พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปฐมกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชโบราณในสมัยที่ยังเรียกว่า “ตามพรลิงค์” พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช หรือราชวงศ์ปัทมวงศ์ ซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่ง ของสยามประเทศที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรศรีธรรมาราช ซึ่งปกครองเมืองใหญ่ต่าง ๆ ในคาบสมุทรมลายู จำนวน 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร เมื่อสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ เป็นอาณาจักรไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง อาณาจักรศรีธรรมาราช ก็มีอำนาจรุ่งเรืองทางภาคใต้ อาณาจักรศรีธรรมาราชเป็นมิตรที่ดีต่ออาณาจักรสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา มีการส่งพระสงฆ์ไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่า อาณาจักรศรีธรรมาราชยอมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ ที่มีราชธานีกรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร เริ่มสถาปนาราชวงศ์ พ.ศ. 1913 – 1931, 1952 – 2112 ราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ. 2112 – อาณาจักรนครศรีธรรมาราช สมัยราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชิที่มีพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นพระมหากษัตริย์ หลังทรงประกาศเอกราชจากอาณาจักรศรีวิชัยใน พ.ศ. 1773 ทรงสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่แทนกรุงตามพรลิงก์ (เมืองพระเวียง) คือ นครศรีธรรมราชมหานคร ใน พ.ศ. 1830

อาณาจักรตามพรลิงค์

จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองอื่นมาก่อน ภายหลังเกิดโรคห่าระบาดในเมืองนั้นจนทำให้ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จนต้องอพยพผู้คนที่เหลือลงเรือหนีตายมาขึ้นที่หาดทรายแก้ว และได้ตั้งบ้านเมืองขึ้น ณ ที่นั้น และขนานนามว่า”นครศรีธรรมราชมหานคร” เมื่อสร้างเมืองเสร็จก็ได้สร้างสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นที่เมืองนั้น จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชอีกฉบับหนึ่งคือฉบับที่พบที่วัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับฉบับที่พบที่ทุ่งตึก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กล่าวความตรงกันว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นพราหมณ์ชาวอินเดีย เดิมชื่อว่า “พราหมณ์มาลี” ได้อพยพพรรคพวกลงเรือสำเภาหลายร้อยลำ หนีการรุกรานพวกอิสลามจากอินเดียมาขึ้นบกที่บ้านทุ่งตึก ใกล้เมืองตะกั่วป่า ฝั่งทะเลตะวันตก ในชั้นแรกได้ตั้งบ้านเมืองขึ้นที่นั่น อภิเษกพราหมณ์มาลีขึ้นเป็นกษัตริย์ถวายพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” พราหมณ์มาลาผู้เป็นน้องเป็นพระมหาอุปราชการอพยพครั้งนั้นพวกอินเดียได้นำเอาพระทันตธาตุมาด้วยพวกอินเดียสร้างเมืองทุ่งตึกไม่ทันเสร็จก็ถูกพวกอิสลามตามตีแตกพ่ายอีก จนต้องอพยพทิ้งบ้านเมือง หนีขึ้นไปตามลำน้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาสก ล่องเลียบริมฝั่งแม่น้ำพุมดวงมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งมั่นอยู่ที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีท่าทีว่าจะตั้งราชธานีที่นั่นอีก แต่เพราะเหตุภูมิประเทศไม่อำนวยทำให้พวกอินเดียที่อพยพมานี้ผิดน้ำผิดอากาศ จนเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ต้องอพยพผู้คนต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขาชวาปราบปลายคลองสินปุน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กับที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต่อไปเพื่อหาชัยภูมิใหม่ได้อพยพขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งและได้มาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเสียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะโรคห่ายังไม่ขาดหาย ต้องรื้อถอนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนพบหาดทรายใหญ่อยู่ริมทะเล ภูมิประเทศต้องลักษณะชัยภูมิที่ดี คือมีลำน้ำและที่ราบเหมาะสำหรับการเกษตร จึงได้สร้างราชธานีขึ้น ณ ที่นั่น โดยสร้างกำแพงเมือง ปราสาทราชวัง เทวสถาน และพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุที่เอามาจากอินเดียด้วย (ขจร สุขพานิช) ได้เสนอเรื่อง “ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช” โดยอ้างหลักฐานจากจารึกหลักหนึ่งที่พบจากจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับการศึกษาจารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมาประกอบกัน ทำให้ได้ความเลา ๆ ว่า ราชวงศ์นี้อุบัติขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้ว จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏราชวงศ์นี้มีเหตุให้ต้องทิ้งราชธานีเดิม ลงไปแสวงหาที่พักพิงใหม่ทางปักษ์ใต้ และขณะเดินทางลงใต้ได้พบและทำสัตย์ปฏิญาณกับราชวงศ์อู่ทอง ได้แบ่งอาณาเขตปกครองซึ่งกันและกัน และสัญญาจะเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันในยามคับขัน และลงความเห็นว่าราชธานีน่าจะตั้งอยู่ลพบุรีมาก่อนจากสาเหตุดังกล่าว พอจะอนุมานได้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นผู้ที่อพยพมาจากถิ่นอื่นและเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สร้างบ้านเมืองขึ้น จึงนำเอาพระพุทธศาสนารวมทั้งลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาด้วย พระนามว่า”ศรีธรรมาโศกราช” นี้ ภายหลังได้ใช้เป็นพระนามหรือนามที่เป็นอิสริยศของพระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมืองที่ปกครองเมืองนี้ตลอดมาพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อราว ๆ พ.ศ. 1098 ในชั้นแรกคนทั่วไปเรียกว่า “สิริธัมนคร” ในศิลาจารึกเมืองไชยาเรียกว่า “ตามพรลิงค์” หรือในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า “ตั้งมาหลิ่ง” เป็นต้น การที่เรียกเมืองตามพรลิงค์ว่า “นครศรีธรรมราช” นี้ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หลักที่ 1) เป็นครั้งแรกชื่อนี้มีเค้ามูลที่จะเชื่อถือได้ว่า เป็นราชอิสริยยศที่ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชว่า “ศรีธรรมราช” คงจะถือเป็นประเพณีสืบต่อเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้ไทยขนานนามราชธานีนี้ตามพระนามราชอิสริยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ว่า”นครศรีธรมราช”ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นต้นมาเมืองที่ทรงสร้างดังกล่าวเป็นมหานครใหญ่มีอำนาจมาก มีกำแพงปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน นอกจากนั้นยังมีเมืองขึ้น 12 หัวเมือง เรียกว่า 12 นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต ด้านศาสนจักรได้ทรงสร้างสิ่งสำคัญคือสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น จึงนับได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า “พระบรมธาตุ”ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยต่อมา

