พยากรณ์อากาศจากภูมิปัญญาสู่ Application

ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้คนในเกือบทุกระดับ โดยเฉพาะเจ้า Smart Phone ที่เราพกติดตัวกันอยู่นั้น สามารถใช้ตรวจสอบสภาพภูมิอากาศเพื่อวางแผนล่วงหน้าในการทำงาน เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมต่างได้โดยผ่านแอพพลิเคชั่น ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันค่อนข้างมีความแม่นยำสูง เช่น Thai weather, AccuWeather, Yahoo Weather, Weather Underground: Forecasts, Weather Live, Windy ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลา

แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าก่อนที่จะมีเทคโนโลยีเหล่านั้น ผู้คนในสมัยก่อนสามารถพยากรณ์สภาพดินฟ้าอากาศได้อย่างไร ในวันที่ 23 มีนาคม วันอุตุนิยมวิทยาโลก World Meteorological Organization นี้ จึงขอนำเสนอตัวอย่างการพยากรณ์อากาศแบบภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อเป็นเกร็ดความรู้รอบตัว และไว้ใช้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีครับ

  • สังเกตุไข่หอยโข่ง ในปัจจุบันจะเป็นไข่หอยเชอรี่ โดยธรรมชาติแล้วหอยโข่งหรือหอยเชอรี่จะไม่ไข่ต่ำกว่าระดับน้ำที่ท่วม
  • มดอพยพขนไข่เดินเรียงเป็นแถวขึ้นที่สูง เป็นเป็นสัญญาณบอกว่าฝนจะตกหนักจนถึงน้ำท่วมขัง
  • ใยยอง (เป็นเส้นใยของพืชบางชนิด) ลอยมาบนท้องฟ้า เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าน้ำกำลังจะท่วม
  • คางคกร้อง เป็นสัญาณบอกว่าฝนกำลังจะตกในไม่ช้า
  • น้ำพอง หรือน้ำเอิบเต็มตลิ่ง ให้เตรียมเก็บข้าวของขึ้นที่สูง เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าน้ำกำลังจะท่วม
  • ปีใดที่ต้นมะขามออกดอกมาก ปีนั้นข้าวจะปลูกไม่ได้ผล น้ำท่าจะไม่ดี
  • ดอกชุมเห็ดบาน เป็นสัญญาณหมดหน้าฝน ย่างเข้าหน้าแล้ง
  • ฟ้าร้องฟ้าลั่นติดต่อเป็นเวลาหลายวัน เป็นสัญญาณย่างเข้าหน้าฝน
  • ปลาขึ้นหายใจ หรือขึ้นจิบน้ำแรงๆ ไม่นานฝนก็จะตก
  • ในท้องทะเลคลื่นลมเงียบสงัด เป็นสัญญาณบ่งบอกก่อนพายุจะเข้า

แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ธรรมชาติได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้สภาวะต่างๆของโลกขาดสมดุลและเปลี่ยนแปลงไป การใช้ภูมิปัญญาในการคาดการณ์ต่างๆจึงทำได้ยากลำบากขึ้น กระทั่งต้นไม้และสัตว์นานาชนิดเองยังไม่สามารถปรับตัวได้จนนำมาซึ่งการสูญพันธ์ หวังว่าบทนี้จะเป็นเกร็ดความรู้ และกระตุ้นเตือนให้ร่วมกันรักษ์โลกใบนี้ยิ่งๆขึ้นไปครับ

Visits: 59

Comments

comments

Back To Top