ตลาดแขก : ชุมชนพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา

ตลาดแขก : ชุมชนพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา

ตลกดแขก

ตลาดแขก เป็นชุมชนมุสลิมของจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นเมืองที่มีผู้คนหลายเชื้อชาติและหลายศาสนาอยู่ร่วมกัน มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมบริเวณรอบนอกเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มุสลิมอพยพเข้ามาตั้งชุมชนย่านการค้าของเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับตั้งมัสยิดและตั้งตลาดของชาวมุสลิมขึ้นบริเวณกลางเมืองนครศรีธรรมราชจุดที่ถนนราชดำเนินตัดกับถนนพะเนียด เรียกกันว่า ‘ตลาดแขก’ ปัจจุบันมีชุมชนมุสลิมอยู่บริเวณนี้ 3 ชุมชน คือ ชุมชนพะเนียด ชุมชนท่าช้าง และชุมชนตลาดแขก เป็น “ชุมชนไร้รอยต่อทางศาสนา” และมีชุมชนหลังวัดพระมหาธาตุ รวมเป็น 4 ชุมชนไร้รอยต่อ ผู้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นชุมชนแห่งความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

สี่แยกตลาดแขก คือ จุดที่ถนนราชดำเนินตัดกับถนนพะเนียด มีชุมชนไร้รอยต่อทางศาสนาอยู่บริเวณนี้ 3 ชุมชน คือ ชุมชนพะเนียด ชุมชนท่าช้าง ชุมชนตลาดแขก

ตลาดแขก
  • สี่แยกตลาดแขก เป็นจุดที่ถนนราชดำเนินตัดกับถนนพะเนียด
  • ชุมชนมุสลิมดั้งเดิมที่นครศรีธรรมราช
  • เป็นที่ตั้งถิ่นฐานเดิม อาคาร บ้านเรือนเก่าแก่ของชาวมุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช 
  • วิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม ตามความเชื่อทางศาสนา สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น 
  • มัสยิดเก่าแก่ประจำชุมชน มัสยิดญาเมี๊ยะ และมัสยิดซอลาฮุดดีน
  • เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช 
  • เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากความเก่าแก่ของชุมชน คุณค่าของอาคาร บ้านเรือน และมัสยิด
  • ถนนพะเนียด ถนนสายนี้อดีตเคยเป็นที่เลี้ยงช้างและฝึกช้างของเมืองนครศรีธรรมราช
  • เปิด “ถนนรอมฎอน” โดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราชใช้ถนนพะเนียด จากแยกถนนราชดำเนิน จากสี่แยกตลาดแขกไปทางตะวันออก จดถนนพัฒนาการคูขวาง เปิดให้ขายอาหารสำหรับละศีล-อด ปิดถนนในช่วงเวลาเย็นถึงกลางคืนเพื่อให้เดินซื้ออาหารด้วยความสะดวก มีประชาชนมาซื้อขายกันจำนวนมาก และคึกคักเป็นพิเศษตลอดทั้งเดือน
  • มุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษมาจาก ปัตตานี กลันตัน เคดาห์ และไทรบุรี เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง ท่าศาลา หัวไทร สิชล ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ และขยายพื้นที่ไปยังอำเภออื่น ๆ

เป็นผลจากสงครามระหว่างสยามกับหัวเมืองมาลายู ในปี พ.ศ. 2329 – 2334 เมืองเคดาห์ และเมืองไทรบุรี ถูกยึดครองโดยกองทัพไทย  

ปี พ.ศ. 2364 และ 2382 เมืองเคดาห์ถูกแบ่งเป็น 4 หัวเมือง คือ เมืองเคดาห์หรือไทรบุรี กูบังบาซู เปอร์ลิส สตูล และนครศรีธรรมราช 

จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอกของภาคใต้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยมีมุสลิมจากเมืองสตูล เปอร์ลิส และเคดาห์เข้ามาตั้งถิ่นฐาน 

มุสลิมรุ่นแรก ๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานแถบบ้านหน้าเมือง ตลาดแขก ตำบลคลัง ตำบลนาเคียน ตำบลปากพูน ตำบลท่าเรือ ตำบลปากพูน และเขตอำเภอท่าศาลา บ้านโคกยาร่วง ตำบลโมคลาน, บ้านกลาง ตำบลโพธิ์ทอง ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานริมชายฝั่งอ่าวไทย ต่อมาได้ขยายไปยังพื้นที่ด้านในของจังหวัด อำเภอร่อนพิบูลย์ ชะอวด บางขันธ์ และทุ่งใหญ่

 

1. ชุมชนท่าช้าง

ตลาดแขก ชุมชนท่าช้าง

อดีตเคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าช้าง ปัจจุบันคือ “มัสยิดซอลาฮุดดีน” ที่เรียกกันว่าท่าช้างเพราะเป็นที่อาบน้ำของช้าง บริเวณนี้มีลําคลองหลายสาย เลยมีคนเลี้ยงช้าง นําช้างมาอาบน้ำจำนวนมากเรียกกันติดปากว่า “ท่าช้าง” ในปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจัดตั้งเป็นชุมชนชื่อว่า “ชุมชนท่าช้าง” ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ที่อยู่ : ตั้งอยู่ ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อาณาเขต :  

ทิศเหนือ ติด ถนนกะโรม

ทิศใต้ ติด คลองหน้าเมือง (สะพานนครน้อย)

ทิศตะวันออก ติด ถนนราชดำเนิน

ทิศตะวันตก ติด ทางรถไฟ

 

