วัดแจ้งวรวิหาร

วัดแจ้งวรวิหาร

วัดแจ้่ง

วัดแจ้งวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  วัดแจ้งวรวิหาร” เป็นชื่อวัดที่เรียกโดยทางวัด ดังปรากฏหลักฐานที่ซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของวัด รวมทั้งในเอกสารที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยทางวัด เช่น หนังสือที่ระลึกสิริอายุวัฒนมงคล 84 ปี พระเทพปัญญาสุธี (พร้อม โกวิโท) รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช แต่ในส่วนที่ 1 มุทิตาพจน์ “เถราภิตุติกถา” ของพระธรรมวิมลโมลี เจ้าคณะภาค 16 วัดไตรธรรมาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในหนังสือเล่มดังกล่าวเรียกนามพระอารามแห่งนี้ว่า “วัดแจ้ง พระอารามหลวง” เช่นเดียวกับในเอกสารทางราชการส่วนใหญ่ (คณะสงฆ์จังหวัดนครศรีธรรมราชมหานิกาย, 2017)

สถานที่ตั้ง

ที่อยู่ : ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 23 ถนนราชดำเนิน ตำบลท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

นิกาย : มหานิกาย

ประเภทวัด : วัดราษฎร์

ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด : พุทธศักราช 2419

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา : พุทธศักราช 2420

มีเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่  5.10 ตารางวา  มีอาณาเขตดังนี้

 – ทิศเหนือ ติดถนนพัฒนาการ – วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

 – ทิศตะวันออก ติดถนนพัฒนาการ

 – ทิศใต้  ติดวัดประดู่พัฒนาราม

  – ทิศตะวันตก ติดถนนราชดำเนิน (ทางหลวงแผ่นดินสายนครศรีธรรมราช – ท่าแพ)

วัดแจ้งวรวิหาร

ประวัติวัด

วัดแจ้งเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือของคลองท่าวัง ประวัติความเป็นมาในการสร้างวัดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 5 ของกรมการศาสนา และหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 23 ของสำนักงานพระพุทธศาสนาระบุว่า

               “…สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ราว พ.ศ. 1823 ตามประวัติที่เล่าสืบกันมาว่าสร้างพร้อม ๆ กับวัดประดู่พัฒนาราม โดยมีพระมหาเถรอนุรุทธและคณะ ซึ่งย้ายมาจากเมืองยศโสทร หรือจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน  มาดำเนินการให้วัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ…”

                             ต่อมาเมื่อมีการจัดพิมพ์ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 23 ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ระบุปีสร้างวัดแจ้งอย่างแน่ชัด พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมข้อมูลการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาความว่า

                  “….ตั้งเมื่อ พ.ศ. 1823…..ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 1825 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร….”

                 นอกจากนี้ ข้อความในซุ้มประตูทางทิศตะวันตกทางเข้าวัดด้านนอกระบุนามวัดว่า วัดแจ้งวรวิหาร” ส่วนด้านในระบุข้อความว่า  สร้าง พ.ศ. 1823”

                 ผู้เขียนได้ตรวจสอบเอกสารชั้นต้นที่กล่าวถึงประวัติการก่อสร้างวัดแจ้งแต่ยังไม่พบหลักฐานโดยตรง  พบแต่ข้อความตอนหนึ่งในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นที่มาของประวัติวัดแจ้ง ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 5  ความว่า

                “…เมื่อศักราช 1200 ปีพระญาจันทภานุเปนเจ้าเมือง พระญาพงษาสุรา
                 เปนพระญาจันทภานุเปนเจ้าเมือง พระญาพงษาสุราเปนพระญาจันทภานุ ตั้งฝ่ายทักษิณพระมหาธาตุเปนเมืองพระเวียง อยู่มาท้าวศรีธรรมโศกถึงแก่กรรม พระยาจันทรภานุผู้น้องเป็นเจ้าเมือง……
                 ……พระมหาเถรอนุรุทธ์ รื้อญาติโยมมาแต่ยศโสทร สร้างวัดประดู่…”

