Documentary เขียนสารคดี เขียนสาระอะไรดี?

เรียนอะไร THAIPBS004 การทำสารคดีในแบบสื่อสาธารณะ  Making Documentary for Public Media

เพื่อ เขียน OER / เขียน Blog /ลำดับขั้น-เขียนคู่มือ ปฏิบัติงานประจำ

ได้อะไร

  • รู้ความหมายของสารคดี และประเภทของสารคดี
  • การเขียนสารคดี
  • นำมาประยุกต์ใช้การเขียนบทความ OER / Blog / คู่มือปฏิบัติงาน

สารคดี คือ การนำเสนอชุดข้อมูลที่เป็นความจริงที่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในอดีต สารคดีที่เป็นความจริง ต้องเป็นความจริงในเชิงประจักษ์ หมายถึง เป็นชุดข้อมูลที่มีการพิสูจน์แล้ว ได้รับการทดสอบแล้วว่าเป็นความจริงที่เกิดขึ้น

หลักสำคัญของสารคดี

  • การหาข้อมูล ข้อมูลที่จะนำมาเป็นเนื้อหา สำคัญมากในการทำสารคดี ต้องมีการศึกษาค้นคว้า หรือทำวิจัย
  • ความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity การเล่าเรื่องที่ดี / การทำ Story telling ที่ดี
  • งานผลิต (Production) การออกแบบวิธีเล่าเรื่อง ออกแบบการนำเสนอ การถ่ายทำ การตัดต่อ การทำ Post Production ต่าง ๆ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์

ประเภทของสารคดี

  • สารคดีความรู้ (General Feature) การบอกเล่าเชิงข้อมูล
  • สารคดีเชิงข่าว (News Documentary) ถ่ายทอดออกมาจากความจริง เนื้อหาต้องเป็นความจริง
  • สารคดีเชิงวิเคราะห์ (Documentary) นำเสนอข้อมูลเชิงลึก
  • สารคดีท่องเที่ยว (Touring Feature) พาผู้ชมไปสู่การเรียนรู้เรื่องราวในพื้นที่ต่าง ๆ
  • สารคดีเชิงนิเวศ (Eco-documentary) เล่าเรื่องหลัก ๆ เลยคือธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม
  • สารคดีประเภทชีวประวัติ (Biography) เล่าเรื่องราวของบุคคล
  • สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ (Special Occasion Feature) สามารถผลิตได้ในทุกโอกาสที่เป็นพิเศษ

รูปแบบของสารคดี

  • สารคดีแบบบรรยาย
  • สารคดีแบบเล่าเรื่อง
  • สารคดีแบบสัมภาษณ์
  • สารคดีแบบละคร
  • สารคดีใช้แอนิเมชันเข้ามาผสม
  • สารคดีแบบผสมผสาน คือ มีทั้งการเล่าเรื่อง มีทั้งการบรรยาย บทสัมภาษณ์เอามาใส่ได้ด้วย

คำถามที่ต้องตอบก่อนเริ่มทำสารคดี

  • วัตถุประสงค์ของการทำสารคดี เราทำสารคดีเรื่องนี้ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายอะไร วางเป้าหมายให้ชัด
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ชมสารคดีชุดนี้ ทำให้ใครดู
  • ดูจบแล้วได้อะไร สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องได้รับ

หัวข้อ/เนื้อหา

  • เรื่องที่น่าสนใจ
  • อยู่ในความสนใจของสังคม
  • ไม่เคยมีใครทํามาก่อน
  • ไม่มีในที่อื่น ๆ
  • เรื่องเก่าประเด็นใหม่
  • เรื่องที่ส่งผลกระทบตอสังคม
  • เป็นเรื่องที่สร้างสรรค์

เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี

  • ต้องมีประโยชน์ เป็นความรู้
  • เขียนให้อ่านเพลิน มีอรรถรส
  • เขียนสารคดี ต้องยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก

หลักการเขียนสารคดี

  • ชื่อเรื่อง เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
  • ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ไม่ยาวมาก ใช้เวลาอ่านไม่นาน

ขั้นตอนการเขียนสารคดี

  • ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เริ่มต้นที่เก็บข้อมูลที่เป็นบทความ เอกสาร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน เตรียมความรู้ ความพร้อมก่อนที่จะออกไปหาข้อมูลจากสถานที่จริง ตัวบุคคลจริง
  • ทำโครงเรื่อง แล้วเขียน บทนำคือเปิดเรื่องให้น่าสนใจ ดึงผู้อ่านให้อ่านในส่วนต่อไปได้ เนื้อเรื่อง ข้อมูล ข้อเท็จจริงเรียบเรียง เขียนให้อ่านง่าย อ่านเพลิน (ส่วนนี้ใช้ประสบการณ์ กลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ส่วนตัวล้วน ๆ) บทสรุปหรือปิดเรื่อง ตามที่ถนัด
  • อ่านทวน 2-3 รอบ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด

ขั้นตอนการปฏิบัติงานผลิตสารคดี

  1. ขั้นเตรียมการผลิต
    • ประชุมวางแผนการผลิตสารคดีเพื่อกําหนดรูปแบบและเนื้อหา และการนําเสนอสารคดี
    • เขียนบท หาข้อมูล จับประเด็น วางโครงเรื่อง เขียนบท
  2. ขั้นถ่ายทำ กำกับ ถ่ายทำ บันทึกภาพ
  3. ขั้นหลังถ่ายทำ คัดเลือกภาพ ตัดต่อ ปรับปรุงแก้ไขก่อนเผยแพร่

การเขียนสารคดี คืองานเขียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เป็นข้อเท็จจริง ดังนั้นคุณค่าของสารคดี คือ ให้ทั้งสาระ ความรู้ และขณะเดียวกันก็ตองอ่านเพลิน มีอรรถรส อารมณ์ ความรู้สึก

  • การเขียนสารคดีจึงเป็นงานที่ท้าทาย ผู้เขียนต้องมีกลวิธีที่ทำให้สารคดีอ่านเพลิน อ่านง่าย พร้อมกับมีสาระ ความรู้ ข้อเท็จริง
  • สารคดีต้องมีข้อมูลรอบด้านและลึก มีมองมุมใหม่ ผู้เขียนต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ และมีการออกไปสัมผัสกับข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง
  • ข้อควรระวังในการเขียนสารคดี คือ ความเป็นกลาง ไม่ระบายสี ตัดสินผู้คน ให้จำไว้ว่าเขียนเพื่อนำเสนอข้อมูล การใช้วิจารณญาณในการตัดสินเป็นหน้าที่ของผู้อ่าน
  • คุณสมบัติของนักเขียนสารคดี ที่สำคัญคือ ใฝ่รู้ ช่างสังเกต ช่างคิด ละเอียด มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษย์สัมพันธ์ สื่อสารได้ดี ปรับตัวได้ง่าย มีพลัง ตั้งใจจริง เป็นกลางและไม่ตัดสินคน

ที่มา: THAIPBS004

Visits: 6214

Comments

comments

Back To Top