ขนำ : วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของภาคใต้
ขนำ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงกระท่อม หรือที่เพิ่งพัก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยครั้งคราวของชาวสวน ชาวนา ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวหรือเฝ้าระวังพืชผลในสวน หรือเฝ้าอาหารทะเลที่อยู่กลางทะเล
ขนำ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงกระท่อม หรือที่เพิ่งพัก ใช้เป็นที่อยู่อาศัยครั้งคราวของชาวสวน ชาวนา ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวหรือเฝ้าระวังพืชผลในสวน หรือเฝ้าอาหารทะเลที่อยู่กลางทะเล
ศาลพระเสื้อเมือง เป็นศาลสำหรับบูชาเทพเจ้าผู้ทำหน้าที่รักษาเมือง เรียกว่าพระเสื้อเมือง สันนิษฐานว่าตัวอาคารเดิมเป็นไม้ทั้งหลังภายในมีหอเล็ก ประดิษฐานเทวรูปเทพเจ้า (พระเสื้อเมือง) จำนวน 2 องค์ลักษณะคล้ายกับท้าวกุเวรราชในวิหารม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมามีผู้บูรณะเทวรูปั้น 2 องค์นี้และลงรักปิดทอง ทำหน้าที่ป้องกันภัยอันตราย รักษากำลังไพร่พล และให้ความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ประชาชนและบ้านเมือง ตามคติโบราณ เมื่อใดที่มีการตั้งบ้านเมืองก็มักจะสร้างศาลไว้ให้เทพารักษ์ผู้รักษาบ้านเมืองด้วย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช,…
พิพิธภัณฑ์หาดทรายแก้ว ตั้งอยู่ที่ 103/1 หมู่ 1 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ติดชายทะเล เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของผู้ใหญ่เยิ้ม เรืองดิษฐ์ เดิมท่านประกอบอาชีพเป็นแม่ค้า ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และเป็นเจ้าของหาดทรายแก้วรีสอร์ท นางเยิ้ม เรืองดิษฐ์ เกิดวันที่ 8 ตุลาคม 2501…
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ บ้านนาหลวงเสน หมู่ที่ 6 ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสามารถเดินทางจากเส้นทางถนนเข้า เมืองทุ่งสงสายในตรงข้ามกับสวนหลวง ร.5 ทุ่งสง ตรงไปเลี้ยวซ้ายผ่านวัดเขาปรีดี แล้วเลี้ยวขวาตรงไปตามถนนก็จะถึงวัดสำโรง (ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการเดินทาง) ที่อยู่ของวัด บ้านนาหลวงเสน หมู่ที่…
หอพระพุทธสิหิงค์อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์เมืองนครนั้น เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัด และ ศาลจังหวัด สร้างใหม่แทนหอเดิมใน พ.ศ. 2457 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แบ่งออกเป็น สองตอน มีผนังก่ออิฐกั้น ตอนหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร บุด้วยทองคำ และเงิน อย่างละองค์ ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของตระกูล ณ นคร
ประวัติ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ เป็นเรือนปั้นหยายกพื้น หลังคาสูง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 โดยนายเขียน มาลยานนท์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์" นายอำเภอเมืองกลาย ภายหลังได้ยกที่ดินและบ้านหลังนี้ให้แก่นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ (หลาน) เมื่อปี พ.ศ. 2482 ซึ่งต่อมาได้ใช้บ้านและที่ดินเปิดเป็นโรงเรียนรัฐวุฒิวิทยาและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนครวิทยา…
“นครศรีธรรมราช” มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า “นครอันงามสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่” พระองค์ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นบนหาดทรายแก้ว ซึ่งนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญในสมัยต่อมาตราบจนปัจจุบัน
ศาลาศรีพุทธิสารอยู่ติดกับถนนหลังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ในเขตสังฆาวาสคณะใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 ผู้สร้างคือ พระพุทธิสารเถร (ผุด สุวฑฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ศาลาหลังนี้สร้างเพื่อใช้เป็นที่พักของพระอาคันตุกะ และพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะพระบรมธาตุ สร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น
พระนางเลือดขาวแม่เจ้าอยู่หัว หรือแม่เจ้าอยู่หัวพระนางเลือดขาว หมายถึงผู้อยู่ในฐานะพระมเหสีเอกของพระเจ้าอยู่หัว พระนางมีนิสัยโอบอ้อมอารีเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นที่รักของบุคคลโดยทั่วไปตั้งแต่เยาว์วัย ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งอัครมเหสี พระนางทรงทำนุบำรุงศาสนาโดยการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช (เมืองตามพรลิงค์) และเมืองใกล้เคียงประมาณปี พ.ศ. 1790
เมื่อเราเข้าไปบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ เราจะเห็นเจดีย์น้อยใหญ่เรียงรายกันไปบริเวณระเบียงคต เรียกว่ารายหรือเจดีย์บริวาร หรือเจดีย์องค์เล็กอยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์จำนวน ๑๕๘ องค์