                 ศักราช 1200 ในตำนานพระธาตุนคร ดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นมหาศักราช ตรงกับพุทธศักราช 1821  ซึ่งในเนื้อความของตำนานที่กล่าวถึง “พระมหาเถรอนุรุทธ์ รื้อญาติโยมมาแต่ยศโสทร สร้างวัดประดู่”  ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศักราชในข้างต้น เป็นเพียงแต่เรื่องราวที่อยู่ต่อเนื่องกันเท่านั้น ซึ่งสันนิษฐานว่า ผู้เขียนประวัติการสร้างวัดแจ้งบุคคลแรก อาจจะนำเรื่องราวในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชข้างต้นมาใช้ แต่เข้าใจคลาดเคลื่อน จึงระบุว่า วัดแจ้งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1823 โดยพระมหาอนุรุทธ์ จากเมือง“ยศโสทร” จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน  ซึ่งความจริงแล้ว “ยศโสทร” ในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชนั้น หมายถึง เมืองเขมร

                 อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า  ประวัติวัดประดู่พัฒนาราม ซึ่งอยู่ติดกับวัดแจ้ง ในหนังสือประวัติทั่วราชอาณาจักร เล่ม 23  กลับระบุแต่เพียงสั้น ๆ ว่า  “..ตั้งเมื่อ พ.ศ. 1815 ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 1820…” ซึ่งก็ยังตรวจสอบที่มาของศักราชดังกล่าวไม่พบเช่นเดียวกัน

                 ประวัติวัดแจ้งเท่าที่สามารถสืบค้นได้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตระกูล ณ นคร  ดังปรากฏในพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช ของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร)  ความว่า

          “…คุณชุ่มได้เป็นภรรยาเจ้าพัฒน์ เจ้าพัฒน์นี้เป็นบุตรปลัด มีพี่สาวคน 1 คน ชื่อคุณชี คุณชีไม่มีสามี  มารดานั้นเรียกว่า คุณหญิง ๆ  สร้างวัดประดู่ คุณชีสร้างวัดแจ้ง ที่อยู่ตำบลท่าวังเดี๋ยวนี้…”   

                 อีกทั้งยังมีเรื่องเล่าว่า บริเวณที่สร้างวัดเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชมาแต่เดิม  ภายหลังเมื่อได้ย้ายไปตั้งบ้านเมืองในเขตกำแพงเมือง จึงยกที่ดินให้เป็นที่สร้างวัด เหมือนกันที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ยกวังให้เป็นที่สร้างวัดท่าโพธิ์ (ใหม่)

                  แต่ในหนังสือประวัติทั่วราชอาณาจักรเล่ม 5 กล่าวว่า ครั้นถึง พ.ศ. 2330 วัดแจ้งได้ทรุดโทรมลงเพราะขาดการบำรุง คุณชีซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยานครพัฒน์ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง และคุณหญิงมารดาของเจ้าพระยานครพัฒน์ ได้ปฏิสังขรณ์วัดประดู่พัฒนาราม จึงกล่าวได้ว่า วัดแจ้งและวัดประดู่นั้น เป็นวัดแม่วัดลูกกัน ทั้งยังถือว่าเป็นวัดสำหรับวงศ์ตระกูล ณ นคร ได้บำรุงเป็นอย่างดีตลอดมา  เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ได้ปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง และวัดประดู่  และที่วัดแจ้งนี้ ยังเป็นที่เก็บอัฐิของสายตระกูล ณ นคร นับตั้งแต่อัฐิของพระเจ้าขัตติยราชนิคมสมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และหม่อมทองเหนี่ยว รวมทั้งสายตระกูล ณ นครในสมัยต่อมาอีกด้วย

                 ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  วัดแจ้งเป็นวัดสำคัญรองจากวัดพระบรมธาตุ (พระมหาธาตุ) ซึ่งในสมัยนั้นวัดพระบรมธาตุเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา โดยมีพระครูกาเป็นผู้รักษาพระธาตุทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ พระครูกาเดิมด้านทิศเหนือ พระครูกาแก้วด้านทิศตะวันออก พระครูการาม ด้านทิศใต้ และพระครูกาชาดด้านทิศตะวันตก ส่วนวัดท่าโพธิ์ก็ยังไม่มีบทบาทความสำคัญเหมือนเช่นทุกวันนี้ วัดแจ้งจึงเป็นวัดที่มีบทบาทสำคัญในสังคมเมืองนครศรีธรรมราชในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

