เส้นทางศึกษาธรรมชาติ : สัมผัสบรรยากาศป่าดงดิบริมน้ำตกพรหมโลก

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

         เส้นทางศึกษาธรรมชาติ น้ำตกพรหมโลก อีกหนึ่งเส้นทางศึกษาธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมชาติ ถึงแม้จะมีระยะทางการเดินเพียง 600 เมตร ใช้เวลาเดินไป-กลับประมาณ 45-60 นาที  แต่มีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย ด้วยเป็นเส้นทางธรรมชาติเลียบน้ำตก ที่ชวนให้เดินสบาย ๆ ไม่เหนื่อย
         ตลอดเส้นทาง  เราจะได้สัมผัสป่าดงดิบริมลำธารและพรรณไม้หลากชนิด และเมื่อเดินเข้าสู่ช่วงที่มีน้ำตก เราจะได้เห็นความสวยงามและความยิ่งใหญ่ของสายน้ำ นอกจากนี้บริเวณน้ําตกยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คือ พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก.
         และช่วงเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะได้ยินเสียงน้ำตกตลอด จากหนานชั้นน้ำตกด้านขวาเบาบ้างหนักบ้างตามกระแสน้ำแต่ละระยะ มีช่วงแวะพักหนานทั้ง 3 เพื่อดื่มด่ำกับสายน้ำตกที่โอบล้อมไปด้วยป่าอันยิ่งใหญ่ สายน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผา และไหลผ่านโขดหิน ไปยังแผ่นหินน้อยใหญ่สลับกันไป ชวนให้เราหย่อนขาหรือตัว สัมผัสสายน้ำใส เย็น เพื่อเรียกความสดชื่นและเติมพลังให้ชีวิต

         เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นสื่อกลางสำหรับการสื่อความหมายให้มนุษย์เข้าใจในธรรมชาติ เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ และการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ การปลูกป่าในพื้นที่ ปลูกเท่าไรก็ได้พื้นที่ป่าเท่านั้น ได้ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม แต่การปลูกป่าในใจคนผ่านการสื่อความหมายในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ให้ผลที่กว้างขวางกว่านั้น หากเราสร้างความตระหนักให้รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างรู้ถึงคุณค่าความสำคัญให้เกิดขึ้นในใจของทุกคนได้ เราอาจไม่จำเป็นต้องปลูกป่าอีกเลย เพราะป่าคงอยู่และฟื้นคืนความสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ไม่บุกรุกแผ้วถาง ตัดไม้ทำลายป่า เมื่อมีป่าก็มีน้ำ มีสัตว์ป่า มีระบบนิเวศอันอุดสมบูรณ์ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้ สรุปคือ ถ้าต้องการปลูกป่าให้ได้ผลอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การปลูกป่าในใจคน เส้นทางศึกษาธรรมชาติจะทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติมากยิ่งขึ้นถึงความสำคัญนั้น (วิทยา นวปราโมทย์, 2561) 

          และเส้นทางการเดินในครั้งนี้ ระยะทางเพียงแค่น้ำตกหนานที่ 4 และเป็นการเดินเลียบน้ำตกเท่านั้น ไม่ได้เดินขึ้นเขาเพื่อไปถึงยอดพรหมโลก คนที่เคยเดินศึกษาธรรมชาติยอดเขาพรหมโลก พบว่ายอดเขาพรหมโลกมีสภาพบนยอดเป็นลักษณะเป็นป่าโบราณ ด้วยความสูงประมาณ 1,530 เมตร และมีทางแยกสำหรับการเดินลงมาจากทางน้ำตกอ้ายเขียวได้ด้วย (StoryTripper, 2563) หากเราต้องการเดินป่าแบบระยะไกลและสูงจริง ๆ คงต้องหาผู้นำทางและติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงให้เป็นทางการ เพราะการเดินป่าแบบนี้ต้องใช้เวลาหลายวันบนยอดเขา

