
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร?
- มีเป้าหมายที่ชัดเจน
- มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า
- มีวินัย เคร่งครัด
- ทำงานอย่างหนัก
- มีแผนปฎิบัติการ (action plan) ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
ลองมาขยายความแต่ละข้อให้เข้าใจมากขึ้นกันนะคะ
- มีเป้าหมายชัดเจน หมายความว่า จะต้องมีวัตถุประสงค์ รวมถึงต้องมีวิธีการบรรลุวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรม มีทรัพยากรที่เหมาะสม มีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และจะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบปฏิบัติงาน
การมีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน จะต้องสามารถระบุได้ว่า
- งานที่รับผิดชอบทั้งปีมีอะไรบ้าง
- ระบุชัดเจนว่าเมื่อไหร่ต้องทำอะไร
- ตรวจสอบปฏิทินเป็นประจำว่าไม่มีส่วนใดตกหล่นหรือไม่เรียบร้อย
- เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานตามปฏิทินโดยเฉพาะจะต้องเตรียมทรัพยากรที่ใช้
- หากพบปัญหาอุปสรรค ต้องเร่งรัดแก้ไขโดยด่วน
- บันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นหลักฐานทุกวัน

การบริหารงานของภาครัฐในอดีตจะเน้นที่การบริหารปัจจัยนำเข้า (Inputs) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรต่าง ๆ ที่รัฐจะนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน คือ เงิน คน วัสดุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเน้นการทำงานตามกฏ ระเบียบ และความถูกต้องตามกฎหมาย และมาตรฐาน แต่การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ / งาน เป้าหมายที่ชัดเจน การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการของทุกโครงการในองค์การให้สอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกับภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการกำหนดตัวบ่งชี้วัดผลการทำงานหลัก (Key Performance Indicators – KPI) ไว้อย่างชัดเจน เป็นที่เข้าใจของทุกคนในองค์การ การวัดความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานโดยใช้ตัวบ่งชี้วัดดังกล่าว การยืดหยุ่นทางการบริหารและสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้บริหารระดับล่างอย่างเหมาะสม การประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้ค่าตอบแทนตามผลงาน ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น เพื่อให้สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในฐานะผู้รับบริการจากองค์กรของรัฐได้เป็นอย่างดี
การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหลักๆ ควรจะต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้
- ตรวจสอบทุกงานว่าจะต้องใช้เวลาทำเท่าไหร่
- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะทำงานให้สำเร็จ
- ตรวจสอบว่าจะทำให้การทำงานแต่ละกรณีรวดเร็วขึ้นได้อย่างไร
- บันทึกขั้นตอนการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ไว้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาต่อไป
- งานที่ไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้ปรึกษาหัวหน้าว่าควรจะทำอย่างไร
- งานที่ไม่สามารถทำได้ตามระเบียบ แต่ถ้าไม่ทำจะมีปัญหา ให้รายงานผู้บังคับบัญชาระดับสูง ห้ามตัดสินใจเองโดยพลการ

การกำกับงาน (Tracking)
- งานที่ปฏิบัติเอง ต้องตรวจสอบทุกวันว่าเป็นไปตามปฏิทินหรือไม่
- งานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ต้องกำกับทุกวัน ว่ามีความคืบหน้าหรือมีปัญหาอย่างไร
- ในการกำกับงาน หากพบว่ามีปัญหาให้แนะนำ วิธีแก้ไขแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทันที ถ้าอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ให้รายงานผู้บังคับบัญชารที่สูงขึ้นไป เพื่อขอคำแนะนำ
- งานที่เกี่ยวข้องกับผลการประชุม และการลงนามของกรรมการหากเร่งด่วนให้เสนอลงนามโดยตรง (Byhand)
- เมื่องานเสร็จให้สรุปเสมอว่ามีส่วนใดต้องปรับปรุง

Views: 60