                 เมื่อ พ.ศ. 2479  กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน “วัดแจ้ง อำเภอเมือง ตำบลท่าวัง” เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ แต่มิได้กำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถาน  ต่อมาใน พ.ศ. 2547 จึงได้ประกาศพื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 งาน 55 ตารางวา โบราณสถาน คือ เก๋งจีน  (คณะสงฆ์จังหวัดนครศรีธรรมราชมหานิกาย, 2017)

วัดแจ้งเป็นวัดคู่แฝดกับวัดประดู่ สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน ตั้งอยู่ติดกัน ผู้สร้างชื่อชี เป็นพี่สาวเจ้าพระยานคร(พัฒน์)ภายในวัดมเก๋งจีนหลังหนึ่งก่ออิฐถือปูน มุงกระเบื้อง ด้านหน้าของเก๋งมีซุ้มลายปูนปั้นอยู่สองซุ้ม ภายในมีบัวอยู่ซุ้มละองค์ องค์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นแบบย่อยมุมไม้สิบสอง บรรจุอัฐิพระยาขัตติยราชนิคมสมบัติมไหสวรรย์ พระเจ้านครศรีธรรมราช(หนู)บัวอ งค์ตะวันตกยอดเป็นรูปดอกบัวตูมบรรจุอัฐิหม่อมเหนียว พระชายา บัวในเก๋งจีนวัดแจ้งและวัดประดู่แต่ละองค์มีความสูงราว 2 เมตรเศษ เก๋งจีนนั้นก่ออิฐถือปูนโดยใช้ปูนขาวผสมน้ำอ้อยที่เรียกว่าปูนเพชร ภายนอกประดับลายปูนปั้นติดกระจกสีเป็นลายไทย

พ.ศ. 1835 วัดแจ้งได้สร้างมาพร้อมกับวัดประดู่พัฒนารามโดยพระมหาเถรอนุรุทธ และคณะ ซึ่งย้ายมาจากเมืองยศโสทร (จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) และได้เจิญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนถึง พ.ศ. 2330

พ.ศ. 2335 ปรากฏว่าได้รกร้างอยู่ คุณชีพี่สาวของเจ้าพระยานคร(พัฒน์) ได้ศรัทธา สร้างวัดแจ้งขึ้นใหม่คู่กับคุณหญิงมารดาของเจ้าพระยานครพัฒน์ได้สร้างวัดประดู่ ฯ ขึ้นใหม่เช่นเดียวกัน จึงกล่าวกันว่า สองวัดนี้เป็นวัดแม่วัดลูกกัน ดังกล่าวมาแล้ว และถือว่าเป็นวัดสาหรับวงศ์ตระกูล ณ นคร ได้รับบารุงเป็นอย่างดีตลอดมา จัดเป็นวัดสาคัญรองจากวัดพระบรมธาตุ(พระมหาธาตุ)ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในสมัยนั้นวัดพระบรมธาตุ เป็นเพียงพุทธาวาส และวัดท่าโพธิ์ (เก่า) ที่ยังไม่มีความสำคัญอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ (วัดท่าโพธิ์ใหม่) ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวัดสาคัญที่สุดในสังคมเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คือประมาณ 200 ปี มาแล้วได้แก่วัดแจ้งนี้เอง

พ.ศ. 2529 เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ 7 พฤษภาคม 2529[1]” ได้ระบุว่า “คุณชี” ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นผู้สร้าง “วัดแจ้ง” คู่กับ “คุณหญิง” ซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยานคร (พัฒน์)  ที่สร้าง “วัดประดู่” มูลเหตุที่สร้างเนื่องจากได้แรงใจที่เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  ก่อนนี้บริเวณที่ตั้งวัดแจ้งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า คุณชีเห็นทำเลสวยงาม จึงได้สร้างวัดขึ้น โดยเหตุที่ตรงนี้ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ มืดครึ้มตลอดเวลาแสงแดดส่องไม่ถึง เมื่อได้สร้างวัดขึ้นแล้วความมืดครึ้มก็หายไป ความสว่างแจ้งเข้ามาแทนที่ จึงตั้งชื่อวัดอย่างง่าย ๆ ว่า “วัดแจ้ง” ประมาณ พ.ศ. 2335 จ้าพระยานคร (พัฒน์) ถือว่าวัดแจ้งเป็นวัดประจำวงศ์ตระกูลโดยแท้ จึงได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยานคร (พัฒน์) อย่างเต็มที่ ทำให้วัดแจ้งมีความเจริญคู่กับวัดประดู่ พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหศวรรย์ (เจ้านครหนู) ซึ่งเป็นพ่อตาของเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้วายชนม์ที่กรุงเทพ ฯ และในเวลาอันไม่นาน “หม่อมทองเหนี่ยว” ชายาก็วายชนม์ตามไป เจ้าพระยานคร (พัฒน์) กับคุณหญิงชุ่มได้ทำการปลงศพแล้วนำอัฐิมาบรรจุไว้ในเจดีย์ประดิษฐานไว้ในตึก ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ตึกกษัตริย์” 