             เมื่อเริ่มต้นเดิน จะเริ่มต้นตั้งแต่ป้ายชื่อน้ำตกพรหมโลก ช่วงนี้จะมีป้ายบอกเล่าเรื่องราวของลักษณะนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตบริเวณน้ำตก เพราะสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งพิเศษที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้บริเวณน้ำตกแห่งนี้ ป้ายจะปักเป็นระยะริมธารตลอดช่วงน้ำตกชั้นที่ 1 หนานวังน้ำวน และป้ายที่เป็นจุดเด่นของที่นี่อีกประเภท คือป้ายห้ามนักท่องเที่ยว ห้ามเข้า ห้ามลงเล่นน้ำ เนื่องจากน้ำตกพรหมโลกเป็นน้ำตกใหญ่ท่ามกลางป่ากว้าง มีลักษณะเป็นแผ่นหินกว้างใหญ่  รวมถึงมีกระแสน้ำวนอยู่ด้วย จึงเป็นอันตรายสำหรับนักท่องเที่ยวมาก จึงมีป้ายเตือนห้ามลงเล่นน้ำหลายจุดมาก  ว่าแล้วเราเริ่มต้นกันเลย

น้ัำตกชั้นที่ 1 หนานวังน้ำวน

1. เฟินต้น พืชโบราณ พัฒนาการดี

         เฟิน จัดเป็นพืชโบราณ  พัฒนาจากพืบที่อาศัยอยู่ในน้ำแล้วขึ้นมาอยู่บนบก จึงมีเพียงใบและรากที่เชื่อมต่อกับเหง้า ยังไม่มีลำต้นที่แท้จริง ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ลมพัดแพร่กระจายสปอร์ให้ไปตกอยู่ในที่ชุ่มชื้น

         แต่ในธรรมชาติมักมีเรื่องราวเกินคาดให้เห็นเสมอ ๆ ดังเช่น เฟินต้นเป็นเฟินสายพันธุ์หนึ่งที่พัฒนารากให้บีบอัดกันเป็นแท่งแข็งแรง และยึดตัวชะลูดขึ้นดูเหมือนลำต้นใหญ่สูงได้ราว 10 เมตร และสามารถแบกรับน้ำหนักใบใหญ่ขนาด 3-5 เมตร ได้นับสิบใบ ความสูงทำให้ลมพัดพาสเปอร์ไปตกในที่โล่ง หรือในที่ที่ป่าถูกโค่นเพื่อขยายพันธุ์ได้ดีกว่าเฟินขนาดเล็กทั่วไป

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกพรหมโลก

        ช่วงเริ่มต้นการเดินศึกษาธรรมชาตินี้จะเริ่มจากพื้นราบ ไปตามเส้นทางที่ปูด้วยหินแผ่นไปยังหนานชั้นที่ 1  บริเวณนี้จะปกคลุมไปด้วยต้นเฟินเล็ก ใหญ่ ปนกันไป เรียกว่าดงเฟินขนาดย่อมก็ได้ 

2. ชีวิต ต้นไม้บนกองหิน

          กองหินแกรนิตที่กลมมนกลุ่มนี้มีพืชพรรรณหลากหลายชนิด ต่างเลือกที่อยู่อาศัยกันอย่างลงตัว ด้านที่ชันมาก ความชื้นน้อย แทบไม่มีดินเลย จะเป็นที่อยู่ของไลเคน ผู้ดำรงชีพเพียงเศษฝุ่นละอองและไอน้ำในอากาศเพียงเล็กน้อย ส่วนมอสส์สีเขียวเข้มอัดตัวแน่นราวกับพรม เลือกอยู่ในที่ชื้นมากขึ้น เพราะต้องอาศัยน้ำงอกขยายพันธุ์เกิดใหม่เป็นต้น

          ขณะที่บริเวณด้านบนของก้อนหินมีดินสะสมค่อนข้างหนา ก็เป็นที่เติบโตงอกงามของไม้เลื้อย ส่วนไม้สูงใหญ่ที่ขึ้นได้บนกองหิน  เริ่มต้นจากเมล็ดงอกบนซากพืชที่ผุพัง แล้วค่อย ๆ แทงรากออกไปโอบรัดหินเพื่อทรงตัว และยึดรากอีกส่วนหนึ่งมุ่งลงดินหากินน้ำอาหารเลี้ยงชีพ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

