ทวดกลาย : จากสายเลือดนักรบบรรพชนผู้กล้าหาญ สู่เทวดาอารักษ์คลองกลาย

ทวดกลาย : จากสายเลือดนักรบบรรพชนผู้กล้าหาญ สู่เทวดาอารักษ์คลองกลาย

ทวดกลาย

ประวัติทวดกลาย

ทวดกลาย  นักรบบรรพชนและจอมขมังเวท ผู้ปกปักรักษาสะพานข้ามคลองกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช แทนความรู้สึกเคารพและแรงศรัทธา ที่มีต่อ ”ทวดกลาย” หรือ โต๊ะกลาย รูปปั้นชาย นั่งขัดสมาส มือทั้งสองข้างวางไว้บนเข่า ห่มสไบเฉียงและโพกหัวด้วยผ้าสีขาว ตั้งวางอยู่ในศาลาเชิงสะพานฝั่งตำบลสระแก้ว จุดสถิตจิตวิญญาณบรรพชน ที่คนในพื้นที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ดั่งเทวดาอารักษ์

ทวดกลาย
ทวดกลาย

ต่วนกูกลาย

         “พ่อท่านกลาย” มีเชื้อสายมาจากพระยาไทรบุรี กล่าวคือ ในครั้งแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาไทรบุรีได้นำนายหวาน (ต่วนกูหวาน) บุตรชายเข้าไปถวายให้เป็นมหาดเล็กของเจ้าฟ้านายรายณ์โอรสของพระเจ้าปราสาททอง เพื่อนมหาดเล็กด้วยกันมีนายทองคำ ลูกเจ้ากรมคชบาล นายเผื่อน ลูกเจ้าพระยาพิษณุโลก นายเหล็ก นายปาน ลูกเจ้าแม่วัดดุสิต นายน้อย ลูกเจ้าพระยาราชบังสัน นายสังข์ ลูกเจ้าพระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมา

            มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ ต่วนกูหนาด (พี่ใหญ่) เจ้านายนอกหน้า (หญิง) เป็นต่วนกูกลาย เป็นบุตรคนน้องสุดของเจ้าพระยานคร เฉพาะต่านกูกลายเป็นยอดทหารเอกของเมืองนครในสมัยนั้น มีความสามารถในการยุทธอาวุธที่ถนัดที่สุด คือ ดาบ (ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์สำคัญในพิธีเชิญเจ้าเข้าทรงในการเชื้อเชิญดวงวิญญาณของท่านในปัจจุบันนี้ด้วย) 

         “พ่อท่านกลาย” มีเชื้อสายมาจากพระยาไทรบุรี กล่าวคือ ในครั้งแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาไทรบุรีได้นำนายหวาน (ต่วนกูหวาน) บุตรชายเข้าไปถวายให้เป็นมหาดเล็กของเจ้าฟ้านายรายณ์โอรสของพระเจ้าปราสาททอง เพื่อนมหาดเล็กด้วยกันมีนายทองคำ ลูกเจ้ากรมคชบาล นายเผื่อน ลูกเจ้าพระยาพิษณุโลก นายเหล็ก นายปาน ลูกเจ้าแม่วัดดุสิต นายน้อย ลูกเจ้าพระยาราชบังสัน นายสังข์ ลูกเจ้าพระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมา

           ต่วนกูหนาด น้องหญิง และต่วนกูกลาย หักออกทางด้านตะวันตก พร้อมด้วยครอบครัวมากมายสู่ป่าหาที่พึ่งต่อไป หลังจากนั้นกองทัพกรุงก็เข้าจัดการปกครองเมืองนครต่อไป

          โดยต่วนกูทั้ง 3 พร้อมด้วยครอบครัวอิสลามยกไปสู่บ้านวังเลา (ตำบลกะหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ ปัจจุบัน) อยู่พักหนึ่ง แล้วถอยร่นออกมาหาลำน้ำใหญ่ คือคลองชุมขลิง (ในเขตตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา ปัจจุบัน) เพราะพื้นที่ดี เมื่อบ้านเมืองสงบก็ย้ายออกทุ่ง มาอยู่ที่บ้านจันพอ (ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลาปัจจุบัน) แล้วก็สร้างบ้านเมืองเป็นหลักฐานมั่นคงอยู่เป็นปกติมาหลายปี แต่ที่บ้านจันพอในสมัยนั้นขาดแคลนน้ำใช้ในการทำนา ช้าง ม้า วัว ควาย ต้องนำไปใช้น้ำที่คลองปากหรามตรงข้ามนบไทร บ้านแตะ (อำเภอพรหมคีรี – ปัจจุบัน) ตลอดมา ซึ่งที่นบไทรนี้มีบุคคลสำคัญอยู่คนหนึ่งเป็นหัวหน้า เป็นเศรษฐีมีข้าทาสมาก คนทั้งหลายเรียกว่า “ เศรษฐีนบไทร”           

