Design Thinking การคิดเชิงออกแบบ

เรียนเรื่องอะไร? รายวิชา การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม | Creativity and Innovation OCSC001

เพื่ออะไร

  • ตอบโจทย์ปัญหาในใจ “ทำไมการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จึงมีความสำคัญกับองค์กรในยุคปัจจุบัน?”
  • เข้าใจปัญหาของการบริการ เข้าใจความต้องการ และเข้าถึงผู้ใช้อย่างแท้จริง ตอบโจทย์งานบริการซึ่งเป็นหัวใจหลัก ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • พัฒนาทักษะส่วนตัวของตัวเองที่ยังขาดในส่วนของการคิดอย่างสร้างสรรค์ “มองอย่างไรให้รอบด้าน”
  • เพื่อ mind map idea ส่วนตัวแตกแขนงเยอะ สวยงาม
11 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเข้าร่วมอบรม การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวคิด Creative Thinking & Design Thinking

สิ่งที่ได้ หลังจากที่ได้เข้าร่วม “อบรมการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวคิด Creative Thinking & Design Thinking” โดย ศูนย์บรรณสารฯ แล้วต่อยอดด้วยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โจทย์คำถามในหัวใจก็มีคำตอบ

  • เพราะทักษะการคิดจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม คิดเป็น อยู่เป็น
  • กระบวนการค้นหาและแก้ไข ปัญหาของผู้ใช้ การถามคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ ปัญหาของผู้ใช้ และวิธีการแก้ปัญหา
  • ปัจจุบันเรามองแต่ตัวเอง โดยที่ไม่มองความต้องการของคนข้าง ๆ “ชอบไหมค่ะ อยากแก้ไขส่วนใดบ้าง เพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง เหนื่อยไหมค่ะ”
  • อยากเขียน mind map ให้มีเส้นแตกเยอะ ๆ ตอนนี้ทำได้ละ

อะไรที่ผู้ใช้ชอบ และ อะไรที่เราต้องปรับปรุง” นี่คือโจทย์แล้วเรามาดูกันนะคะว่า Creatiity and Innovation สอนให้เราออกแบบความคิดให้เป็นแบบไหน

การคิดเชิงออกแบบ หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะที่สร้างแนวคิด วิธีการคิดที่ทำให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ในปัญหาที่เกิดขึ้น รู้อย่างละเอียด ถี่ถ้วน  จับจุดปัญหาได้ถูก เรียงลำดับวิธีการแก้ไขปัญหา  มีการคิดวิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด รอบด้าน มองวิธีการแก้ปัญหาได้รอบมุม หลากหลายมุมมอง และทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การคิดเชิงออกแบบ ยังก่อให้เกิดการคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อนำมาคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา นำมาสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นภายในองค์กรได้ด้วย

Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบ / Creative Thinking คือ ความคิดสร้างสรรค์

Design Thinking ช่วยในการจัดการกระบวนความคิด ทัศนคติ ความคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อให้กล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าทำอย่างมีเหตุและผล และมีความรับผิดชอบด้วยตัวเองเพื่อการพัฒนาเชิงรุกในการทำงานและพัฒนานวัตกรรมในองค์กรได้

องค์ประกอบ คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และคน

กระบวนการ ของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)

designthinkingprocess
ที่มา: https://clib.psu.ac.th/km/design-thinking/

1.Empathize – เข้าใจปัญหา

ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไขนี้เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุด

2.Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน

นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง

3.Ideate – ระดมความคิด

ระดมความคิดในหลากหลายมุมมอง หลากหลายวิธีการ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหา การระดมความคิดนี้ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างรอบด้านและละเอียดขึ้น รวมถึงหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบ

4.Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก

สร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนำไปผลิตจริง ลงมือปฎิบัติหรือทดลองทำจริงตามแนวทางที่ได้เลือกแล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของที่เราต้องการจะนำไปใช้จริง

5.Test – ทดสอบ

ทดลองนำต้นแบบไปใช้จริง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล เสร็จแล้วก็นำเอาปัญหา ข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้น มาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้ง