            ถัดจากดงเฟิน จะมีบันไดเพื่อไปชมน้ำตกด้านซ้าย และมีทางเดินให้เดินไปยังคลองปลาแงะที่มีฝูงปลามากมายหลายร้อนตัวแหวกว่ายให้เราได้ชื่นชม มีร้านค้าสวัสดิการให้ซื้อเสบียงสำหรับรองท้อง หรือจะลงไปชมน้ำตกในแอ่งน้ำที่ไม่ลึกมากนัก อุทยานฯ อนุญาตให้เล่นน้ำบริเวณนี้ได้

3. เตยป่า สร้างตนอยู่ชายน้ำ  

            ต้นเตยเป็นผลงานพิเศษจากธรรมชาติที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถขึ้นอยู่ได้ตจามแผ่นหินที่มีน้ำไหลบาง ๆ ด้วยวิธีการเฉพาะตัว เริ่มจากการแตกรากอากาศมาช่วยค้ำยันลำต้น จากนั้นสร้างความแข็งแรงด้วยระบบข้อปล้องถี่ ๆ ใบให้แตกเป็นกระจุกที่ปลายยอด และจัดเรียงใบปิเวียนเพื่อให้ได้รับแสงแดดจ้าได้ทั่วถึงทุกใบ ส่วนการสืบพันธุ์ ใช้กลยุทธ์ออกดอกสีขาวเพื่อให้แมลงเห็ได้ง่ายทั้งกลางวันกลางคืน และสร้างกลิ่นหอมเป็นเครื่องนำทางมาผสมเกษรอีกด้วย

            ดูจะไม่เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวมากนัก เพราะกอเตยที่มีอยู่ไม่มาก เป็นกอเล็ก ๆ งอกอยู่ด้านซ้ายของขั้นบันไดก่อนเดินขึ้นไปด้านบน

4. วิถีไม้เล็ก ๆ กลางลานหิน

         บนลานหินแกรนิตนี้ มีแนวเส้นตรงที่เกิดจากแรงบีบอัดของเปลือกโลก ซึ่งจะสะสมน้ำไว้และเกิดปฏิกิริยาทางเคมี กัดกร่อนเป็นร่องลึก ในฤดูร้อนลมพัดเศษใบไม้ตกลงมาทับถมแล้วผุพังย่อยสลายกลายเป็นดิน

          หากเกิดดินได้เพียงเล็กน้อย หญ้าที่มีรากตื้น มีตาอยู่กับลำต้นใต้ดินก็จะยึดครอง ส่วนไม้ยืนต้นชนิดที่มีซ่อนไว้ใต้เปลือก จะเลือกมางอกที่มีดินลึกในฤดูฝน หากปีใดที่มีน้ำหลากรุนแรงก็จะพัดหักลำต้นให้ฉีกขาดเสียหาย ตาของหญ้า และไม้ยืนต้นชุดนี้ก็จะแตกลำต้นใหม่ขึ้นทดแทนได้ในเวลา 2-3 วัน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

5. ระกำ หนามขนเม่น

         ระกำเป็นพืชพื้นล่างของป่าดิบชื้น ลำต้น ยอดอ่อน และก้านใบ นุ่มเปราะ จึงสร้างผิวเปลือกให้เหนียวแข็ง และดัดแปลงใบด้านล่างเป็นหนามแหลมเหมือนขนเม่นเป็นอาวุธป้องกันภัย ระกำมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น จึงปรับกลยุทธ์ใช้กลิ่นหอมเฉพาะตัวเป็นเครื่องนำทางแมลงให้ช่วยผสมพันธุ์ โดยมีน้ำหวานเป็นสิ่งตอบแทน

          ผลระกำเป็นอาหารอันโอชะของสัตว์ป่า แต่ไม่ง่ายนักหากจะเข้าถึง เพราะนอกจากเปลือกผลเป็นเกล็ดหนามแล้ว ผลอ่อนยังสร้างต่อมน้ำหวานเป็นสินจ้างให้มดมาเป็นทหารช่วยป้องกัน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