ลงหลักปักฐาน

          อยู่มาวันหนึ่งบ่าวทาสของต่วนกูทั้ง 3 เกิดมีปากเสียงทะเลาะกันขึ้นกับข้าทาสของเศรษฐีนบไทร เรื่องน้ำใช้ที่คลองปากหราม เศรษฐีนบไทรว่ากล่าวเสียดสีต่วนกูทั้ง 3 ว่า “ เป็นถึงหัวหน้าจะหาน้ำให้ลูกน้องใช้ก็ไม่ได้ จนจะตาย” ต่วนกูทั้ง 3 เมื่อรู้เรื่องก็โกรธ จึงกะเกณฑ์พรรคให้ขุดคลองต่อจากคลองในเขียวถึงจัน พอ แล้วไปเชื่อมต่อกับลำน้ำที่ปากพยิง จึงมีน้ำใช้ตั้งแต่นั้นมาเนื่องจากความสมบูรณ์ของพวกจันพอ จึงทำให้เศรษฐีนบไทรเกิดการอิจฉาต่วนกู 3 พี่น้องขึ้น จึงร้องเรียนให้เจ้าเมืองนครคนใหม่ให้ทราบว่า “ต่วนกูทั้ง 3 พี่น้องคิดขบถ ซ่องสุมผู้คนไว้มากเพื่อต้องการเข้ายึดเมืองนครต่อไป ให้ทางบ้านเมืองเกณฑ์ทหารไปปราบเสียแต่เนิ่น ๆ “ เจ้าเมืองนครจึงเกณฑ์รี้พลออกไปปราบ พวกจันพอมีพรรคพวกน้อยกว่าแต่สู้เต็มที่ ในที่สุดต่วนกู้นาดตายในที่รบ น้องหญิงคือคือเจ้านายนอกหน้ากับต่วนกูกลายเห็นสู้ไม่ได้จึงพาพรรคพวกหนีเข้าป่าเขาลำเนาไพรมุ่งสู่กรุงชิง กรุงนาง บ้านนบ บ้านเปียน ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะอยู่ทางทิศตะวันตก (ในเขตกิ่งอำเภอนบพิตำ – ปัจจุบัน และเป็นถิ่นกำเนิดของคลองกลาย)  (กรุงชิงเป็นแหล่งที่เหมาะสมที่สุด อยู่บนภูเขาสูงมีที่ราบหลายหมื่นไร่ ภูเขาล้อมรอบมีลำธารไหลผ่าน ผัก ผลไม้ ปลา อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าที่ขึ้นชื่อของเมืองนคร มีไม้ที่มีค่า ตะเคียน หลุมพอ จำปา ฯลฯ ล้วนแต่ต้นใหญ่ ๆ และเป็นที่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ผู้ที่ขึ้นไปเคยพบกระเบื้องถ้วยชามโบราณซึ่งมีอายุมากมาย เคยพบกูบช้างกลายเป็นหินไปแล้วก็มี สันนิฐานว่า เป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณ)

           ต่วนกูกลายและเจ้านายนอกหน้าพร้อมกับพรรคพวกเมื่อหลบหนีขึ้นไปอยู่ตอนบนของคลองกลาย นานพอสมควร เห็นว่าทางบ้านเมืองติดตามไปรบกวนอีก ประจวบกับการทำมาหากินลำบากก็ถอนร่นลงมาอยู่ทางตอนล่างริมฝั่งคลองกลายแถวบ้านสระแก้วตลอดไปจดปากน้ำกลาย เป็นแห่งสุดท้าย จึงทำให้ครอบครัวอิสลามอาศัยอยู่ริมทะเลแถวปากน้ำกลายสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

