ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ใช้ Social media ในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าสังคมในปัจจุบันอาจด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง จึงทำให้บางครั้งผู้คนอาจละเลยหรือเพิกเฉยในการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องต่อกัน จึงมองว่าควรมีการเรียนรู้แนวทางในการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้ได้อย่างถูกต้องตามที่สังคมยอมรับกันเพื่อความเรียบร้อยของสังคมค่ะ
มาเรียนรู้ “จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์” กันค่ะ
เพื่อจะได้นำความรู้ไปเป็นแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีศีลธรรม ใน 4 ประเด็นหลัก คือ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และ การเข้าถึงข้อมูล
มาเรียนรู้กันเลยค่ะ
จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์
จรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีศีลธรรม มีความรู้สึกับผิดชอบชั่วดี หรือใช้งานในสิ่งที่บุคคลในสังคมยอมรับกัน โดยในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
- ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่าง ๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อน่าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็น
- ทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์
- ทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น โดยทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้กฎหมาย – ความลับทางการค้า (Trade secret) ลิขสิทธิ์ (Copyright) และ สิทธิบัตร (Patent)
ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้รับความคุ้มครองภายใต้ลิขสิทธิ์ (license)
- Copyright หรือ SW license ซื้อลิขสิทธิ์มาและมีสิทธิใช้
- Shareware ให้ทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
- Free ware ใช้งานได้ฟรี copy และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ เช่น
โปรแกรม VLC Media Player ดูหนัง ฟังเพลง
โปรแกรม Photoscape แต่งรูปให้สวยเฉียบ ง่าย ๆ
OpenOffice.org Office ฟรี ๆ บนเครื่องทำงาน
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น
จรรยาบรรณการใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ ข้อกำหนดที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต พึงกระทำ
- ผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ตั้งมั่นอยู่บน กฎหมายบ้านเมือง
- ไม่นำผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ในกรณีที่ต้องนำมาใช้งานต้องอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
- พึงระลึกเสมอว่าสิ่งที่นำเสนอบนอินเทอร์เน็ต อาจจะมีเด็กหรือผู้ที่ขาดประสบการณ์เข้ามาดูได้ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลควรที่จะเป็นไปในทางที่ดี มีคุณธรรม
- ไม่ควรใส่ร้ายป้ายสี หรือสิ่งอื่นสิ่งใดอันจะทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้
- การใช้คำพูดควรคำนึงถึงบุคคลอื่น ๆ ที่อาจจะเข้ามาสืบค้นข้อมูลที่มีหลากหลาย จึงควรใช้คำที่สุภาพ
- ไม่ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อี่นให้หลงผิด หลงเชื่อในทางที่ผิด
- พึงระลึกเสมอว่า การกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตสามารถที่จะติดตามหาบุคคลที่กระทำได้โดยง่าย
- การกระทำความผิดทางอินเทอร์เน็ต บางกรณีเป็นอาชญากรรม ที่มีความผิดทางกฎหมาย
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
- ต้องไม่รบกวน สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
- ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
- ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
- ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
- ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
- ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
จะเห็นได้ว่าเรื่องของจรรยาบรรณการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ นั้นมีความสำคัญมาก เราจึงจำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ไว้เพื่อป้องกันทั้งตนเองไม่ให้กระทำผิด และ เพื่อป้องกันผู้อื่นไม่ให้มาละเมิดสิทธิ์ที่เป็นของเราด้วยค่ะ
ที่มา https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:NU+NU014+2018/course/
เนื้อหาจากรายวิชา ของ NU : NU014 การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ | Creative Use of social media
เจ้าของผลงาน จริยา รัตนพันธุ์
Hits: 528
