ศิวลึงค์ ต้นกำเนิดแห่งสรรพชีวิต
ศิวลึงค์ เครื่องหมายแห่งเพศชาย และเป็นตัวแทนของพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ศิวลึงค์จะนำมาใช้ในการบูชาสักการะในโบสถ์วิหาร
ศิวลึงค์ เครื่องหมายแห่งเพศชาย และเป็นตัวแทนของพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ศิวลึงค์จะนำมาใช้ในการบูชาสักการะในโบสถ์วิหาร
พระวิหารหลวง พระวิหารหลวง เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัยพร้อมกับพระบรมธาตุ แต่ต่อมาได้ดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ และใช้ประกอบพิธีสักการะบูชาพระบมธาตุร่วมกัน และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมอย่างอุโบสถโดยทั่วไป เช่น กระทำอุโบสถของพระภิกษุสงฆ์ ประกอบพิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมืองและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ประกอบพิธีสมโภชพระบรมธาตุประจำทุกๆ ปี
ภายในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร (วัดพระธาตุ) โดยเฉพาะในบริเวณวิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) นอกจากจะมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งตระหง่านอยู่โดดเด่นแล้ว ยังมีเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ถึง 158 องค์ และหนึ่งในจำนวนนี้มีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “เจดีย์พระปัญญา” หรือ “พระปัญญา” รวมอยู่ด้วย
เจดีย์ยักษ์นี้ตั้งอยู่ระหว่างที่ทำการเทศบาลนครนครศรีธรรมราชและวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ด้านหน้าเป็นถนนราชดำเนิน บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเงิน” หรือ “วัดเสมาเงิน แต่ไม่ได้ยินชื่อวัด “เจดีย์ยักษ์” ซึ่งอาจจะเป็นคติความเชื่อสมัยโบราณว่าการสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ๆ จะแยกออกมาจากวัด
เจดีย์หกหว้าหรือเจดีย์ดำ เป็นเจดีย์หินแบบจีน มีความเชื่อกันว่าเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานไว้ที่หน้าเจดีย์หกหว้านี้
วิหารสามจอม วิหารหลังเล็กอีกหลังซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพุทธาวาส ใกล้กับวิหารพระแอด และวิหารพระด้าน (วิหารคด) แม้จะสร้างขึ้นหลังวิหารอื่น ๆ แต่ก็เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง ในฐานะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช”
ไศวภูมิมณฑลเขาคา สอดคล้องกับคติการสถาปนาภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามหลักไศวนิกาย เทวสถานบนเส้นทางการค้าใหญ่สุดบนคาบสมุทรมลายู เจริญรุ่งเรืองกว่า 400 ปี สวยัมภูลึงค์แห่งเขาคา มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ "ตามพรลิงค์"
มัสยิด ภาษาอาหรับ หมายถึง สถานที่ละหมาด ประกอบศาสนกิจและพิธีกรรมของมุสลิม เป็นศูนย์รวมของมุสลิมในชุมชน สุเหร่า ภาษามลายู เป็นสถานที่ละหมาดประกอบศาสนกิจ และพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกัน ภาคใต้ใช้ภาษามลายู ก็จะได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่าสุเหร่า ทั้งมัสยิดและสุเหร่าเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมทั่วโลก มีบทบาทต่อโลกมุสลิมเหมือนกันทุกประการ
"เข้าวัดแจ้ง ดูเก๋งปูนปั้นซุ้มประตู เข้าวัดประดู่ ดูลายไม้แกะจากเมืองจีน” วัดประดู่พัฒนาราม เดิมเรียกว่า "วัดประดู่" หรือ วัดโด เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ไทย และเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต