วิหารคต หรือพระระเบียง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

วิหารคต หรือพระระเบียง ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภายในวิหารหรือระเบียงนี้ มีพระพุทธรูปปั้นเรียงเป็นระเบียบเป็นพระพุทธรูปนั่งเป็นแถวยาวตลอดทุกด้านของระเบียง จำนวน 173 องค์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ การที่มีพระพุทธรูปอยู่รอบด้านของพระบรมธาตุเจดีย์นี้เอง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระด้าน

Continue Readingวิหารคต หรือพระระเบียง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

วิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

วิหารเขียน พิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วย ทอง เงิน นาก สร้อย แหวน ตุ้มหู กำไล เข็มขัด พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เครื่องลายคราม ฯลฯ ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากร ได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนี้เป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ชื่อว่า “ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑสถาน”

Continue Readingวิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

ประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128

ประตูเยาวราช เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา

Continue Readingประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128

วัดโมคลาน : ที่นี่มีอะไร

วัดโมคลาน ตั้งอยู่ที่ ตั้งอยู่ ณ บ้านโมคลาน หมู่ที่ 12 ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จากหลักฐานที่พบทั้งเทวสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ สระน้ำโบราณ (สระน้ำปัจจุบันไม่มีแล้ว) ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายในแดนนี้มาก่อน ต่อมาด้วยอิทธิพลของพุทธศาสนาที่ได้เข้ามาแพร่หลายและรุ่งเรืองในแถบนี้ ทำให้ชุมขนโมคลานเปลี่ยนมารับนับถือพุทธศาสนาไปด้วย สันนิษฐานว่าในช่วงแรกน่าจะเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาทหรือลัทธิหินยาน ซึ่งกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในแถบนี้ หลังจากนั้นราวปี พ.ศ.…

Continue Readingวัดโมคลาน : ที่นี่มีอะไร

พระวิหารหลวง มรดกอันงดงามเคียงคู่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

พระวิหารหลวง พระวิหารหลวง เชื่อกันว่าสร้างในสมัยสุโขทัยพร้อมกับพระบรมธาตุ แต่ต่อมาได้ดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ และใช้ประกอบพิธีสักการะบูชาพระบมธาตุร่วมกัน และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมอย่างอุโบสถโดยทั่วไป เช่น กระทำอุโบสถของพระภิกษุสงฆ์ ประกอบพิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมืองและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ประกอบพิธีสมโภชพระบรมธาตุประจำทุกๆ ปี

Continue Readingพระวิหารหลวง มรดกอันงดงามเคียงคู่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช เป็นวัดที่มีประวัติยาวนาน ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างพระธาตุ นครศรีธรรมราช เป็นที่รวมของผู้คนที่เดินทางมาสักการะพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

Continue Readingวัดโคกธาตุ นครศรีธรรมราช

เจดีย์พระปัญญา : สถูปแห่งพระสารีบุตร

ภายในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร (วัดพระธาตุ) โดยเฉพาะในบริเวณวิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) นอกจากจะมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งตระหง่านอยู่โดดเด่นแล้ว ยังมีเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ถึง 158 องค์ และหนึ่งในจำนวนนี้มีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “เจดีย์พระปัญญา” หรือ “พระปัญญา” รวมอยู่ด้วย

Continue Readingเจดีย์พระปัญญา : สถูปแห่งพระสารีบุตร

วิหารพระทรงม้า : วิหารแห่งประติมากรรม “มหาภิเนษกรมณ์”

วิหารพระทรงม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิหารพระม้า หรือ วิหารพระทรงม้า หรือ วิหารพระมหาเภิเนษกรม อันเป็นชื่อเรียกทางราชการ แต่ชาวนครนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วิหารพระม้า ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะว่าภายในวิหารนี้ มีปูนปั้นเป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์ทรงม้าเสด็จออกบรรพชา อยู่ที่ฝาผนังจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า วิหารพระม้า (วิเชียร ณ นคร และคณะ, 2521, น. 450) ดังนั้น จึงถือว่าวิหารพระทรงม้า…

Continue Readingวิหารพระทรงม้า : วิหารแห่งประติมากรรม “มหาภิเนษกรมณ์”

เจดีย์ยักษ์

เจดีย์ยักษ์นี้ตั้งอยู่ระหว่างที่ทำการเทศบาลนครนครศรีธรรมราชและวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ด้านหน้าเป็นถนนราชดำเนิน บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเงิน” หรือ “วัดเสมาเงิน แต่ไม่ได้ยินชื่อวัด “เจดีย์ยักษ์” ซึ่งอาจจะเป็นคติความเชื่อสมัยโบราณว่าการสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ๆ จะแยกออกมาจากวัด

Continue Readingเจดีย์ยักษ์

เจดีย์หกหว้า : เครื่องหมายแทนความกตัญญู ความเชื่อ และความศรัทธาที่ผูกพันอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เจดีย์หกหว้าหรือเจดีย์ดำ เป็นเจดีย์หินแบบจีน มีความเชื่อกันว่าเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานไว้ที่หน้าเจดีย์หกหว้านี้

Continue Readingเจดีย์หกหว้า : เครื่องหมายแทนความกตัญญู ความเชื่อ และความศรัทธาที่ผูกพันอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

No more posts to load