มัสยิดซอลาฮุดดีน

หอพระวิหารสูง

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

สนามหน้าเมือง

พระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5

แหล่งเครื่องถมเมืองนคร

หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

สถานที่ตํารวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชนเก่า

ตึกอาคารเก่า บ้านไม้โบราณ

ที่มา: https://www.nakhoncity.org/document/plan/plan2563.pdf

2. ชุมชนพะเนียด

ตั้งเป็นชุมชนเมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาม ชื่อชุมชนตั้งตามชื่อถนน ชื่อซอย
พะเนียด มาจาก พะเนียดคล้องช้าง เพราะเคยเป็นสถานที่เลี้ยงช้างและฝึกช้างของเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ใกล้กับประตูเมือง และท่าช้าง

ตลาดแขก ถนนราชดำเนิน

ที่อยู่ : ถนนพะเนียด ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อาณาเขต :

    • ทิศเหนือ ติด ชุมชนบ่ออ่าง

    • ทิศใต้ ติด ชุมชนตลาดแขก

    • ทิศตะวันออก ติด ถนนพัฒนาการคูขวาง

    • ทิศตะวันตก ติด ถนนราชดำเนิน

มัสยิดญาเมี๊ยะ

ชุมชนเก่า

ตึกอาคารเก่า บ้านไม้โบราณ

ถนนรอมฎอน

ที่มา : https://www.nakhoncity.org/document/plan/plan2563.pdf

3. ชุมชนตลาดแขก

ตลาดแขก ถนนราชดำเนิน

3. ชุมชนตลาดแขก

เรียก “ตลาดแขก” เรียกตามประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม จัดตั้งเป็นชุมชนตลาดแขก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557

ที่อยู่ : ถนนพะเนียด ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อาณาเขต :

  • ทิศเหนือ ติดชุมชนพะเนียด
  • ทิศใต้ ติดชุมชนประตูขาว
  • ทิศตะวันออก สุดเขตเทศบาล
  • ทิศตะวันตก ติดถนนราชดําเนิน

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของวัดประตูขาวในอดีตและปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ.นครอุทิศ

ชุมชนเก่า

ตึกอาคารเก่า บ้านไม้โบราณ

ถนนรอมฎอน

  •  
  • พลตํารวจตรี ขุนพันธรักษราชเดช (มือปราบสิบทิศกรมตํารวจ และผู้ริเริ่ม กอสร้างศาลหลักเมือง)
  •  
  •  

ที่มา: https://www.nakhoncity.org/document/plan/plan2563.pdf

3. ชุมชนหลังวัดพระธาตุ

ชุมชนหลังวัดพระมหาธาตุ มัสยิดนูรุลมูบีน (บ้านสวนมะพร้าว)

ที่อยู่ : ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดหลังพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ เรียกอีกชื่อว่า “วัดหรดีพระธาตุ” ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดหลังพระ” หรือ “วัดแม่ชี” ต่อมาเป็นวัดร้าง กรมการศาสนาจึงอนุญาตให้ใช้พื้นที่วัดร้างแห่งนี้จัดตั้ง มัสยิดบ้านสวนมะพร้าว ชื่อเป็นทางการว่า “มัสยิดนูรุลมูบีน” ชุมชนมุสลิมบ้านสวนมะพร้าว หลังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นบทพิสูจน์แห่งสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อที่งดงาม @นครศรีธรรมราช 

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

มัสยิดนูรุลมูบีน

วัดชลเฉนียน

ชุมชนบริเวณสี่แยกตลาดแขก และชุมชนหลังวัดพระมหาธาตุ เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม เป็นชุมชนไร้รอยต่อทางศาสนา เป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราช ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สงบสุข ช่วยเหลือกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม เกื้อกูลเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกัน การนับถือศาสนาของผู้คนในชุมชนไม่ได้มีนัยยะสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ความเก่าแก่และคุณค่าของตัวอาคาร ถือได้ว่าทั้ง 4 ชุมชนเป็นชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีมัสยิดที่เก่าแก่คือ มัสยิดญาเมี๊ยะ และมัสยิดซอลาฮุดดีน ที่ตลาดแขก และมีมัสยิดนูรุลมูบีน (บ้านสวนมะพร้าว) ที่ชุมชนหลังวัดพระมหาธาตุ  (http://phramahathat-heritage.com/2017/03/29/วัดเก่าแก่บนสันทรายเมืองนครศรีธรรมราช-ตอนที่-4/)

ตลาดแขก ไร้รอยต่อทางศาสนา
ชุมชนไร้รอยต่อทางศาสนา โดมมัสยิดญาเมี๊ยะ และหลังคาโบสถ์วัดมเหยงคณ์ นครศรีธรรมราช

ความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ชุมชนไร้รอยต่อทางศาสนา

ชุมชนมีองค์ประกอบที่ดี คือ พื้นฐานชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้คนในชุมชน

การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน การพบปะ พูดคุย ร่วมกันแก้ปัญหาและลดความขัดแย้งในชุมชนาไม่ได้มีนัยยะสำคัญในการอยู่ร่วมกันของผู้คนในชุมชน ความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ไร้รอยต่อ

ศาสนาไม่ได้มีนัยยะสำคัญในการอยู่ร่วมกันของผู้คนในชุมชน ความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ไร้รอยต่อ

ข้อมูลอ้างอิง

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช กองวิชาการและแผนงาน. (2559). แผนพัฒนาชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประจำปี พ.ศ. 2563.              https://www.nakhoncity.org/document/plan/plan2563.pdf

ตลาดแขก. (2018).  https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/4309

มุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2553).  https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9188/7/Chapter3.pdf

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. (2017). วัดเก่าแก่บนสันทรายเมืองนครศรีธรรมราช ตอนที่ 4.  http://phramahathat-heritage.com/2017/03/29/วัดเก่าแก่บนสันทรายเมืองนครศรีธรรมราช-ตอนที่-4/

Views: 1071

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.