           เมื่อต่วนกูกลายมาอยู่แถบนี้ ก็ตั้งหน้าทำมาหากินไป เนื่องจากต่วนกูกลายเป็นผู้มีวิชา ความรู้ มีความสามารถมีเวทมนต์คาถาแก่กล้าในวิชาไสยศาสตร์อยู่ยงคงกระพัน แต่มีใจเมตตา กรุณาต่อคนทั้งหลาย จึงทำให้เป็นที่เคารพนับถือยำเกรงต่อคนทั่วไป เป็นเหตุให้ต่วนกูกลายมีสมัครพรรคพวกเพิ่มมากขึ้นอีก กลายเป็นผู้มีอิทธิพลครองคนทั่วไปทั้งสองฝั่งคลองกลาย ตั้งแต่ตอนบนไปจดทะเล ข่าวนี้รู้ไปถึงเจ้าเมืองนครอีกครั้งหนึ่งจึงจัดทหารฝีมือดี 1 กองพันไปปราบ สั่งให้จับต่วนกูกลายให้ได้ เมื่อทหารยกไปถึงก็เกิดการต่อสู้กันขึ้น ทหารล้อมพรรคพวกของต่วนกูกลายไว้ได้ ต่วนกูกลายโพกศีรษะด้วยผ้าประเจียดพร้อมด้วยของขลัง มือถือดาบทั้งสองข้าง ออกต่อสู้กับทหารของเมืองนครอย่างไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น สองมือถือดาบกวัดแกว่งอย่างทะนงไม่กลัวความตาย แต่เนื่องจากพรรคพวกมีน้อยกว่ายางพวกก็วิ่งหนี บางพวกก็ตั้งหน้าสู้แต่น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ทหารจึงจับได้ตัวเจ้านายนอกหน้ากับพวกที่หนีไม่ทัน ลูกหลานกับข้าทาสหนีไปได้มากกว่าที่ถูกจับ พวกที่ถูกจับได้ถูกน้ำตัวส่งเจ้าเมืองนคร เจ้านายนอกหน้าเจ้าเมืองนครรับเลี้ยงดูเป็นภรรยาต่อไป เนื่องจากเป็นสตรีที่มีคุณสมบัติหลายประการ เช่น รูปสวย รวยทรัพย์ กิริยามารยาทดี ตระกูลดี เจ้าเมืองรักใคร่หลงใหลมากและเมื่อเจ้านายนอกหน้าท้องแก่ถึงกำหนดคลอด ก็อนุญาตให้ไปคลอดที่บ้านจันพอ ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของท่านมาก่อน เมื่อถึงเวลาคลอดแต่คลอดไม่ออกเลยเสียชีวิตทั้งแม่และลูก พวกลูกหลานได้เชิญศพไปฝังไว้กับศพของต่วนกูนาดซึ่งเป็นพี่ชาย

         ส่วนต่วนกูกลายได้ต่อสู้อยู่จนค่ำ ทหารก็ยังหาจับตัวไปถวายเจ้าเมืองนครไม่ได้ แต่ถึงคราวเคราะห์ดาบหลุดกระเด็นจากมือทั้งสอง เนื่องจากต้องต่อสู้กันมานานและฝ่ายตรงกันข้ามมีมากกว่าปัดป้องฟันแทงจนดาบกระเด็นจึงออกวิ่งหนีเอาตัวรอด หนีไปเรื่อย ๆ สูญหายไปหนึ่งสัปดาห์ไม่มีใครพบเห็น จนในที่สุดมีชาวมุสลิมคนหนึ่ง คนทั่วไปเรียกว่า “หว่าหลี”ได้พบศพของต่วนกูกลายลอยน้ำเข้ามาทางปากน้ำกลาย และศพนั้นไม่เน่าไม่เปื่อยและไม่เหม็น รูปร่างยังคงสภาพเดิม พวกลูกหลานจึงได้นำศพไปฝังไว้ที่ริมคลองกลายใกล้ ๆ กับปากน้ำกลาย (ทางฝั่งซ้ายของคลองกลาย ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่ฝังศพถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังทลายไป เมื่อ 50 กว่าปีมานี้เอง) (

ศาลาพ่อท่านกลาย หรือศาลาทวดกลาย

ทวดกลาย

      ศาลาพ่อท่านกลายและศาลาตาหมื่นเห็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลนบพิตำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคนมาเคารพสักการะบูชาของชาวนบพิตำและบุคคลทั่วไป และหน้าศาลาพ่อท่านกลายสามารถเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีจุดชมวิว ดูแม่น้ำคลองกลาย มีโขดหินให้นั่งเล่น 