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช มีพระอนุชา 2 พระองค์ องค์แรกพระนาม พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสถาปนา พระนามฐานันดรตำแหน่งพระมหาอุปราช ให้พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระเชษฐาสวรรคต องค์รอง พระเจ้าจันทรภาณุ ขึ้นเสวยราชย์แทน เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีธรรมาราช พระองค์ก่อนสวรรคต กษัตริย์พระองค์ต่อมาก็เป็นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแทน ดังเช่นเมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์พี่สวรรคต พระเจ้าจันทรภาณุ ก็ได้รับพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมาราชโศกราช เช่นเดียวกัน แต่คนทั่วไป ก็มักจะเรียกจนติดปากว่า พระเจ้าจันทรภาณุ หรือในบางตำราใช้ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช

ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช (ปัทมวงศ์) ปกครองอาณาจักรนครศรีธรรมราชอยู่ร้อยกว่าปีก็ได้ล่มสลายลงจากโรคห่าระบาดและสงครามกับพวกชวา สมัยท้าวอู่ทองแห่งอโยธยาที่ได้สถาปนาเป็นพระญาติกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้ส่งพระราชโอรสและไพร่พลจากเมืองพริบพรีมาฟื้นเมืองเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองบริวารใหม่ และได้สถาปนาราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชมาอีกครั้งที่มีเชื้อสายจากท้าวอู่ทองแห่งอโยธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 สมเด็จพระไชยราชาธิราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า ทรงมีพระราชบิดา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ราชวงศ์พระร่วง พระราชมารดา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้าพระองค์มีพระมเหสี 4 พระองค์ มีตำแหน่ง ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ราชวงศ์พระร่วง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ราชวงศ์อู่ทอง ท้าวศรีอินทรมหาเทวี ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ท้าวอินทรสุเรนทร ราชวงศ์สุพรรณภูมิ หนึ่งในนั้นคือพระมเหสีมาจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั่งแต่สมัยโบราณ ที่จะให้อาณาจักรของตน มีความสัมพันธ์กันกับอีกราชอาณาจักรหนึ่ง เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกันจะได้เกื้อหนุน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรนครศรีธรรมราชได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาแล้วแต่ยังสามารถปกครองตนเองอย่างเบ็ดเสร็จ และต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยาด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

รูปอาณาจักรตามพรลิงค์ https://www.wikiwand.com/th/อาณาจักรตามพรลิงค์#Media/ไฟล์:Wat_Phra_Sri_Sanphet_01.jpg

รูปขุนอินทรเทพ-เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชหรือสุโขทัย  https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/2066665090063617/?locale=th_TH

ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช https://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช

จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองอื่นมาก่อน https://www.sator4u.com/paper/36

Visits: 821

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.