ลักษณะเด่น

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดแจ้ง คือ ” ตึกกษัตรย์” อยู่ในบริเวณวัดแจ้ง เจดีย์องค์ตะวันตกมีลักษณะเป็นยอดเรียวแหลม ฝีมือช่างนครโดยแท้ ประณีตสวยงามมาก เป็นที่บรรจุอัฐิของ “กษัตริย์นคร” คือพระเจ้าขัตติราชนิคม สมมติมไหศวรรย์ (เจ้านครหนู) ส่วนเจดีย์อีกองค์หนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเคียงคู่กัน เป็นที่บรรจุอัฐิของ “หม่อมทองเหนี่ยว” บุตรีของจีนปาด เศรษฐีของเมืองนครศรีธรรมราช ภริยาของเจ้านครหนู ยอดเจดีย์เป็นรูปดอกบัวมีสีสันและความประณีตตระการตา เจดีย์คู่นี้สร้างไว้โดยเจ้าพระยานคร (พัฒน์) และคุณหญิงชุ่ม เมื่อประมาณ พ.ศ. 2440  

วัดแจ้่งวรวิหาร
วัดแจ้่ง

 สิ่งก่อสร้างอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้สร้างขึ้นไว้ที่วัดแจ้งคือ เจดีย์องค์แรก สร้างไว้ทางทิศใต้ของโบสถ์มหาอุดอยู่ในที่ดอน เป็นที่บรรจุอัฐิของบุตรีสุดท้องของเจ้าพระยานคร (น้อย) ซึ่งเกิดแต่ท่านผู้หญิงอิน เป็นเชื้อเจ้ามาจากกรุงเทพ ฯ โดยพระบาทสมเด็จสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกกว่า “พี่อิน” บุตรีสุดที่รักนี้ ชื่อ “คุณหญิงน้อย” อยู่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นประจำไม่ได้ไปทำราชการที่กรุงเทพ ฯ เหมือนธิดาที่เกิดจากภริยาอื่น ๆ จึงเป็นธิดารับใช้ใกล้ชิดบิดา เมื่อถึงแก่กรรมลงเจ้าพระยานคร (น้อย) บิดา จึงก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ส่วนเจดีย์อีกองค์หนึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของ “พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง)” ซึ่งเกิดแต่ภริยาอื่น เป็นบุตรหัวปีเป็นที่โปรดปรานของเจ้าพระยานคร (น้อย) มาก เพราะเคยร่วมรบทัพจับศึกกันมาแต่เด็ก ๆ จนได้เป็นพระยาไทรบุรีและมาเป็นพระยาพังงา เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับอุโบสถมหาอุดทางทิศใต้ แต่อยู่ใกล้ชิดกว่าองค์เจดีย์แรกที่กล่าวแล้ว ขณะนี้เจดีย์ทั้งสององค์ชำรุดเกือบเหลือแต่ฐาน

วัดแจ้่ง
เจดีย์มหาอุต
วัดแจ้่ง
เจดีย์มหาอุต

โบราณสถาน สถานที่ และสิ่งสำคัญภายในวัด

ปัจจุบันในวัดแจ้ง ได้มีกุฏิและเสนาสนะเกิดขึ้นใหม่อีกหลายหลัง ได้พัฒนาสระน้ำ ได้ขยายรั้วเดิมซึ่งสร้างไว้แต่สมัยเจ้านคร (พัฒน์) ให้ออกไปจนจดกับเขตถนนราชดำเนินทางทิศตะวันตก เป็นรั้วแนวเดียวกับวัดประดู่ นอกจากนั้นได้สร้าง “วิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ” ขึ้นที่วัดนี้ นับว่าเป็นสถาบันชั้นสูงของคณะสงฆ์ที่อยู่ในระดับวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้

