ประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128

ประตูทางเข้าวัดพระมหาธาตุ มีทั้งหมด 4 ประตู คือประตูแรก ชื่อว่า ประตูเยาวราช  เป็นประตูที่ พระเจ้่าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพระยุพราช ได้สร้างไว้ ประวัติการสร้างประตูเยาวราช ประตูทีรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาเมือครั้งยังดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศเป็น พระยุพราช เมือ คราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักต์ใต้ ร.ศ.128 (2452) และได้พระราชทานนามว่า”ประตูเยาวราช”ลักษณะประตู ประตู เยาวราชเป็นประตูกลาง เป็น ประตูซุ้มขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายปูนปั้น ฐานย่อไม้่สิบสอง เป็นเรือนจตุรมุขด้านหนึ่งมีหน้ามุขสองชั้น หน้าบันด้านหน้าทำเป็นรูปพระเกี้ยวและมีตัวหนังสือบอกว่า ร.ศ.128 หน้าบันด้านหลังทำเป็นลวดลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑจุดนาค หน้าบันด้านเหนือใต้ทำเป็นรูปเทพพนมประกอบลายไทยยอดซุ้มทำเป็นรูปยอดพระมหามงกุฎ

วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

เมื่อเราไปกราบไหว้เพื่อสักการะองค์พระธาตุเจดีย์ ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  ซึ่งมีประตูทางทั้งด้านหน้าและด้านหลังรวมกันจำนวน ๕ ประตู โดยแบ่งเป็นทางด้านหน้าทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำเนิน ส่วนด้านหลังทิศตะวันตกติดถนนพระบรมธาตุ  ซึ่งประตูตรงกลางติดกับถนนราชดำเนิน จะมองเห็นวิหารธรรมศาลา และองค์พระธาตุเจดีย์ จะมีชื่อว่า “ประตูเยาวราช”

ประตูเข้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทางด้านหน้านั้นมีอยู่ ๓ ประตู ซึ่งเป็นประตูกลางที่ตรงกับวิหารธรรมศาลา เรียกว่า ประตูเยาวราช

ประตูเยาวราช ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดํารงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสนครศรีธรรมราช และเสด็จวัดพระมหาธาตุด้วย ในการเสด็จคราวนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูกลางของวัดพระมหาธาตุเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มประตูขนาดใหญ่ มีลายปูนปั้นประดับ จารึกปีที่สร้าง คือ ร.ศ. ๑๒๘ มีซุ้มทิศด้วย ยอดของซุ้มประตูเป็นแบบพระมหามงกุฎ และพระราชทานนาม ว่า ประตูเยาวราช 

ต่อมาได้มีการทําซุ้มประตูที่เหลืออีก ๒ ประตู โดยพระรัตนธัชมุนี (คุณฐาภรโณ เถร-แบน เปรียญ) เจ้าอาวาส เป็นประธานอํานวยการ โดยความช่วยเหลือของพระภัทรธรรมธาดา (โสภิโต) เป็นช่าง พระภัทรมุขมุนี (กนฺตสีโล) พลตํารวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช และนายชุบ ไชยคีรี เป็นผู้จัดหาทุน สร้างประตูทางเหนือและใต้ของประตูเยาวราชอีก ๒ ประตู แต่ไม่มีการตั้งชื่อประตูที่สร้างขึ้นนี้ (วิเชียร ณ นคร และคณะ, 2521, น. 462)

ในมุมมองของภูมิ จิระเดชวงศ์ (2565) มองว่าซุ้มประตูเยาวราช ซึ่งก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 มีความงดงามเป็นอัตลักษณ์อย่างลงตัว และมักจะบอกกล่าวทุก ๆ คนเสมอว่า เป็นซุ้มประตูที่มียอดเป็น เทริดโนรา เพราะพิจารณาหลาย ๆ มุม มาตั้งแต่เด็ก ๆ มองกี่ครั้งก็มีลักษณะเหมือนเทริดโนรา ซึ่งมีความงดงามและสอดคล้องกันเป็นอย่างยิ่ง

ข้อมูลอ้างอิง

ภูมิ จิระเดชวงศ์. (13 พฤษภาคม 2565). มองกี่ครั้ง ก็ยังคงเหมือน เทริดโนรา. วัดศรีทวี (วัดท่ามอญ). https://watsritawee.org/article-381/

วิเชียร ณ นคร, สมพุทธ ธุระเจน, ชวน เพชรแก้ว, ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ และ ปรีชา นุ่นสุข. (2521).  
          นครศรีธรรมราช. อักษรสัมพันธ์.

Series Navigation<< เจดีย์ราย รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ : เจดีย์แห่งองค์พระมหาสาวกวิหารเขียน : จากสถานที่ฝีกเขียนหนังสือและจดจาร คัดลอก เขียนพระไตรปิฎก สู่พิพิธภัณฑ์ของวัด >>

Views: 434

This entry is part 11 of 21 in the series วัดพระธาตุ

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

You are currently viewing ประตูเยาวราช ประตูแรกที่สร้างตั้งแต่ ร.ศ. 128