การแทงต้ม วัฒนธรรมร่วมไทยพุทธและมุสลิม
รูปแบบของต้ม

การแทงต้ม วัฒนธรรมร่วมไทยพุทธและมุสลิม

การแทงต้ม หมายถึงการทำข้าวต้มใบกะพ้อในวัฒนธรรมของภาคใต้ เพราะวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันธ์กับข้าว ข้าวจัดเป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของคนไทย เนื่องจากสามารถนำมาปรุงได้ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในแต่ละภาค คนภาคใต้กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก และกินข้าวเหนียวเป็นอาหารว่าง ข้าวเหนียวในวัฒนธรรมของภาคใต้มักจะถูกนำมาปรุงในรูปของอาหารหวาน หรือทำเป็นอาหารว่าง โดยเฉพาะ”ต้ม” หรือข้าวต้มใบกะพ้อ นิยมทำกันมากในภาคใต้ มักพบได้ในงานบุญ ทั้งงานบุญของชาวไทยพุทธ หรือชาวมุสลิม และสาเหตุที่เรียกว่า แทงต้ม เพราะต้องเอาก้านของใบกะพ้อแทงสอดเข้าไปในห่อต้ม…

0 Comments

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งประทับตรัสรู้ เป็นต้นไม้แทนพระพุทธองค์ หากใครได้ไหว้ได้สักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็เท่ากับว่าได้ไหว้สักการะพระพุทธองค์ จึงถือว่ามีความสำคัญมาก

0 Comments

หอพระสิหิงค์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

หอพระพุทธสิหิงค์อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์เมืองนครนั้น เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร ตั้งอยู่ระหว่างศาลากลางจังหวัด และ ศาลจังหวัด สร้างใหม่แทนหอเดิมใน พ.ศ. 2457 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แบ่งออกเป็น สองตอน มีผนังก่ออิฐกั้น ตอนหน้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร บุด้วยทองคำ และเงิน อย่างละองค์ ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของตระกูล ณ นคร

0 Comments

วิหารพระมหากัจจายนะ (Vihara Phra Maha Kaccayana)  หรือวิหารพระแอด

วิหารพระแอด เป็นวิหารหลังใหม่ที่ประดิษฐานพระแอด พระสีทองเหลืองทองอร่าม องค์อ้วนใหญ่ ซึ่งเป็นชาวบ้านมีความเชื่อและความศรัทธาในการขอพรเรื่องสุขภาพให้หายปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง ซึ่งเมื่อขอพรเสร็จจะนำไม้ค้ำยันไปค้ำยันไว้ด้านหลังพระแอด และ การขอพรเรื่องการให้มีลูกสำหรับคนที่มีลูกอยาก ซึ่งจะเห็นได้จากในวิหารพระแอดจะมีรูปถ่ายของเด็กทั้งชายหญิงวางไว้ในตู้จำนวนมาก วิหารพระมหากัจจายนะ หรือ วิหารพระแอด  วิหารนี้เรียกชื่อตามพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลังนี้ คือ “พระกัจจายนะ” หรือ “พระสังกัจจายน์” หรือ…

0 Comments

วัดอินทคีรี (วัดบ้านนา) อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่ตั้ง        ตั้งอยู่ที่ บ้านนา หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสามารถเดินทางจากเส้นทางถนนนครศรีฯ – พรหมคีรี จากทางแยกพรหมคีรี (สี่แยกน้ำแคบ) เข้ามาใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็จะถึงวัดอินทคีรี ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ตรงทางโค้ง และมีโรงเรียนชุมชนวัดอินทคีรี ตั้งอยู่ติดกันด้วย…

0 Comments

ครูน้อม อุปรมัย : ผู้ริเริ่มในการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช

จากข้อมูลในหนังสือน้อมรำลึก (2526) ได้กล่าวถึงชีวประวัติของครูน้อม อุปรมัย ไว้ว่า เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายกลิ่น อุปรมัย และนางกิมยี อุปรมัยเกิดเมื่อวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 ที่บ้านปากมะยิง ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีพี่น้องร่วมบิดาที่เกิดจากนางวุ่น…

0 Comments

บ้านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ : เรือนโบราณทรงปั้นหยา อายุกว่า 108 ปี

ประวัติ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ เป็นเรือนปั้นหยายกพื้น หลังคาสูง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 โดยนายเขียน มาลยานนท์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์" นายอำเภอเมืองกลาย ภายหลังได้ยกที่ดินและบ้านหลังนี้ให้แก่นายโกวิท ตรีสัตยพันธุ์ (หลาน) เมื่อปี พ.ศ. 2482 ซึ่งต่อมาได้ใช้บ้านและที่ดินเปิดเป็นโรงเรียนรัฐวุฒิวิทยาและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนครวิทยา…

0 Comments

No more posts to load