My Journey : LifeLong  learning

การพึฒนาตนเอง

My Journey : LifeLong  learning

สำหรับตัวเองเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องใช้ในการทำงานและเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิต อย่างที่เลือกเรียนทั้ง 5  รายวิชา เพราะเริ่มจากความสนใจว่า การเป็น “การเป็นอินฟลูเอนเซอร์”  จะต้องเพิ่มทักษะอะไรบ้าง ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้านไหนบ้าง เพราะการทำงานในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนจาการเป็นบรรณารักษ์ มาเป็นนักจัดการเนื้อหาสาระความรู้ต่าง  ๆ    

https://mooc.cmu.ac.th/th/course/4F6CC6C8-71B2-4B6D-9C98-39866BD00BCA

Intro to Influencer : เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์
อินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) เป็นผู้ผลิตสื่อออนไลน์, ผู้ประกอบอาชีพอิสระ, พนักงานสื่อกลางระหว่างลูกค้าและบริษัท (AE), พนักงานสื่อสารองค์กร (PR) ความคิดเห็นส่วนตัวมองว่ามีความคล้าย ๆ หรือใกล้เคียงกับภาระงานในปัจจุบัน ในการสร้างสรรค์เรื่องราวเนื้อหาสาระความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอให้กับผู้ใช้บริการของเราอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ หรือ ผู้ที่ติดตาม Facebook / Page ซึ่งทักษะที่จำเป็น คือ การรู้และเข้าใจในศักยภาพ ความชอบของตัวเอง การมีมุมมองใหม่ ๆ รู้จักและเข้าใจหลักการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด เขียน เพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ การคิด การออกแบบ และสร้างนวัตกรรมในการทำงาน

https://mooc.cmu.ac.th/th/course/D52AC124-69B0-4AC6-9CA2-19745303874C

การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives) เมื่ออยากจะเป็นนักทำเนื้อหาสาระที่ดี หรือ อินฟลูแอนเซอร์ สิ่งที่เราควรมี ควรรู้ ควรเพิ่มทักษะให้กับตนเอง คือ การมีมุมมอง มีทัศนคติที่ดี ดังนั้นแล้วรายวิชานี้จะเป็นการเปิดมุมมอง ทัศนคติของเราต่อเรื่องราว ๆ ต่าง ๆ ได้ดี เริ่มตั้งแต่การความเข้าใจที่มาของพฤติกรรมของตัวเอง ด้วยการสำรวจตนเองในแต่ละพฤติกรรมก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจตัวเองนั้น ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในการทำงาน การตระหนักถึงมุมมองของตัวเองที่อาจเข้าไปรบกวนการเข้าใจผู้อื่น การสอบถามให้ได้มุมมอง ความต้องการและความรู้สึกที่แท้จริง แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน

การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) รายวิชาการฟังอย่างใส่ใจจะทำให้เราเห็นความสำคัญ ของการฟังอย่างใสใจที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาด้วยการใช้เทคนิคการสื่อสารทางจิตวิทยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟัง การฟังแบบเข้าอกเข้าใจ การทบทวนความเข้าใจ และการสรุปความเข้าใจในการฟัง
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย (Thai for Contemporary Communication) มองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การสร้างเนื้อหา ซึ่งในรายวิชานี้จำทำให้เราเข้าใจทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร ด้านการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations) เป็นการต่อยอดของการเรียนรู้ เกี่ยวกับ Intro to Influencer : เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ /การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives) /การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) และ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย (Thai for Contemporary Communication เพราะคนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้ ต้องรู้จักว่าเราต้องการทำอะไร นำเสนอชิ้นลักษณะไหน ดังนั้นแล้ว ก่อนจะเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ความคิด เพื่อ ออกแบบนวัตกรรมในการทำงานขึ้นมา จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องสร้างมุมมอง ทัศนะคติใหม่ ๆ อะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจจะได้มาจากการฟัง อ่าน เรื่องราวของคนอื่นอย่างใส่ใจ และไม่ยึดหลักความคิดของเราเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปิดมุมมองของตัวเราเอง และถ่ายทอดเรื่องเราวต่าง ๆ ผ่านการพูด การเขียน การเขียน ได้อย่างน่าเชื่อถือ และความรู้เหล่านี้ะเป็นจุดเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ “ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations)”

Visits: 87

Comments

comments

Back To Top