วัดแจ้งนอกจากจะเป็นวัดที่เจ้าเมืองนคร คือต้นตระกูล “ณ นคร” ปฏิสังขรณ์และทำนุบำรุงตลอดมาแล้ว เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสินมหาราช) เสด็จมาปราบชุมนุมเจ้านคร ได้ทรงประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ใช้ในกิจการทหารที่อุโบสถวัดแจ้งนี้ (โบสถ์มหาอุด) มีเก๋งเก็บบรมอัฐิพระเจ้าตากสิน และเก๋งเก็บอัฐิของเจ้าพระยานคร (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว ผู้เป็นมเหสี ซึ่งมีเจดีย์ ๒ องค์อยู่ในตึกนี้อยู่ด้วย (ตึกกษัตริย์) จึงนับว่าเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ

วัดแจ้่งวรวิหาร
วัดแจ้่งวรวิหาร

เก๋งจีน เรียกกันทั่วไปว่า “ตึกกษัตริย์” เป็นอาคารก่ออิฐ ถือปูน มุงกระเบื้อง หันหน้าไปทางทิศใต้หน้าต่างเจาะเป็นช่อง ระบายอากาศรูปวงกลม ภายในวงกลมทำเป็นซี่กรง ประตูทางเข้า เป็นเครื่องไม้แกะลายฉลุเป็นลายจีน สั่งมาจากประเทศจีน ด้านหน้าเก๋งมีซุ้มลายปูนปั้น 2 ซุ้ม (ศูนย์ข้อมูลกลางทางศาสนา, ม.ป.ป.)

ปัจจุบันในวัดแจ้ง ได้มีกุฏิและเสนาสนะเกิดขึ้นใหม่อีกหลายหลัง ได้พัฒนาสระน้ำ ได้ขยายรั้วเดิมซึ่งสร้างไว้แต่สมัยเจ้านคร (พัฒน์) ให้ออกไปจนจดกับเขตถนนราชดำเนินทางทิศตะวันตก เป็นรั้วแนวเดียวกับวัดประดู่ นอกจากนั้นได้สร้าง “วิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ” ขึ้นที่วัดนี้ นับว่าเป็นสถาบันชั้นสูงของคณะสงฆ์ที่อยู่ในระดับวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้

วัดแจ้งนอกจากจะเป็นวัดที่เจ้าเมืองนคร คือต้นตระกูล “ณ นคร” ปฏิสังขรณ์และทำนุบำรุงตลอดมาแล้ว เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสินมหาราช) เสด็จมาปราบชุมนุมเจ้านคร ได้ทรงประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ใช้ในกิจการทหารที่อุโบสถวัดแจ้งนี้ (โบสถ์มหาอุด) มีเก๋งเก็บบรมอัฐิพระเจ้าตากสิน และเก๋งเก็บอัฐิของเจ้าพระยานคร (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว ผู้เป็นมเหสี ซึ่งมีเจดีย์ 2 องค์อยู่ในตึกนี้อยู่ด้วย (ตึกกษัตริย์) จึงนับว่าเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ

โบราณสถาน สถานที่ และสิ่งสำคัญภายในวัด

ใบเสมา ตั้งอยู่บนฐานบัว ถัดขึ้นไปทำเป็นรูปดอกบัวบาน ใบเสมา เป็นเสมาคู่ ประดิษฐานอยู่ภายในดอกบัว ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธสิหิงค์เป็นพระประธาน ประดิษฐานอยู่ภายใต้ฉัตร 3 ชั้น

โบราณสถาน สถานที่ และสิ่งสำคัญอื่น ๆ ภายในวัด

ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา. (ม.ป.ป.). วัดแจ้งวรวิหาร (เก๋งจีน).  https://e-service.dra.go.th/place_page/18716

คณะสงฆ์จังหวัดนครศรีธรรมราชมหานิกาย. (2017). วัดแจ้งพระอารามหลวง. คณะสงฆ์จังหวัดนครศรีธรรมราชมหานิกาย.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147506004&Ntype=8

Series Navigation<< หอพระสูง (พระวิหารสูง) : โบราณสถานสำคัญบนถนนราชดำเนินวัดประดู่พัฒนาราม >>

Visits: 1052

This entry is part 4 of 6 in the series ตามรอยพระเจ้าตาก

Comments

comments