3 ขั้นตอนผลิตหนังสั้น

กระบวนการผลิตหนังสั้น (Short Film Production)  ใช้หลักการ 3P ใน ดังนี้

1. การเตรียมงานก่อนการผลิต (Pre-Production)

ขอบคุณภาพจาก:http://www.shellhutentertainment.com/love-and-lies/

เป็นการวางแผนการวางโครงเรื่องให้กับงานที่กำลังจะถ่ายทำทั้งหมด การถ่ายทำจะดำเนินไปด้วยดี งานออกมาเรียบร้อยโดยกิจกรรมก่อนการถ่ายทำ มีดังต่อไปนี้

  • การจัดหาเรื่องราวและเขียนบทเป็นการนำเอาเรื่องราวประเด็นหรือเนื้อหาที่น่าสนใจมาผูกเป็นเรื่องราวแล้ว พัฒนาจนเป็นบทหนัง
  • การเลือกผู้กำกับ ทีมงาน และนักแสดง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีผู้อำนวยการผลิตเป็นผู้คัดเลือกผู้กำกับที่เหมาะสมกับแนวทางของหนัง และร่วมกันจัดหา ทีมงานแต่ละฝ่ายที่มีความสามารถในด้านนั้น ๆ และทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างดี รวมทั้งคัดเลือกนักแสดงหลักของเรื่องที่มีความเหมาะสมและสามารถแสดงได้อย่างสมบทบาท
  • การกำหนดงบประมาณในการถ่ายทำ เป็นการประมาณวงเงินที่ใช้จ่ายในการถ่ายทำเพื่อให้การบริหาร การเงิน เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และราบรื่น
  • การจัดเอกสารการถ่ายทำโดยการวิเคราะห์บทและแยกย่อยออกเป็นเบรกดาวน์ (Breakdown Sheet) คือ เอกสารที่แตกรายละเอียดการถ่ายทำของแต่ละฉาก/ซีน เช่น เลขซีน เรื่องย่อของซีน เวลาการถ่ายทำ สถานที่ นักแสดงและตัวประกอบที่เข้าฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นต้น หรือเอกสารสรุปอย่าง Scene lists, Set lists, Cast listsเพื่อสะดวกในการแสดงให้เห็นภาพรวมแต่ละองค์ประกอบในการถ่ายท าของหนังทั้งเรื่องซึ่งเอกสารเหล่านี้ จะใช้ในการเตรียมงานร่วมกันของแต่ละฝ่ายให้เข้าใจได้ตรงกันถือเป็นแผนผังของการถ่ายท านั่นเองและยังช่วยในการ บริหารจัดการเรื่องเวลาและงบประมาณในการถ่ายทำ
  • การจัดหาสถานที่ที่สอดคล้องกับที่บทหนัง ซึ่งอาจจะมีความเหมาะสมอยู่แล้วหรือต้องมีการดัดแปลงหรือตกแต่งสถานที่ให้มีบรรยากาศตามบทที่เขียนไว้ รวมทั้งการเตรียมเสื้อผ้า หรืออุปกรณ์ประกอบฉากให้เหมาะสมหรือสื่อความหมายตามเรื่องราวในฉากนั้น ๆ
  • การจัดหาและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการถ่ายทำให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ เช่น กล้อง เลนส์ การ์ด อุปกรณ์ เสียง แสง ฯลฯ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการถ่ายทำ เช่น ยานพาหนะ ร่ม พัดลม อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น เพื่อเตรียมการในวันถ่ายจริง
  • การ workshop การแสดง เป็นการให้นักแสดงอ่านและทำความเข้าใจกับบทบาทที่ได้รับแล้วจึงซักซ้อม การ Fitting คือ ให้นักแสดงลองสวมชุดที่จะใช้ในการถ่ายท าเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและให้ทีมเสื้อผ้าปรับปรุงแก้ไข

2) การปฏิบัติงานระหว่างการผลิต (Production)

ขอบคุณภาพจากhttp://moviediy.net/home/2017/directing

หรือขั้นตอนการถ่ายท า คือการถ่ายท าเพื่อให้ได้ภาพ และเสียงตามบทที่เขียนไว้โดยในขั้นตอนนี้อยู่ในความรับผิดชอบชอบผู้ก ากับที่ต้อง บริหารงานในการถ่ายท างานที่ออกมาต้องมีความงดงาม มีดังนี้

– การประชุมทีมงาน เป็นการซักซ้อมความเข้าใจในการด าเนินงานของแต่ทีมและตรวจสอบความพร้อมก่อนที่ จะยก กองถ่ายท าออกไปปฏิบัติงาน

– การออกกองถ่าย เป็นการปฏิบัติงานถ่ายท าในสถานที่จริงตามแผนที่ก าหนด ก่อนการถ่ายท าเพื่อร่วมกัน Block shot ก าหนดว่าตรงไหนจะถ่ายอะไรอย่างไรล าดับการถ่ายควรเป็นอย่างไร

– การดำเนินการถ่ายท า เป็นการลงมือถ่ายท าภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ก ากับเพื่อให้ได้ภาพและเสียงในแต่ ละฉากตามแผนที่วางไว้

3. การดำเนินงานหลังการผลิต (Post-Production)

ขอบคุณภาพจาก:https://sites.google.com/site/spaamornchai/


การตัดต่อซึ่งถือเป็นหัวใจส าคัญของกระบวนการผลิตหนังสั้นที่จะท า ให้ภาพและเสียงที่ถ่ายท ามากลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจขั้นตอนหลังการถ่ายท า ดังนี้

เช็คภาพหรือฟุตเทจ (Footage) ทั้งหมดรวมทั้งเสียงที่บันทึกว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่หาก

เริ่มตัดต่อโดยการตัดเรียงไปตามการด าเนินเรื่องของบทหนัง วางเสียงบรรยากาศ ท าเสียงประกอบรวมทั้ง ใส่ CG หรือคอมพิวเตอร์กราฟิก

– หลังจากได้ไฟล์หนังต้นฉบับแล้ว ผู้ก ากับ ผู้อำนวยการผลิต และทีมงานหลัก ร่วมกันพิจารณ และให้ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพดีที่สุดก่อนจะน าไปฉายหรือเผยแพร่โดย

 ก่อนการฉายหรือเผยแพร่ควรมีการประชาสัมพันธ์โดยโปสเตอร์หรือตัวอย่างหนัง (Teaser คือ ตัวอย่างหนังสั้นๆ ที่ไมจำเป็นต้องใช้ภาพจากฉากในหนัง หรืออาจถ่ายขึ้นมาใหม่เพื่อเป็น Teaser โดยเฉพาะ / Trailer คือ ตัวอย่างหนังที่นำภาพในหนังมาตัดต่อให้น่าสนใจและยาวกว่า Teaser) เพื่อให้กลุ่มเป่าหมายเกิดความสนใจและรอติดตามชม

ที่มา: รายวิชา KMITL010 การผลิตหนังสั้น   สอนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกร สงคราม Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Visits: 1701

Comments

comments

Back To Top