ขนำ : วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของภาคใต้
ขนำ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงกระท่อม หรือที่เพิ่งพัก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยครั้งคราวของชาวสวน ชาวนา ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวหรือเฝ้าระวังพืชผลในสวน หรือเฝ้าอาหารทะเลที่อยู่กลางทะเล
ขนำ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงกระท่อม หรือที่เพิ่งพัก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยครั้งคราวของชาวสวน ชาวนา ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวหรือเฝ้าระวังพืชผลในสวน หรือเฝ้าอาหารทะเลที่อยู่กลางทะเล
ศาลพระเสื้อเมือง เป็นศาลสำหรับบูชาเทพเจ้าผู้ทำหน้าที่รักษาเมือง เรียกว่าพระเสื้อเมือง สันนิษฐานว่าตัวอาคารเดิมเป็นไม้ทั้งหลังภายในมีหอเล็ก ประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้า (พระเสื้อเมือง) จำนวน 2 องค์ลักษณะคล้ายกับท้าวกุเวรราชในวิหารม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมามีผู้บูรณะเทวรูปั้น 2 องค์นี้และลงรักปิดทอง ทำหน้าที่ป้องกันภัยอันตราย รักษากำลังไพร่พล และให้ความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ประชาชนและบ้านเมือง ตามคติโบราณ เมื่อใดที่มีการตั้งบ้านเมืองก็มักจะสร้างศาลไว้ให้เทพารักษ์ผู้รักษาบ้านเมืองด้วย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช,…
เรินไม้ใต้ถุนสูง หลังคาสูง ภาคใต้อยู่ในเขตร้อนชื้นมีมรสุมฝนตกเกือบทั้งปี เริน ต้องมั่นคงแข็งแรง ระบายอากาศและป้องกันท่วมได้
ประวัติ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ เป็นเรือนปั้นหยายกพื้น หลังคาสูง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 โดยนายเขียน มาลยานนท์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์" นายอำเภอเมืองกลาย ภายหลังได้ยกที่ดินและบ้านหลังนี้ให้แก่นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ (หลาน) เมื่อปี พ.ศ. 2482 ซึ่งต่อมาได้ใช้บ้านและที่ดินเปิดเป็นโรงเรียนรัฐวุฒิวิทยาและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนครวิทยา…
ประวัติศาสตร์ชุมชน ชุมชนท่าวังเริ่มตั้งชุมชนบริเวณริมคลองท่าวัง หรือคลองท่าซักเป็นเส้นทางคมนาคมหลักทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนไปสู่ทะเลอ่าวไทยที่ปากแม่น้ำปากพญา ซึ่งเป็นอ่าวสําหรับพักเรือสําเภา ทําให้ชุมชนท่าวังเป็นย่านการค้าที่สําคัญ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเมืองเก่านครศรีธรรมราชในอดีตเคยเป็นวังของ “เจ้าหญิงปรางหรือหม่อมปราง” เนื่องจากบริเวณหน้าวังของหม่อมปรางเป็นท่าเรือ มีเรือสําเภาในและต่างประเทศมาจอดเรียงรายนับแต่ท่าหน้าวังของอุปราชพัด (ยศขณะนั้น) ปัจจุบันคือวัดท่าโพธิ์มาจนถึงท่าหน้าวังของหม่อมปรางซึ่งปัจจุบันคือช่วงสะพานราเมศวร์จึงได้ชื่อบริเวณนี้ว่า “ท่าวัง” (Upparamai, 1983) ขอบคุณภาพจาก เมืองคอน www.gotonakhon.com…
กำแพงเมือง สถานท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราช ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นกำแพงที่บูรณะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยวิศวกรฝรั่งเศส เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) ออกแบบการสร้างแบบ ชาโต (Chateau) เป็นกำแพงก่ออิฐทับบนคันดินเดิม มีใบเสมาบนกำแพงเพื่อบังทางปืน หลังใบเสมาเป็นเชิงเทิน มีทางเดินบนกำแพง มีป้อม
ประตูเยาวราช เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา
วิหารสามจอม วิหารหลังเล็กอีกหลังซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตพุทธาวาส ใกล้กับวิหารพระแอด และวิหารพระด้าน (วิหารคด) แม้จะสร้างขึ้นหลังวิหารอื่น ๆ แต่ก็เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง ในฐานะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช”
วิหารธรรมศาลา เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในวิหารหลังนี้
วิหารโพธิ์ลังกา เป็นวิหารประดิษฐานสิ่งสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของวัดในพระพุทธศาสนาอยู่สองอย่าง คือพระพุทธรูปและต้นโพธิ์ ซึ่งมาจากศรีลังกาปลูกมานับร้อยปี เรียกอีกชื่อหนึ่ง “วิหารโพธิฆระ” หรือ “วิหารโพธิมณเฑียร” ทางทิศตะวันตกมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว 6 วา (12 เมตร) ประดิษฐานอยู่ จึงเป็นสัญลักษณ์สะท้อนคตินิยมของชาวพุทธในศรีลังกาที่ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชรับมา