ริมถนนวงใน ก่อนถึงสะพานยกระดับหน้าอาคารบริหาร แต่สนามกว้างเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะปรากฎซุ้มสวยๆ จากความร่วมมือของนักศึกษาสำนักวิชาต่างๆ มาแทนที่ให้บัณฑิตถ่ายรูปกับหมู่ญาติ เพื่อนฝูง ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ท่ามกลางท้องฟ้าสดใส ตั้งแต่วันซ้อมย่อย จนถึงวันรับพระราชทานปริญญาจริง คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิต และผู้ปกครองจะมาหลบร้อนที่ร้านกาแฟหน้าศูนย์บรรณสารฯ และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาก็เป็นจุด Check in ที่ฮ็อตอีกที่หนึ่ง โดยใช้จุดเช็คอินว่า Walailak University Library เป็นบรรยากาศที่สดชื่นอบอวลไปด้วยความสุข ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์จึงเป็นการย้อนระลึกบรรยากาศช่วงพิธีรับปริญญาในอดีต…
มุมลึกลับในศูนย์บรรณสารฯ

มุมลึกลับในศูนย์บรรณฯ

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ที่ใครๆ เรียกติดปากว่า "ศูนย์บรรณฯ"เริ่มเปิดใช้เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยย้ายมาจากอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (คนรุ่นเก่าเรียกว่า D4) เป็นหนึ่งในอาคารที่มีพื้นที่การใช้สอยมากอาคารหนึ่งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารฯ เป็นตึก 3 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการจัดสรรพื้นที่ แบ่งซอยห้องเล็กห้องน้อยออกไปทุกชั้น ผู้ใช้บริการบางท่านก็ไม่เคยใช้งาน ไม่เคยใช้พื้นที่ จนนักศึกษาบางคนเรียกว่ามุมลึกลับ เรามาดูกันว่าคำว่ามุมลึกลับในที่นี้ จริงๆ แล้วลึกลับเพราะมีเรื่องสยองขวัญซ่อนอยู่? หรือลึกลับเพราะผู้ใช้บริการเข้าไม่ถึง ไม่รู้จักกันแน่... งั้นเรามาทำความรู้จักมุมลึกลับ เริ่มไปจากชั้น 1 ห้องถัดไปจากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น…
Foundation stone

ตามหาพิกัดจุดวางแผ่นศิลาฤกษ์

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ…
WUSmartIDcard

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?  นับตั้งแต่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้กรอกข้อมูลพร้อมแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ใช้แสดงสถานะนักศึกษา ไว้เข้าสอบ และยืมหนังสือในห้องสมุดตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รุ่นแรก ศูนย์บริการการศึกษาร่วมกับธนาคารกรุงไทยสาขาท่าศาลา ในการออกแบบบัตรนักศึกษาตามยุคสมัยเพื่อให้รองรับการใช้สิทธิ์กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอด มาดูบัตรนักศึกษารุ่นต่างๆ กัน อายุการใช้บัตรก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของนักศึกษาเจ้าของบัตร  🧑‍ บัตรนักศึกษารุ่นแรกสีขาว ไม่สามารถใช้กับเครื่อง ATM ได้ การยืม-คืนผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือเจ้าหน้าที่นำรหัสนักศึกษาจากหน้าบัตร พิมพ์เรียกค้นข้อมูลสมาชิกในระบบ สังเกตุให้ดีโดเมน E-mail นักศึกษาจะเป็น @praduu บัตรรุ่นต่อมาเป็น…
โครงการขนมล่อมด

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่…
WULecturebuilding

ปริศนาอาคารเรียนรวม

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ.…
One stop service

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯
แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird…
รับร้องเฟรชชี่รุ่นแรก'41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก'41เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ โดยกำหนดให้เป็นลักษณะ “กลุ่มสัมพันธ์” เป็นการรับน้องมิติใหม่ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวกับชีวิตที่เติบโตขึ้นในเมืองมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรุ่นพี่ (เฟรชชี่เรียกว่าพี่บุค ย่อมาจากพี่บุคลากร)…
วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่วังผีเสื้อ อ่านแล้วไม่ใช่สถานที่ในยุทธภพนิยายจีนกำลังภายใน ที่มาชื่อนี้เป็นทั้งชื่อกลุ่มนักศึกษาชายรุ่นแรกๆ ของมวล. ที่กล้าแสดงออก ร่าเริง และยังมีที่มาคือเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหลังอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น เพราะมักจะมีวัชพืชผักตบลอยแพกีดขวางเส้นทางน้ำ คลองระบายน้ำที่ไหลผ่านหลังศูนย์บรรณสารฯ และโรงอาหารสี่จึงมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าวังผีเสื้อไปด้วย โรงอาหารสี่เป็นโรงอาหารที่อยู่ใกล้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันด้วย Covered way ต่อไปนักศึกษาใหม่ก็คงไม่เห็นชื่อโรงอาหารสี่ในตำนานของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกๆ อีกต่อไป เพราะกำลังปรับปรุงอาคารเป็นสตูดิโอของหลักสูตรนิเทศศาสตร์รองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องใช้งานเพิ่มขึ้น เลยบันทึกข้อมูลและภาพในอดีตของโรงอาหารสี่ที่มีคลองระบายน้ำไหลผ่านในเส้นทางที่แปรเปลี่ยนไป ไว้เป็นที่ระลึกเนื่องจากโรงอาหารสี่อยู่ในพื้นที่กลุ่มอาคารปฏิบัติงานของบุคลากร เลยเป็นแหล่งพักรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน รวมกับนักศึกษาที่เรียนอาคารวิชาการใกล้ๆ ด้วย เลยเป็นโรงอาหารในความทรงจำของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกจวบจนถึงปี 2566 ที่จะกลายเป็นอาคารปฏิบัติการตรงข้ามตึกสหกิจศึกษาและใกล้ตึกเรียนรวม 6 (ST)นอกจากเป็นแหล่งพักทานข้าวแล้ว โรงอาหารสี่ในอดีตยังเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารสำหรับการประชุมสัมมนาต่างๆ และสถานที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง…
กว่าจะมาเป็น Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart card จากระบบอ่านข้อมูลจากแถบ Barcode มาเป็นระบบฝังชิพข้อมูล และเป็นระบบ RFID…
มหาลัยไร้รั้วแต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาลัยไร้รั้ว..แต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย จะตัดออกไปสู่ถนนทางหลวง 401 ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลท่าศาลา ถนนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีเส้นทางออกไปยังวัดนางตรา และหากเป็นด้านข้างมหาวิทยาลัย จะเป็นเส้นทางออกวัดแส็งแรง…
ใครไม่หลงสิแปลก?

ใครไม่หลงสิแปลก

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี ก่อนเปิดเทอม จะมีการสอบวัดระดับนักศึกษาเพื่อแยกกลุ่มจัดตารางสอน ทีนี้อาคารเรียนรวม 1,3,5,7 จะมีลักษณะพิเศษ คือชั้น…
WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The Center for Library resources and Education…