ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่นักวิจัยและนักวิชาการทุกคนควรต้องทำ เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยและนักวิชาการควรถือว่าเป็นหน้าที่ ซึ่งอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอใด้หลายวิธี คือ การพูดทางวิชาการ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ หรือด้วยการตีพิมพ์ เป็นต้น

การฝึกซ้อมกันนำเสนอ  เนื่องจากการนำเสนอการวิจัยจะเป็นเรื่องใหม่เสมอ ผู้วิจัยจึงต้องฝึกซ้อมก่อนนำเสนอทุกครั้งเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการดังนี้คือ

การเตรียมการนำเสนอ และการนำเสนอ

  1. วางแผนการนำเสนอ  – ทบทวนการวิจัย, หาข้อมูลผู้ฟัง, กำหนดเวลานำเสนอประมาณ 20-25 นาที และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. การเตรียมการพูด – การแนะนำตนเอง กล่าวแนะนาโครงการวิจัย ให้มีสาระเพียงพอที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า โครงการที่นำเสนอคือเรื่องอะไร เกี่ยวกับอะไร มีความสำคัญอย่างไรที่ทำให้นักวิจัยทำวิจัยเรื่องนี้ คำถามวิจัยที่ต้องการหาคำตอบคืออะไร นักวิจัยคาดหวังจะนำคำตอบหรือผลการวิจัยไปทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร
  3. เตรียมเนื้อหาของการนำเสนอ – เนื้อหาหลักของการนำเสนอ ซึ่งคือ วัตถุประสงค์, กรอบความคิด, รูปแบบการปฏิบัติ, กระบวนการวิจัยในการหาคำตอบ และ การจัดการข้อมูล
  4. เตรียมรายงานถึงสรุปผลการวิจัย – สรุปผลการวิจัยเป็นข้อความที่ตอบคำถามวิจัยข้อต่อข้ออย่างสอดคล้องชัดเจนโดยมีผลการวิเคราะห์เป็น หลักฐานของการลงข้อสรุป ข้อควรระวังคือ ต้องมีหลักฐานแสดงในเชิงประจักษ์
  5. เชิญชวนให้ผู้ฟังตั้งคำถาม
  6. มีการเตรียมสื่อการนำเสนอให้พร้อม

การประเมินเพื่อพัฒนาการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

อาจประเมินด้วยการสังเกต ในปฏิกิริยาของผู้ฟัง ควรออกแบบการประเมินที่จะได้สารสนเทศสนองต่อนักวิจัยที่จะนำไปพิจารณาปรับปรุงการนาเสนอครั้งต่อไป

ข้อพึงปฏิบัติการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ

ควรมีการวางแผนตามลำดับขั้นตอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา, มีการนำเสนอในแต่ละหัวข้อประมาณ 1-2 นาที, มีการฝึกฝนการพูดให้กระชับและตรงประเด็น, มีการวางแผนการใช้สื่อให้เหมาะกับสาระ, ปรับเนื้อหาให้ตรงประเด็น, ออกเสียงชัดเจน, พูดถึงเหตุผลการวิจัยที่ชัดเจน และควรเน้นนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ

ข้อไม่พึงปฏิบัติที่การนำเสนอที่ไม่มีประสิทธิภาพ

  1. การอ่าน อย่าอ่านเอกสารแทนการพูด ควรเตรียมการพูดก่อนการนำเสนอ
  2. อุปกรณ์ ควรมีการฝึกฝนนำเสนอในอุปกรณ์ที่ตนเองถนัด หรือฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่ว
  3. อุปกรณ์ ควรมีการฝึกนาเสนอในอุปกรณ์ที่ตนเองถนัด หรือฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่ว
  4. ความซับซ้อน อย่านาเสนอเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ควรแสดงเฉพาะส่วนที่เข้าใจได้ง่ายและได้สรุปตีความที่ตรงประเด็น
  5. สื่อ อย่าใช้สื่อหลายอย่างที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง รวมถึงลูกเล่นต่างๆ ใช้เท่าที่จำเป็น
  6. การพูด ไม่ควรใช้วาจายกตน ชมตนเอง หรือดูถูกผู้ฟัง
  7. เวลา อย่าใช้เวลาเกินกำหนด เพราะเป็นการแสดงถึงการไม่เตรียมพร้อมในการนำเสนอและไม่ให้เกียรติผู้ฟัง

การนำเสนอโดยการพูดทางวิชาการ

การเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการด้วยวาจา มีเวลาจากัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย

สาระด้านการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ รูปแบบเอกสาร/ผลงานวิจัยสาหรับการนำเสนอด้วยวาจา และแนวทางการเตรียมเอกสาร/ผลงานใช้ประกอบการเสนอผลงาน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2559) ดังนี้

รูปแบบของผลงานวิจัยสาหรับการเสนอด้วยวาจา

สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมในการนาเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา คือ

  • รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความยาว และรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกาหนดของการประชุมทางวิชาการ
  • สไลด์หรือ power point สาหรับใช้ประกอบการนาเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา และ/หรือ
  • สำเนาเอกสารของสไลด์หรือ power point ตามข้อ 2 ซึ่งจำนวนสไลด์ที่ใช้กันโดยมากประมาณ 6-8 แผ่น

 โดยทั่วไปสไลด์ผลงานวิจัยที่ใช้ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยวาจาควรประกอบด้วยสไลด์ 7 แผ่น ดังนี้

1) ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย

2) ปัญหาวิจัย และความสาคัญ/ประโยชน์ของผลงานวิจัย

3) ความเกี่ยวข้องระหว่างงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4) กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมุติฐานวิจัย

5)แบบแผนวิจัย ตัวแปร เครื่องมือวัดและคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

6) ผลการวิจัยที่สาคัญ

7) สรุปผลงานวิจัย

การนำเสนอด้วยโปสเตอร์

ลักษณะของโปสเตอร์ที่ดีต้องออกแบบให้ กระตุ้นความสนใจ ชวนดู องค์ประกอบเรียบง่าย โปสเตอร์เป็นสื่อประเภทไมมีการเคลื่อนไหว สาหรับการนำเสนอ ‘สาร’ ทำด้วยกระดาษแข็งหรือไม่ สาหรับ ติดตั้งขอเขียนสรุป/บทคัดย่อ ภาพ/แผนภูมิประกอบสารที่นำเสนอ มีขนาดประมาณ 1 X .50 ตารางเมตร การนำเสนอ ผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์แตกต่างจากการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ตรงที่การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยโปสเตอร์ นั้นนักวิจัยให้โปสเตอร์ทำหน้าที่บอกเรื่องราวของผลงานวิจัย นักวิจัยมีหน้าที่ต้องรออยูใกล้ๆ โปสเตอร์และคอยตอบคำถามหรือให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่ผู้ชม

รูปแบบโปสเตอร์ผลงานวิจัย

 1) ชื่อเรื่อง (title) ชื่อเรื่องงานวิจัย เป็นข้อความระบุวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย และบริบทของงานวิจัย ในกรณีงานวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นวลีสั้นๆ ที่ระบุวัตถุประสงค์หลักและประเด็นวิจัยหลัก โดยมีการเน้นคำสัมผัสได้ ในกรณีงานวิจัยเชิงคุณภาพ

2) บทคัดย่อ (Summary) บทคัดย่อ จะมีเนื้อหาสาระสรุปของงานวิจัย โดยมากนิยมเขียนเพียง 3 ประโยค คือ วัตถุประสงคการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย เพื่อใหผูอานเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเรื่อง

 3) บทนำและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Introduction and related literature) เป็นข้อความที่อธิบายถึงความเป็นมาของปัญหาวิจัยความสำคัญ ของงานวิจัย ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนักวิจัยสังเคราะห์สรุปสร้างเป็นกรอบแนวคิด และสมมุติฐานวิจัย ทั้งนี้นักวิจัยต้องพิจารณาคัดสรรเฉพาะส่วนสาคัญที่สุด ไปจัดทำโปสเตอร์ และออกแบบให้น่าสนใจด้วย

4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research methods) สาระสรุปเกี่ยวกับวิธีดำเนินการวิจัย กรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยสาระเรื่อง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและเครื่องมือวิจัย วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล กรณีการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วยสาระ เรื่อง การบรรยายสนาม (field) ที่ศึกษา การเลือกและลักษณะของกรณี (case) ที่ศึกษา ขอบข่ายของข้อมูล วิธีการ และเครื่องมือที่ใชในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

5) ผลการวิจัย (Research results) คือการเสนอสาระในส่วนของ สรุปผลการวิจัย การอภิปราย ผลการวิจัย รวมทั้งข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป

สิ่งที่ไม่ควรทำในการทำโปสเตอร์

1.       ใส่บทคัดย่อลงในโปสเตอร์

2.       ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หมด

3.       ให้ชื่อเรื่องยาวกว่า 10 คำ

4.       ใช้สีตัดกันมากกว่า 2-3 สี

5.       ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในโปสเตอร์

จะเห็นได้ว่า หากท่านมีความรู้ในเรื่องของเทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว ท่านก็จะสามารถดำเนินการนำเสนอผลงานวิชาการได้อย่างราบรื่น ไม่ขาดตกบกพร่อง อันจะนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพดีเยี่ยม และอาจได้รับรางวัลต่างๆ กลับมาให้ภาคภูมิใจด้วย

ที่มา https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:CU+CU016+2017/course/

เนื้อหาจากรายวิชาของ เทคนิคการนำเสนองานวิชาการ | Technical Academic Presentation พัฒนารายวิชาโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เจ้าของผลงาน จริยา รัตนพันธุ์

Hits: 23

Comments

comments