การฝึกเพื่อพัฒนาทักษะ

  • ฝึกคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ฝึกคิดย้อนศร (Backward Thinking)
  • ฝึกคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Thinking)
  • ฝึกคิดบนหลักของความเป็นจริง (Thinking Based Principle)
  • ฝึกคิดข้ามกล่องความรู้ (Lateral Thinking ) คือการนําเอาความรู้ มาคิดไขว้กัน เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ

การส่งเสริม

  • เทคนิคระดมสมอง (Brainstorming)
  • เทคนิคซินเน็คติคส์ (Synectics Technique) เทคนิคนี้อาจเรียกว่าเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ มีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย กับการทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก
  • เทคนิคการคิดแนวข้าง (Lateral Thinking) เป็นหลักการคิดของ De Bono โดยเน้นการสอนหลักการคิดแนวข้างเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา
  • เทคนิคแผนที่ความคิด (Mind Mapping) โดยมีหลักการว่า ข้อมูลที่สลับซับซ้อนสามารถนำมาจัดเป็นระบบให้ง่ายขึ้นได้ด้วยการสร้างเป็นรูปภาพ วิเคราะห์ให้เห็นว่าองค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบย่อย

ประเด็นสำคัญ

  • มองเห็นวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหา สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สร้างนวัตกรรมได้
  • มองปัญหาและโจทย์ของการทำงานได้รอบด้านและรอบคอบขึ้น
  • ฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการจัดการที่ดี

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Design Thinking

  1. การระดมสมอง สิ่งที่สำคัญคือความหลากหลายของความคิดจากหลายตำแหน่งหน้าที่การงาน เราจะสามารถสร้างไอเดียที่หลากหลายและแตกต่างได้เยอะ
  2. คนกลาง เพื่อดำเนินงานผลักดันให้แต่ละคนสามารถออกความคิดเห็นหรือมองในมุมมองที่อาจจะไม่ได้คิดมาก่อน
  3. จำกัดเวลาให้คนออกไอเดีย ให้คนระดมสมอง เพื่อบังคับให้คน ‘ไม่กรองความคิด’ ตัวเองออกไปก่อนที่จะแบ่งปันกันคนอื่น และขั้นตอนการทำแบบจำลองและการทดสอบก็ควรจะทำให้เร็วเพื่อให้เราสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้เร็วที่สุด
  4. เด็กเหมาะสำหรับการเข้าร่วม Design Thinking มากที่สุดเพราะเป็นคนที่ไม่ถูกจำกัดด้วยคำว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ และ ‘ไม่น่าจะทำได้’
  5. นำ Design Thinking มาพัฒนาองค์กร โดยใช้วิธีการระดมสมอง สร้างทางออกใหม่ ๆ เรียนรู้และทำซ้ำได้เร็วขึ้น

Design Thinking มักถูกเรียกว่าการคิดแบบนอกกรอบ คือไม่ยึดติดกับวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม หัวใจสำคัญคือ เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง คิดแบบไม่มีกรอบ เรียนรู้ผ่านการทดลอง ลงมือทำ

ใครอยากทำความรู้จักกับ Design Thinking ลองหาหนังสือสักเล่มเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนอ่านอย่าลืมเปิดใจกว้าง ๆ เอาสิ่งรก ๆ ออกจากความคิดไปก่อนนะคะ รับรองว่าคุณจะได้มุมมองใหม่ในแบบที่คุณคิดไม่ถึงเลยทีเดียว

Reference:

  1. คิดเชิงออกแบบ : เทรนด์ใหม่ของธุรกิจยุคนวัตกรรมไม่รู้จบ = Change by design / ทิม บราวน์ ; นุจรี นาคเจริญวารี, แปล.
  2. อบรมการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวคิด Creative Thinking & Design Thinking 11 กุมภาพันธ์ 2565
  3. ThaiMOOC OCSC001 การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม Creativity and Innovation

Visits: 780

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

Back To Top