เพลงบอกเมืองนครศรีธรรมราช : การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ

เพลงบอกเมืองนครศรีธรรมราช : การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ ความเป็นมา เพลงบอก เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ประเภทหนึ่ง บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง ได้แก่ จังหวัด จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา ซึ่งนิยมเล่นกันแพร่หลายที่สุดในวันสงกรานต์ เพื่อเป็นการป่าวประกาศให้ชาวบ้านได้รู้โดยทั่วกันว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว หรือใช้เป็นการบอกเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกงานบุญกุศล…

Continue Readingเพลงบอกเมืองนครศรีธรรมราช : การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ

วัดราษฎร์บำรุง (วัดใต้-คุดด้วน) พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

วัดราษฎร์บำรุง(วัดใต้) อดีต คือ วัดคุดด้วน ปรากฎหลักฐานเป็นเจดีย์คู่สันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยท่านสมภารอินทร์ สมภารจันทร์ สาเหตุที่ได้ชื่อว่าวัดคุดด้วน เพราะสมัยก่อน มีต้นมังคุดขนาด 3 คนโอบต้นหนึ่งไม่มียอด ซึ่งต้นไม้ไม่มียอด ภาษาใต้ท้องถิ่น จะเรียกโด้ด้วน ต้นมังคุดโด้ด้วน เป็นเอกลักษณ์ของวัดเลยตั้งชื่อว่า วัดคุดด้วน

Continue Readingวัดราษฎร์บำรุง (วัดใต้-คุดด้วน) พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

อนุสาวรีย์แม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาว) ผู้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความใจบุญมีกุศลในการบำรุงพระศาสนา

พระนางเลือดขาวแม่เจ้าอยู่หัว หรือแม่เจ้าอยู่หัวพระนางเลือดขาว หมายถึงผู้อยู่ในฐานะพระมเหสีเอกของพระเจ้าอยู่หัว พระนางมีนิสัยโอบอ้อมอารีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นที่รักของบุคคลโดยทั่วไปตั้งแต่เยาว์วัย ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งอัครมเหสี พระนางทรงทำนุบำรุงศาสนาโดยการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช (เมืองตามพรลิงค์) และเมืองใกล้เคียงประมาณปี พ.ศ. 1790

Continue Readingอนุสาวรีย์แม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาว) ผู้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความใจบุญมีกุศลในการบำรุงพระศาสนา
ขุนพันธรักษ์ราชเดช : มือปราบจอมขมังเวทย์แห่งเมืองคอน
ขุนพันธรักษ์ราชเดช

ขุนพันธรักษ์ราชเดช : มือปราบจอมขมังเวทย์แห่งเมืองคอน

ขุนพันธ์ นายตำรวจแห่งเมืองคอน วีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงที่เหล่าบรรดาขุนโจรชื่อดังทั้งหลายในอดีตเกรงขาม มือปราบจอมขมังเวทย์จาก "สำนักเขาอ้อ"

Continue Readingขุนพันธรักษ์ราชเดช : มือปราบจอมขมังเวทย์แห่งเมืองคอน

พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร : ผู้นำพระบรมสารีริกธาตุสู่ดินแดนนครศรีธรรมราช

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้เสด็จมาพบพระทันตธาตุ กับพระบรมสารีริกธาตุที่หาดทรายแก้ว จึงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นอย่างใหญ่โต อัญเชิญพระทันตธาตุและพระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนานบรรจุไว้ภายในพระมหาเจดีย์แห่งนั้น ซึ่งก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช

Continue Readingพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร : ผู้นำพระบรมสารีริกธาตุสู่ดินแดนนครศรีธรรมราช

วิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

วิหารเขียน พิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วย ทอง เงิน นาก สร้อย แหวน ตุ้มหู กำไล เข็มขัด พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เครื่องลายคราม ฯลฯ ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากร ได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนี้เป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ชื่อว่า “ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑสถาน”

Continue Readingวิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

อนุสาวรีย์วีรไทย (พ่อจ่าดำ) อนุสรณ์สถานแห่งความกล้าหาญของทหารไทย

อนุสาวรีย์วีรไทย หรือที่มีชื่อเต็มว่า “อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ.2484” และ อีกชื่อหนึ่งที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า “พ่อจ่าดำ หรือ เจ้าพ่อดำ” ตั้งอยู่ภายในใจกลางของค่ายวชิราวุธอันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 เป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญของทหารไทย ที่ต่อต้านการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484

Continue Readingอนุสาวรีย์วีรไทย (พ่อจ่าดำ) อนุสรณ์สถานแห่งความกล้าหาญของทหารไทย

เจดีย์หกหว้า : เครื่องหมายแทนความกตัญญู ความเชื่อ และความศรัทธาที่ผูกพันอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เจดีย์หกหว้าหรือเจดีย์ดำ เป็นเจดีย์หินแบบจีน มีความเชื่อกันว่าเจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประดิษฐานไว้ที่หน้าเจดีย์หกหว้านี้

Continue Readingเจดีย์หกหว้า : เครื่องหมายแทนความกตัญญู ความเชื่อ และความศรัทธาที่ผูกพันอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปฐมกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชโบราณในสมัยที่ยังเรียกว่า “ตามพรลิงค์” พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช หรือราชวงศ์ปัทมวงศ์ ซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่ง ของสยามประเทศที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรศรีธรรมาราช ซึ่งปกครองเมืองใหญ่ต่าง ๆ ในคาบสมุทรมลายู จำนวน 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร เมื่อสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ เป็นอาณาจักรไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง อาณาจักรศรีธรรมาราช ก็มีอำนาจรุ่งเรืองทางภาคใต้…

Continue Readingพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปฐมกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเมืองนครศรีธรรมราช

ความเกี่ยวโยงกันระหว่างเมืองนครศรีธรรมราช กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดูจะเป็นเรื่องที่เหมาะเจาะลงตัว จนบางครั้งดูเป็นเรื่องบังเอิญที่ลงตัว แต่ยากที่จะอธิบายด้วยเหตุผล เริ่มด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยดํารงตําแหน่งพระยาตาก (สิน) ได้ มีความเกี่ยวข้องกับภูมิภาคครบทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศ นับตั้งแต่กําเนิดขึ้นในภาคกลาง แล้วไปเป็นพระยาตากที่ภาคเหนือ ต่อมาไปตั้งชุมชุมเจ้าตากที่ภาคตะวันออก แล้วไปรบชนะข้าศึกที่มาจากภาคตะวันตก และสุดท้ายได้กลับมาใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่ภาคใต้ และในภาคใต้นี่เอง ชะตาได้กําหนดให้พระองค์มาพบกับความสงบสุขในบั้นปลาย ชีวิตที่เมืองนครศรีธรรมราช…

Continue Readingสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเมืองนครศรีธรรมราช

No more posts to load