ความสำคัญของการนำเสนอ การนำเสนอมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทเลย เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจน เผยแพร่ความก้าวหน้าของงาน ต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจเรามาดูลักษณะสำคัญของการนำเสนอกัน การเสนอเป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสารค่ะเกี่ยวข้องกับงานที่ทั้ง 2 ฝ่ายเกี่ยวข้องมีเป้าหมายให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย สนับสนุนและเพื่อผลสำเร็จของผู้นำเสนอ พึงระลึกไว้ว่าผู้รับฟัง คือ คนสำคัญ ดังนั้น การนำเสนอจึงควรคำนึงถึงผู้รับสารเป็นสำคัญในส่วนของลักษณะการนำเสนอที่ดีมี 4 ประการดังนี้
            1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
            2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม
            3. มีเนื้อหาสาระดี
            4. มีข้อเสนอที่ดี
องค์ประกอบของการนำเสนอ องค์ประกอบที่ดีของการนำเสนอมี 4 ประการดังนี้
            ก. ผู้นำเสนอ (Presenter)             ข. เนื้อหา (Content)
            ค. สื่อ (Media) ง. ผู้ฟัง (Audience)
ผู้นำเสนอ  คือ ผู้ที่สามารถนำความรู้ความคิดของตนถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้และเป็นผู้แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ สิ่งสำคัญค่ะที่ผู้นำเสนอควรคำนึงถึงมี 3 ข้อ    1. ควบคุมตนเอง     2. ควบคุมผู้ฟัง และ     3. ควบคุมโครงเรื่อง
การควบคุมตนเอง เป็นการเตรียมตนเองให้พร้อม เมื่อต้องปรากฏตัวทั้งแนวคิดและบุคลิกภายนอกประกอบด้วยปัจจัยสำคัญดังนี้   1. การแต่งกาย      2. การวางตัว    3. ความน่าเชื่อถือคือ
การควบคุมผู้ฟัง คือ การให้เกียรติผู้ฟัง รู้ความต้องการของผู้ฟัง พยายามสบตาผู้ฟัง สร้างความสนใจตลอดระยะเวลาที่นำเสนอศึกษาข้อมูลของผู้ฟังเบื้องต้นมาบ้าง เช่น จำนวน เพศ ระดับอายุ ระดับความรู้ประสบการณ์ภูมิหลัง ความสนใจ และ วัฒนธรรม
การควบคุมโครงเรื่อง นั้น ผู้นำเสนอควรเตรียมโครงเรื่องและบทสรุปเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้จากนั้นจึงเตรียมส่วนเนื้อเรื่องและบทนำอาจจะประกอบด้วย บทนำ 10-15 %  เนื้อเรื่อง 70-80 % และบทสรุป 10-15 %

คุณสมบัติของผู้นำเสนอโดยทั่วไป มี 10 ประการดังต่อไปนี้
            1.มีบุคลิกดี 6. มีน้ำเสียงชัดเจน
            2. มีความรู้อย่างถ่องแท้ 7. มีจิตวิทยาโน้มน้าวใจ
            3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ 8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์
            4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 9. มีความช่างสังเกต
            5. มีภาพลักษณ์ที่ดี 10. มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

ในส่วนของทักษะผู้นำเสนอนั้นที่จำเป็นได้แก่
          1. ทักษะในการคิด          2. ทักษะในการฟัง
          3. ทักษะในการพูด          4. ทักษะการอ่าน
          5. ทักษะในการเขียน       6. ทักษะในการถ่ายทอด

หลักของการเป็นนักพูดที่ดี
          1. เชื่อมั่นในตัวเรา 7. รู้จักใช้ไมโครโฟน
          2. อย่าดูเบาเรื่องแต่งกาย 8. ภาษาไทยต้องชัดเจน
          3. ท่าทางต้องผึ่งผาย 9. น้ำเสียงดังพอเหมาะ
          4. ก้าวเดินไปอย่างมั่นใจ 10. สายตากวาดเกาะทั่วเห็น
          5. ทักทายให้เข้าท่า 11. เวลาครบจบตามเกณฑ์
          6. อีกใบหน้าต้องแจ่มใส 12. สรุปเน้นให้จับใจ

     ความหมายของผู้รับสาร ในกระบวนการสื่อสารได้ถูกตีความหมายไปต่าง ๆ ตามแต่ขอบเขตและการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการสื่อสารในแง่มุมต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับผู้รับสาร มี 4 ประการ ได้แก่
          1.ผู้รับสารในฐานะองค์รวมของบุคคล
          2.ผู้รับสารในฐานะมวลชน
          3. ผู้รับสารในฐานะสาธารณชนหรือกลุ่มสังคม
          4. ผู้รับสารในฐานะตลาด

การทำความเข้าใจผู้รับสารผ่านเจเนอเรชัน
เจเนอเรชัน เป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอควรกระทำเพื่อให้การสื่อสารการนำเสนอแต่ละครั้งสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้มากที่สุด เจเนอเรชันของผู้รับสาร มี 8 ประการ ได้แก่
1. เจเนอเรชันแรก Lost Generation คือคนที่เกิดช่วง พ.ศ. 2426-2443 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกสำคัญที่สำคัญนั่นก็คือ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปัจจุบันคนกลุ่มนี้ไม่มีชีวิตหลงเหลืออยู่
          2. เจเนอเรขันที่ 2  คือ Greatest Generation หรือ G.I. Generation คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2444-2467 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นช่วงที่อยู่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องตายไปในสงคราม ซึ่งคนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้สงคราม อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟู เศรษฐกิจให้กลับมาดีหลังจากสงครามสงบลงด้วย ลักษณะนิสัยของคนใน Gen ที่ 2 นี้ จะเป็นผู้ที่มีแบบแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งเรื่องความเชื่อ ความคิดต่าง ๆ มีความเป็นการทางการค่อนข้างสูง ใส่สูท ผูกไทออกจากบ้านมีความสนใจในสังคมส่วนรวม และมีสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี
            3. เจเนอเรชนที่ 3 Silent Generation คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 ช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คนส่วนใหญ่จึงต้องตายในสนามรบทำให้ประชากรในยุคนี้มีไม่มากเท่ายุคอื่นๆเนื่องจากเป็นช่วงสงครามจึงส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ทุกคนที่มีชีวิตอยู่ต้องทำงานหนักแต่ว่าคนรุ่นนี้มีความภักดีซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติต่อเจ้านาย มีระเบียบแบบแผน เคารพกฎหมายดีมาก ในยุคนี้เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มออกทำงานบ้านแล้ว ภายหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวคนในรุ่นนี้จึงมีช่องทางในการสร้างรายได้ ทำธุรกิจของตัวเองกันมากขึ้น นอกจากนี้คน Gen นี้ยังมีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆถือเป็นรากฐานที่สำคัญ ให้ได้ต่อยอดจนมาถึงทุกวันนี้ของเรา
            4. Gen ที่ 4  Baby Boomer Generation หรือ Gen B คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489 – 2507 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่บ้านเมืองสงบหลังจากสงครามทุกคนที่มีชีวิตรอดต้องเร่งกลับมาฟื้นฟูให้ประเทศกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง แต่เนื่องจากได้สูญเสียจำนวนประชากรไปมากมายจากการศึกสงคราม คนในยุคนี้จึงมีค่านิยมมีลูกมีหลานเยอะ ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานมาช่วยกันพัฒนาประเทศ ปัจจุบันคนในยุคนี้ที่ยังอยู่จะมีอายุประมาณ 50 ขึ้นไป ลักษณะนิสัยจะเป็นคนที่จริงจังเคร่งครัดเรื่องขนมธรรมเนียนประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงานมาก ๆ มีความอดทนสูง ประหยัดอดออมจนหลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวก “อนุรักษนิยม”
          5. เจนเนอเรชั่น 5 คือ Generation X หรือ Gen-X คนประเภท Generation X เกิดในช่วง พ.ศ. 2508-2522 สำหรับ Generation X มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ยับปี้” ย่อมาจาก Young Urban Professionals หมายถึง พวกที่เกิดมาในยุคมั่งคั่งใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของวิดีโอเกม คอมพิวเตอร์สไตล์ เพลงก็เป็นแนวฮิปฮอปแล้วก็บางท่านอาจทันดูทีวีจอขาวดำ ปัจจุบัน คนยุค Gen-X เป็นคนยุควัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พฤติกรรม ลักษณะนิสัยของคนประเภทกลุ่มนี้ก็ที่ชัด ๆ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ มีแนวคิดสร้างความสมดุลในเรื่องงาน และครอบครัว กล่าวคือ ทำงานตามหน้าที่ ไม่บ้างาน ไม่ทุ่มเทงาน ทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีลักษณะความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง สร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม หลายคนใน Gen-X นี้ มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม
          6. Generation Y หรือ Gen-Y หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Millennials” คนที่เกิดในช่วงนี้ คือคนช่วง พ.ศ. 2523-2540 คนในยุคนี้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเป็นสากล เปิดรับวัฒนธรรมแบบ Teen Pop มองว่าการชื่นชอบศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องปกติ มีเทคโนโลยีพกพา ลักษณะพฤติกรรมของคน Gen Y จะต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตัวเอง และต่อหน่วยงานอย่างไร คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูง คาดหวังคำชม แต่ไม่อดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อย ๆนอกจากนี้คน Gen X จะจัดสมดุลเวลาให้กับตัวเอง จะเห็นได้ว่าหลังเลิกงาน คนรุ่นนี้มักจะไปทำกิจกรรมให้ความสุขกับตัวเองเช่น ไปเล่นฟิตเนส  หรือว่าเสาร์-อาทิตย์ก็ไป Hangout พบปะเพื่อนฝูง Generation  
          7. Generation Z หรือ Gen-Z คือคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป เด็กรุ่นนี้เกิดมาจากพ่อแม่ยุค Gen-X นั้นเองเป็นคนรุ่นใหม่ค่ะที่เกิดมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้าน เรียนรู้รูปแบบการ ดำเนินชีวิตในสังคมแบบดิจิทัล ดำเนินชีวิตแบบมีการติดต่อสื่อสารไร้สาย และสื่อบันเทิงต่าง ๆ
          8. Gen-Z  คือกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ 8 เกิดจากคนกลุ่ม Baby Boommer หรือ Gen-X กลุ่ม Gen-Z มีพฤติกรรมเด่นชัดของคนกลุ่มนี้ก็คือ สังคมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ชอบเข้าไป Update ข้อมูล ติดตามเรื่องราวต่าง ๆ จากโลกไซเบอร์พร้อมจะแชร์ต่อทุกเมื่อ แต่ถึงอย่างไร คนกลุ่มนี้ก็จะโพสต์ด้วยความระมัดระวัง ส่วนมากจะโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของคนในแต่ละยุคก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไปทำให้พวกเราพอจะนำเสนอลักษณะนิสัยพื้นฐานของคนในยุคต่าง ๆ ให้นำเสนอให้สอดคล้องกันสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เราเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ในการบริหารคนในการปรับตัวกับตัวเราเองให้สามารถอยู่ร่วมกับคน Gen ต่าง ๆ ได้ รวมทั้งที่สำคัญ นำไปใช้ในการนำเสนอให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสารแต่ละครั้งด้วย






         
         


          
           
           
           







Visits: 5240

Comments

comments