ขนำ : วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของภาคใต้

ขนำ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงกระท่อม หรือที่เพิ่งพัก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยครั้งคราวของชาวสวน ชาวนา ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวหรือเฝ้าระวังพืชผลในสวน หรือเฝ้าอาหารทะเลที่อยู่กลางทะเล

Continue Readingขนำ : วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของภาคใต้
โนราโรงครู : วิถีแห่งศรัทธาบนคาบสมุทรภาคใต้
โนราโรงครู

โนราโรงครู : วิถีแห่งศรัทธาบนคาบสมุทรภาคใต้

โนราโรงครู เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตและสังคมของชาวบ้านในภาคใต้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโนราและผู้ที่มีเชื้อสายโนรา รวมทั้งชาวบ้านทั่วไปที่ได้บนบานขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ หรือมาขอรับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากครูหมอโนรา เมื่อสำเร็จผลจามความต้องการแล้วจึงได้ทำพิธีโนราโรงครูขึ้น

Continue Readingโนราโรงครู : วิถีแห่งศรัทธาบนคาบสมุทรภาคใต้
หมาตักน้ำ ภาชนะจากภูมิปัญญา
หมาตักน้ำ

หมาตักน้ำ ภาชนะจากภูมิปัญญา

หมาตักน้ำ ทำจากกาบหมากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นปัจจุบันยกให้เป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกด้วย ใช้ใส่สิ่งของหรือห่อผลิตผลทางการเกษตร ผัก ผลไม้ เป็นภาชนะใส่อาหารคาวหวาน อาหารว่าง

Continue Readingหมาตักน้ำ ภาชนะจากภูมิปัญญา

“มังคุด” ราชินีผลไม้ ของดีที่นครศรีธรรมราช

“มังคุด” ราชินีแห่งไม้ผล รับประทานสด มังคุดคัด แกงมังคุดคัด มังคุดกวน แยมมังคุด มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโพแทสเซียม โปรตีน วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม

Continue Reading“มังคุด” ราชินีผลไม้ ของดีที่นครศรีธรรมราช

ชาพระธาตุ : ต้นข้าวของชาวนอก ต้นหมากพลูของชาวเหนือ

ชาพระธาตุ เครื่องพุทธบูชาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของชาวเมืองนครศรีธรรมราช “ต้นข้าว และต้นหมาก” ถ้าต้นข้าวแทนชาวนา ต้นหมากต้นพลูก็คือ ชาวสวน นครศรีธรรมราชมีทั้งชาวนาและชาวสวน

Continue Readingชาพระธาตุ : ต้นข้าวของชาวนอก ต้นหมากพลูของชาวเหนือ

เริน ไม้ใต้ถุนสูง : สถาปัตยกรรมดั้งเดิมจากภูมิปัญญาของภาคใต้

เรินไม้ใต้ถุนสูง หลังคาสูง ภาคใต้อยู่ในเขตร้อนชื้นมีมรสุมฝนตกเกือบทั้งปี เริน ต้องมั่นคงแข็งแรง ระบายอากาศและป้องกันท่วมได้

Continue Readingเริน ไม้ใต้ถุนสูง : สถาปัตยกรรมดั้งเดิมจากภูมิปัญญาของภาคใต้
เคย [เคอย] : กะปิอ่าวทองคำ ทำจากกุ้งเคย
ตากเคย

เคย [เคอย] : กะปิอ่าวทองคำ ทำจากกุ้งเคย

เคยหรือกะปิทำจากกุ้งเคย บ้านเราเรียก “เคย” หรือ “เคอย” ทำเอง กินเอง ให้และขายสร้างรายได้ หนึ่งในของแลกเปลี่ยนของเรือเหนือ หรือเกลอเขา-เกลอเล

Continue Readingเคย [เคอย] : กะปิอ่าวทองคำ ทำจากกุ้งเคย
ทอลานที่บ้านหน้าทัพ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
ทอลาน4

ทอลานที่บ้านหน้าทัพ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

ทอลาน คือ การนำยอดลานมาผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็นเส้นลานแห้งแล้วนำมาทอเป็นผืน ต้นลาน คล้ายต้นตาล ต้นสูงตรง ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ขึ้นตามแนวฝั่งแม่น้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าพรุเรียกว่าลานพรุ คุณสมบัติของยอดลานพรุ มีความเหนียว อ่อนตัว เส้นใยแข็งแรง น้ำหนักเบา ผิวลื่นเป็นมัน

Continue Readingทอลานที่บ้านหน้าทัพ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

การไหว้บูชาครูหมอตายายโนรา เพื่อแสดงความกตัญญู

ความเป็นมาของพิธีกรรมดังกล่าว ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี และสำหรับชาวภาคใต้ส่วนหนึ่งของไทยนั้นก็ได้มีประเพณีหนึ่งที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ได้กระทำสืบต่อกันมาช้านานก็คือ “การไหว้บูชาครูหมอตายายโนรา” นั่นเอง “ครูหมอโนราและตายายโนรา” ในการรับรู้ของชาวบ้านถือเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจ สามารถบันดาลทั้งคุณและโทษแก่ลูกหลาน ทุกช่วงสำคัญในชีวิตจึงต้องทำ “พิธีเซ่นไหว้” เพื่อเป็นการบอกกล่าวและขอบคุณตายายที่ช่วยดูแลลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข หากลูกหลานเพิกเฉยไม่เคารพบูชา ไม่เซ่นไหว้ ลบหลู่ หรือทำตัวไม่เหมาะสม เช่น คบชู้ ลักขโมย เชื่อกันว่าจะ…

Continue Readingการไหว้บูชาครูหมอตายายโนรา เพื่อแสดงความกตัญญู
การแทงต้ม วัฒนธรรมร่วมไทยพุทธและมุสลิม
รูปแบบของต้ม

การแทงต้ม วัฒนธรรมร่วมไทยพุทธและมุสลิม

การแทงต้ม หมายถึงการทำข้าวต้มใบกะพ้อในวัฒนธรรมของภาคใต้ เพราะวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันธ์กับข้าว ข้าวจัดเป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของคนไทย เนื่องจากสามารถนำมาปรุงได้ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในแต่ละภาค คนภาคใต้กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก และกินข้าวเหนียวเป็นอาหารว่าง ข้าวเหนียวในวัฒนธรรมของภาคใต้มักจะถูกนำมาปรุงในรูปของอาหารหวาน หรือทำเป็นอาหารว่าง โดยเฉพาะ”ต้ม” หรือข้าวต้มใบกะพ้อ นิยมทำกันมากในภาคใต้ มักพบได้ในงานบุญ ทั้งงานบุญของชาวไทยพุทธ หรือชาวมุสลิม และสาเหตุที่เรียกว่า แทงต้ม เพราะต้องเอาก้านของใบกะพ้อแทงสอดเข้าไปในห่อต้ม…

Continue Readingการแทงต้ม วัฒนธรรมร่วมไทยพุทธและมุสลิม

No more posts to load