บรรณานุกรม หมายถึงรายละเอียดของแหล่งสารสนเทศที่ผู้เขียน ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลในการทำผลงานวิชาการและรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจ สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้
สำหรับหลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรมที่จะกล่าวถึงคือรูปแบบ APA ย่อมาจาก (American Psychological Association) ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
1.หนังสือทั่วไป
นําข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม
งานเดียว ผู้แต่งคนเดียว ผู้แต่ง 1 คน ชาวไทยให้ใส่ชื่อ และนามสกุลโดยไม่ต้องใส่คํา นําหน้าชื่อ ยกเว้นราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ให้นําไปใส่ท้ายชื่อ โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างชื่อกับราชทินนาม และฐานันดรศักดิ์ ส่วน สมณศักดิ์ให้คงรูปตามเดิม เช่น สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, ม.ล.
ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ใส่เชื่อสกุลก่อน แล้วตามด้วยชื่อต้นและชื่อกลาง ไม่ว่างานเขียนจะเป็นภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทย
ผู้แต่งใช้นามแฝง ให้ใส่นามแฝงนั้น ๆ
รูปแบบ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สถานที่พิมพ์:/ สํานักพิมพ์.
ตัวอย่าง
ศิวนาถ นันทพิชัย. (2553). การจัดการสารสนเทศและบริการ. นครศรีธรรมราช: หลักสูตรการจัดการ สำนักวิชา
สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
หมายเหตุ ชื่อเรื่อง ต้องเป็น ตัวเอียง หรือ ตัวหนา
งานเดียว ผู้แต่ง 2 คน
ให้ระบุชื่อผู้แต่งทั้งสองคน เอกสารภาษาไทย ใช้คําว่า “และ” เอกสาร ภาษาอังกฤษ ใช้เครื่องหมาย “&” เชื่อมระหว่างคนที่ 1 และ 2
งานเดียวผู้แต่ง 3-7 คน
ให้ลงชื่อผู้แต่งตามที่ปรากฏตั้งแต่คนที่ 1 ถึงคนที่ 7 โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับงานเขียนภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศ “&” นำหน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย แล้วคั่นทุกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
งานเดียวผู้แต่ง 8 คนขึ้นไป
ใส่ชื่อผู้เขียน 6 คนแรกใส่เครื่องหมายจุลภาคและจุด 3 จุด ,… แล้วใส่ชื่อผู้เขียนคนสุดท้าย
ผู้แต่งเป็นสถาบัน
ต้องระบุชื่อของสถาบันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนกับสถาบันอื่น ๆ ที่อาจมีชื่อคล้าย ๆ กัน ให้ระบุชื่อสถาบันตามที่ปรากฏ เช่น กรมการขนส่งทางบก
หน่วยงานของรัฐ ให้เริ่มต้นจากหน่วยงานใหญ่ไปหน่วยงานย่อย ระดับกรมก่อนเสมอ โดยเว้น 1 ระยะระหว่างหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ยกเว้นหน่วยงานที่มีผลงานเป็นที่รู้จักอาจลงจากหน่วยงานย่อยได้เลย เช่น กรมการข้าว กองวิจัยและพัฒนาข้าว
ปีที่พิมพ์
ให้ระบุเฉพาะตัวเลข ไม่ต้องระบุคำว่า พ.ศ. หรือ ค.ศ. ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เสมอถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (ม.ป.ป.) สำหรับภาษาไทย (n.d.) สำหรับภาษาต่างประเทศ (no date) ตัวอย่าง เช่น Baxter, C. (1997).
ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง
ให้เขียนตามที่ปรากฏในหน้าปกในของหนังสือ โดยให้พิมพ์เป็นตัวเอน หรือ ตัวหนา ชื่อเรื่องที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (capital letter) เฉพาะคำแรกของชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องรอง (หากมีมักปรากฏอยู่หลังเครื่องหมายทวิภาค (:) และชื่อเฉพาะ
ตัวอย่าง เช่น
การบริหารพัสดุ: ทฤษฎีและปฏิบัติ
Asian cropping systems research: Microeconomic evaluation procedures
ครั้งที่พิมพ์
ให้ใส่ครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป โดยระบุข้อความกำกับไว้ตามหลังชื่อเรื่อง โดยใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) และเว้น 1 ระยะจากชื่อเรื่อง ไม่ว่าชื่อเรื่องจะอยู่ในตำแหน่งใด หากเป็นภาษาต่างประเทศให้ระบุลำดับที่ของการนับตัวเลขด้วย
ตัวอย่าง เช่น
เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2).
Harry Potter (5th ed.).
(2nd ed.).
สถานที่พิมพ์
ให้ลงชื่อเมืองและรัฐซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน โดยใช้ชื่อเต็มเสมอ หากเป็นสำนักพิมพ์ที่อยู่นอกประเทสหรัฐ อเมริกา ให้ใส่ชื่อเมืองชื่อเต็มและตามด้วยชื่อประเทศเป็นชื่อเต็มเช่นกัน ยกเว้นชื่อเมืองหรือรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ใส่อักษรย่อ 2 ตัวที่ได้กำหนดไว้ โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย (,) และเว้น 1 ระยะหลังเครื่องหมายตามด้วยชื่อเมืองหรืออักษรย่อชื่อเมือง
ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ให้ใส่ [ม.ป.ท.] สำหรับภาษาไทย และ [n.p.] สำหรับภาษาต่างประเทศ (no place)
ตัวอย่าง เช่น
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
London, England: Academic
Auckland, New Zealand: Calico Publishing
Ottawa, Canada: International Development Research Center
San Diego, CA: Academic Press (CA ย่อมาจากรัฐ California)
สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์
ให้ระบุชื่อสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกในตามหลังชื่อเมืองหรืออักษรย่อชื่อเมือง โดยคั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค ( : ) หลังชื่อเมืองหรืออักษรย่อชื่อเมืองไม่ต้องเว้นระยะ แต่เว้น 1 ระยะหลังเครื่องหมายที่ตามด้วยชื่อสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์
ให้ใส่ชื่อสำนักพิมพ์รูปแบบสั้น ๆ ตัดคำว่าสำนักพิมพ์ บริษัท, ห้างหุ้นส่วน Publishers, Co., Inc. ออก แต่ยังคงคำว่า โรงพิมพ์, Books, Press และ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถ้าไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ ให่ใส่ [ม.ป.พ.] สำหรับภาษาไทย และ [n.p.] สำหรับภาษาต่างประเทศ (no pubisher)
ตัวอย่าง
กรุงเทพฯ: เออาร์บิซิเนสเพรส
San Diego, CA: Academic Press
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
2.วารสารและนิตยสาร
รูปแบบ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย
ตัวอย่าง
สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2545). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ: กรณีโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง.
วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 15(3), 23-37.
3.วารสารอิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบ
ชื่อผู้แต่ง./ (ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้า-เลขหน้า./URLของวารสาร หรือ /doi:xxxx
ตัวอย่าง
Chunhachinda, P. (2017). FinTech: Towards Thailand 4.0. Electronic Journal of Electronic Journal of
Open and Distance Innovative Learning, 7(1), 23-37. http://e-jodil.stou.ac.th/filejodil/14_0.pdf
4.บทความในหนังสือ
กรณีที่ต้องการอ้างอิงบางส่วนของหนังสือ หรือบทความที่เขียนไว้ในหนังสือประเภทหนังสือ รวมบทความ เอกสารประกอบการสัมมนา หรือหนังสือที่แบ่งออกเป็นบท ๆ โดยที่มีเนื้อหาไม่ต่อเนื่อง
รูปแบบ
ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏ
บทความจากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
Saowanee Chumdermphadejsuk. (1991). Acute asthma treatment in children.
In Somsak Lohlekha, Chaleerat Dilekwattanacha and Montree Tuchinda (Eds.), Clinical
immunology and allergy. (pp. 99-103). Bangkok: The Royal College of Pediatricians of Thailand &
Pediatric Society of Thailand.
5.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เป็นหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งฉบับพิมพ์เป็นรูปเล่ม และเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ลงรายการเช่นเดียวหนังสือ และเพิ่ม สืบค้นจาก URL หรือ เลข doi
doi เป็นตัวบ่งชี้เอกสารดิจิทัล ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขประจำเอกสารดิจิทัล คล้ายกับ ISBN
รูปแบบ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นจาก http://www.xxxx
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./doi:xxxxx
ตัวอย่าง
ศุภนิธิ ขำพรหมราช. (2563). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ./ สืบค้นจาก
https://drive.google.com/file/d/1MOCeI9RBIDFdhCvjzS8PWGc1IuDD0Ezv/view
6.สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งไม่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้ลงรายการเช่นเดียวกับบทความในวารสาร หากบทความนั้นมีหมายเลข doi ที่ปรากฏ ให้ระบุต่อจากรายละเอียดของบทความ หลังเครื่องหมายมหัพภาค (.) โดยเว้น 1 ระยะ และใช้คำย่อว่า doi ตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค ( : ) โดยไม่ต้องเว้นระยะ และตามด้วยหมายเลขที่ปรากฏโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) หลังหมายเลข doi
ตัวอย่าง
Roger, L. C. & Richard, L. H. (2010). Calcium-Permeable AMPA receptor dynamics mediate fear
memory erasure. Science, 330(6007), 108-112. doi:10.1126/science.1195298
7.ราชกิจจานุเบกษา
ระบุชื่อพระราชบัญญัติ และปีพิมพ์ ที่อ้างในเนื้อหา และหากค้นจากอินเทอร์เน็ต ใส่รูปแบบ โดยใช้คำว่า สืบค้นจาก URL ได้เลย
รูปแบบ
ชื่อพระราชบัญญัติ./(ปีพิมพ์,/วันที่/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เล่มที่/…..ตอนที่/…..หน้า…..
ตัวอย่าง
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2564, 3 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา.
เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 1-4. สืบค้นจาก https://www.wu.ac.th/th/news/19136
8.เว็บไซต์
รูปแบบ
ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นจาก หรือ Retrieved from URL http://www.xxxxxxxxxx
ตัวอย่าง
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2563). พฤติกรรมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/behavior
9.วิทยานิพนธ์
รูปแบบ
ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.(ระดับการศึกษา โท/เอก, มหาวิทยาลัย).
ตัวอย่าง
ปัทมา ป้อมเมือง. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของฝ่ายอบรมสัมมนา.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).
10.รูปภาพจากเว็บไซต์
รูปแบบ
ชื่อนาม-สกุล./(ปี)./ชื่อรูปภาพ/[ภาพ หรือ image]./สืบค้น หรือ Retrieved วัน/เดือน/ปี จาก หรือ
from/http://www.xxxxxxxxxx
ตัวอย่าง
สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA). (2021). โจ ไบเดน นำสหรัฐฯ กลับเข้าร่วมความ
ตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน. สืบค้นจาก https://thestandard.co/biden-
inauguration-us-rejoins-paris-climate-accord/
11.สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อประเภทต่าง ๆ เช่น YouTube videos, songs, podcast episodes, URLs, หรือสื่อประเภทอื่น ๆ ให้ระบุประเภทของของสื่อไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] เช่น [ออดิโอ พอดแคสต์] หรือ [Audio podcast]
รูปแบบ
ชื่อเจ้าของ (บทบาท เช่น ผู้จัด)./(ปี, เดือน วัน)./ชื่อเรื่อง [Audio podcast]./URL
ตัวอย่าง
ชาญณรงค์ ราชบัวน้อย. (2562, 15 มีนาคม). ศัพท์บัญญัติการศึกษา. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
Hits: 412
