วัดอินทคีรี (วัดบ้านนา) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่ตั้ง        ตั้งอยู่ที่ บ้านนา หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสามารถเดินทางจากเส้นทางถนนนครศรีฯ – พรหมคีรี จากทางแยกพรหมคีรี (สี่แยกน้ำแคบ) เข้ามาใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็จะถึงวัดอินทคีรี ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ตรงทางโค้ง และมีโรงเรียนชุมชนวัดอินทคีรี ตั้งอยู่ติดกันด้วย…

Continue Readingวัดอินทคีรี (วัดบ้านนา) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

ศาลาศรีพุทธิสาร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจ.นครศรีธรรมราช

ศาลาศรีพุทธิสารอยู่ติดกับถนนหลังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ในเขตสังฆาวาสคณะใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 ผู้สร้างคือ พระพุทธิสารเถร (ผุด สุวฑฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ศาลาหลังนี้สร้างเพื่อใช้เป็นที่พักของพระอาคันตุกะ และพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะพระบรมธาตุ สร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น

Continue Readingศาลาศรีพุทธิสาร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจ.นครศรีธรรมราช

เจดีย์ราย รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ : เจดีย์แห่งองค์พระมหาสาวก

เมื่อเราเข้าไปบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ เราจะเห็นเจดีย์น้อยใหญ่เรียงรายกันไปบริเวณระเบียงคต เรียกว่ารายหรือเจดีย์บริวาร หรือเจดีย์องค์เล็กอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์จำนวน ๑๕๘ องค์

Continue Readingเจดีย์ราย รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ : เจดีย์แห่งองค์พระมหาสาวก
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช : อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
กำแพงเมือง

กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช : อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

กำแพงเมือง สถานท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราช ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นกำแพงที่บูรณะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยวิศวกรฝรั่งเศส เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) ออกแบบการสร้างแบบ ชาโต (Chateau) เป็นกำแพงก่ออิฐทับบนคันดินเดิม มีใบเสมาบนกำแพงเพื่อบังทางปืน หลังใบเสมาเป็นเชิงเทิน มีทางเดินบนกำแพง มีป้อม

Continue Readingกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช : อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

หอพระพุทธบาทจำลอง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ชาวบ้านเชื่อกันว่ารอยพระพุทธบาทจำลองเป็นวัตถุแทนองค์พระพุทธเจ้า การได้กราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาทจึงเปรียบเสมือนได้บูชาพระพุทธองค์ ซึ่งจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตที่จะดลบันดาลให้ประสบกับความสุขความเจริญตลอดไป ที่ใกล้บันไดทางขึ้นไปพระบาท มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มองค์หนึ่ง เรียกว่า “พระบุญมาก” ขนาดหหน้าตักกว้าง 3 ศอก 3 นิ้ว สูง 1 วา 12 นิ้ว เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากสามารถบันดาลบุตรให้แก่ผู้ที่ไปขอได้

Continue Readingหอพระพุทธบาทจำลอง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช : เสาหลักชัยศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองคอน

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตั้งอยู่ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง บนเนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา

Continue Readingศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช : เสาหลักชัยศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองคอน

วิหารคต หรือพระระเบียง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

วิหารคต หรือพระระเบียง ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภายในวิหารหรือระเบียงนี้ มีพระพุทธรูปปั้นเรียงเป็นระเบียบเป็นพระพุทธรูปนั่งเป็นแถวยาวตลอดทุกด้านของระเบียง จำนวน 173 องค์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ การที่มีพระพุทธรูปอยู่รอบด้านของพระบรมธาตุเจดีย์นี้เอง ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระด้าน

Continue Readingวิหารคต หรือพระระเบียง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

วิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

วิหารเขียน พิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วย ทอง เงิน นาก สร้อย แหวน ตุ้มหู กำไล เข็มขัด พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เครื่องลายคราม ฯลฯ ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากร ได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนี้เป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ชื่อว่า “ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑสถาน”

Continue Readingวิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด

ประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128

ประตูเยาวราช เป็นประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา

Continue Readingประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128

พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

พระสิหิงค์ซึ่งประดิษฐานภายในหอพระสิหิงค์นั้น เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาแต่โบราณ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 32 เซนติเมตร กางกั้นด้วยฉัตรหักทองขวางทำด้วยโลหะปิดทองฉลุลาย ด้านข้างของพระสิหิงค์มีพระพุทธรูปหุ้มเงินและพระพุทธรูปหุ้มทองปางอุ้มบาตรประทับยืนข้างละ 1 องค์

Continue Readingพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

No more posts to load