การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบงบประมาณ

การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบงบประมาณ

ก่อนเสนอรายงานขอซื้อขอจ้างเข้าแฟ้มผู้อำนวยการ ในทุกหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานราชการ มักจะมีฝ่ายบริหาร หรือบางที่อาจเรียกว่าฝ่ายธุรการ จะมีบทบาทหน้าที่ในภารกิจสนับสนุนการให้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุการจัดทำและบริหารงบประมาณ การเงิน งานบุคคล การจัดประชุม งานประสานงานต่างๆ เป็นต้น หนึ่งในภารกิจที่สำคัญและให้น้ำหนักมากในอันดับแรกๆของการปฏิบัติงานก็คือกระบวนการขอจัดซื้อจัดจ้างนั่นเอง ซึ่งในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างจะมีกระบวนปลีกย่อยมากมายซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เขียนมองว่าหากไม่ปรับปรุงกระบวนการจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจอนุมัติหรือไม่อนุมัติการจัดซื้อนั่นก็คือ การเพิ่มขั้นตอนตรวจสอบงบประมาณก่อนเสนอรายงานขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการตรวจสอบงบประมาณนั้น ปัญหาที่มักจะพบบ่อยก็คือ ผู้บริหารไม่ทราบว่างบประมาณในกิจกรรมนั้นมีเหลืออยู่เท่าไหร่ หรืออาจจะทราบแต่ไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน ทำให้ต้องส่งเรื่องกลับมาที่งานงบประมาณเพื่อตรวจสอบงบฯ คงเหลืออยู่บ่อยครั้งทำให้เสียเวลาไปโดยไม่จำเป็นหรืออาจจะทำให้ล่าช้าเกินไปหรือในบางครั้งถ้าไม่ส่งเรื่องกลับมาก็อาจจะอนุมัติทันทีโดยไม่ทราบว่างบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ หากเป็นช่วงต้นปีงบประมาณปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น แต่หากเป็นช่วงกลางถึงปลายปีงบประมาณ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ก็มักจะต้องเกิดกรณีที่อนุมัติแล้วแต่งบฯ มีไม่เพียงพอ หรือเกิดปัญหาการขอจัดซื้อจัดจ้างไม่ตรงกับกิจกรรมที่ตั้งไว้เนื่องจากไม่ได้วางแผนกิจกรรมไว้ล่วงหน้า เป็นต้น…

การใช้สื่อ Infographic เพื่อส่งเสริมการเข้าใช้งานระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื่องด้วยงานติดตามและประเมินผลงานบริหาร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ ได้แจ้งให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย รวมทั้งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เข้าไปบันทึกผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำไตรมาสผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report โดยใน 1 ปีงบประมาณจะต้องรายงานผลการดำเนินงานจำนวน 4 ครั้ง หรือ 4 ไตรมาส จากการเข้าไปรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ทำให้ผู้รับผิดชอบที่จะบันทึกข้อมูลไม่สามารถจดจำขั้นตอนการเข้าใช้ระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ได้เนื่องจากมีความซับซ้อนและไม่ได้ใช้งานบ่อย ทำให้เสียเวลา และต้องตอบคำถามทุกครั้ง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงได้นำสื่อ Infographic มาเป็นเครื่องมือในการอธิบายขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ…
ภาพ 5ส

การใช้ 5ส ในสำนักงาน

5ส คือ เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรมีความสะอาด เป็นระบบ ระเบียบเรียบร้อย อันจะนำมาซึ่งความปลอดภัย ความมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิดความเพิ่มผลิตภาพการทำงาน โดยพนักงานทุกคน ทุกระดับ มีส่วนร่วมใน การทำทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ประโยชน์ที่ได้จากการใช้กิจกรรม 5ส ในสำนักงาน 1. มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานดี เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน 2. ลดอุบัติเหตุในการทำงาน 3. ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกิน เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ 4. ลดการสูญหายของวัสดุ เครื่องมือ…