      และเป็นที่รู้กันว่าทุกครั้งที่ขับรถผ่านไปทางสิชลก่อนข้ามสะพานกลาย ทางด้านซ้ายมือจะมองเห็น “ศาลทวดกลาย” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของพี่น้องแถบนี้ ความศรัทธาในการบนบาน บอกกล่าว เห็นได้จากเสียงบีบแตรรถ ไก่ชน เสียงปะทัด แผ่นทองคำเปลวที่ถูกปิดจนเหลืองอร่ามไปทั่วรูปปั้น ผ้าสีขาว รูปปั้นไก่ และการทรงเจ้าเข้าทรงในทุกๆปีแทนคำบ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ หลังคำตั้งจิตอฐิษฐาน สัมฤทธิ์ผล โดยเฉพาะขอให้หายเจ็บป่วย ขอให้สอบเข้าเรียนหรือทำงานได้ตามต้องการ รวมไปถึงความเชื่อที่ว่า “คนสองฝั่งคลองไม่กล้าทำความสกปรกลงในคลองสายนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหมู เพราะเชื่อว่า ทวดกลายเป็นมุสลิม” อัศจรรย์แห่งเรื่องเล่า ยิ่งตอกย้ำความเลื่อมใสของผู้คน ความแตกต่างในทางศาสนาไม่อาจบดบังแรงศรัทธา ความเชื่อในบารมีของคนมีอาคมจะปกปักรักษานำมาสู่การตั้งศาลเคารพบูชา“ท่านเป็นนักรบ ที่ต่อสู้กันแล้วมีวิชาคาถาอาคมอะไรอยู่มากมาย รวมทั้งมีความเมตตาต่อชาวบ้าน และก็เลยเป็นที่เคารพนับถือของคนในละแวกสายน้ำนี้ คือสายน้ำกลายตั้งแต่นบพิตำ กรุงชิง ลงมาไล่มาแล้วมาออกทะเลที่นี่ พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นพื้นที่เคารพนับถือพ่อท่านกลาย”มาวันนี้ ลูกหลานรุ่นหลังแทบจะจดจำเรื่องทวดกลายไม่ได้ ลืมไปว่าก่อนหน้านี้ไม่นาน ทวดกลาย คือ สิ่งยึดเหนี่ยวของคนแถบนี้ทั้งพี่น้องพุทธ มุสลิม โดยมีศรัทธาเป็นตัวตั้งมากกว่าการสร้างรูปเคารพที่ผิดหลักศาสนา วันนี้ทวดกลายเป็นที่พึ่งหนักไปในเรื่องอันควร เห็นได้จากรูปไก่ชนรายรอบ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า ทวดกลายยังคงเฝ้ามอง และปกป้องคนแถบนี้ เสมือนว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ทวดกลาย ศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์ คงไม่เป็นตำนานและรอยศรัทธาที่ผ่าน วันเวลา เป็นแน่แท้ หากลูกหลานทวดกลาย รักษาทรัพยากรและความดีงาม รวมทั้งปากน้ำกลายให้เป็นดังเดิมแม้ทวดกลายจะสิ้นลมหายใจไปกว่า 200 ปีแล้ว แต่ความเคารพนับถือหาได้เลือนหายไปตามวันเวลา..ทุกวันนี้เรื่องเล่าในอภินิหารเหนือธรรมชาติยังถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น (ญาดา, ม.ป.ป.)

 ข้อมูลอ้างอิง : ญาดา. (ม.ป.ป.). ทวดกลาย…นักรบบรรพชน และจอมขมังเวท ความศรัทธา 200 ปี ยังเข้มขลัง. https://www.nakhononline.com/1546/

ศาลาทวดกลายเดิมมี 3 จุด อยู่ที่อำเภอนบพิตำ 2 จุด คือต้นน้ำ และกลางน้ำ ส่วนจุดที่ 3 อยู่ที่อำเภอท่าศาลาเชิงสะพานกลาย ปัจจุบันมีเพิ่มอีกหนึ่งจุดคือปากทางเข้าเหมืองแร่ ริมคลองกลาย อำเภอนบพิตำ (จุดนี้ไม่มีภาพถ่าย)

Visits: 1762

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.