6. กลไกชีวิตในป่าใหญ่

         ป่าดงดิบชื้นมีการดำรงชีพที่แก่งแย่งแร่ธาตุอาหาร น้ำ แสงแดด และอยู่ร่วมพึ่งพาอาศัยกันและกันที่น่าสนใจ อาทิเช่น กลุ่มต้นไม้ใหญ่ที่สุดจะสูงเหนือต้นไม้ใหญ่ ได้รับแสงและลมตลอดเวลา ต้นไม้ชั้นรองต่ำลงมา ปรับตัวอยู่กับแสงแดดน้อยลง จะมีเรือนยอดอันเบียดกันแน่นจนกลายเป็นถนนให้ลิง ค่าง ชะนี เดินไปมาหากินได้สะดวก

        บริเวณใกล้พื้นดินแสงเพียงรำไร ต้นไม้พัฒนาการสังเคราะห์แสงในหลายแบบ เช่น สร้างใบสีเขียวเข้มมากขึ้น หรือสร้างแถบสีขาวบนหลังใบหรืแสร้างสีม่วงแดงไว้ใต้ใบ ส่วนกลุ่มไม้เุถาวัลย์ จะพัฒนาลำต้นให้ยาวไปเลื้อยเกาะเกี่ยวต้นไม้ใหญ่ขึ้น ไปรับแสงแดดจ้า ส่วนที่ตามลำต้น หรือตามกิ่งไม้ จะมีกลุ่มไม้ขนาดเล็ก เช่น เฟิน กล้วยไม้ ใช้วิธีการปะติดด้วยรากและอยู่รอด เพียงอาศัยละอองน้ำซากใบไม้ที่หล่นมาเพื่อกินเป็นอาหาร  

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

7. น้ำตกพรหมโลก ขนแร่ส่งน้ำให้มวลชน

      น้ำใสไหลเย็นในห้วยบนขุนเขาที่สูงชันนี้สร้างความชุ่มฉ่ำแด่ผู้มาเยี่ยมชม แต่ในฤดูฝน น้ำกลับเปลี่ยนบทบาทเป็นนักเจาะพื้นท้องห้วย เริ่มจากกระแสน้ำป่าที่ไหลเชี่ยวกราก พัดพาหินดินทรายไหลไปตามท้องห้วย
      เมื่อกระทบกับรอยแตกของหิน เม็ดทราย จะถูกกระแสน้ำปั่นให้หมุนวนอย่างรุนแรง ปรับเม็ดทรายให้กลายเป็นหัวเจาะขุดลึกลงในแนวดิ่ง เมื่อรูกว้างขึ้น กรวดเล็กใหญ่จะลงมาสมทบ บด ถู หลุมให้กว้างขึ้นทุกฤดูฝน หลุมนี้ถูกเรียกขานว่า “กุมภลักษณ์ หรือ บ่อรูปหม้อ” (Pothole)
      เมื่อเดินเข้าใกล้น้ำตกพรหมโลกจะได้ยินเสียงกึกก้องปานประหนึ่งเครื่องจักรกำลังทำงาน ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะน้ำปริมาณมหาศาลจากป่าที่บรรจุด้วยแร่ธาตุ อาหาร ตะกอนดิน ก้อนหินหลากขนาด และเม็ดทราย ไหลลงมาอย่างรวดเร็วด้วยแรงดึงดูดของโลก ขัดถูหน้าผาหินแกรนิตที่สูงชันให้เรียบ เป็นมัน จากนั้นก็ตกลงกระแทกแอ่งน้ำ ปั่นหมุนกระแสน้ำ ทำให้เศษทราย ขัดเกลาแอ่งน้ำให้ลึกมากขึ้น
      สายน้ำนี้ยังคงไหลด้วยความเร็วปะทะก้อนหินใหญ่น้อยตลอดลำห้วย น้ำที่แตกกระเซ็นสัมผัสอากาศ ได้เพิ่มออกซิเจนเก็บเข้าไปในน้ำ เพื่อพืชและสัตว์น้ำได้ใช้ดำรงชีพ ต่อจากนั้นสายน้ำได้ไหลลงสู่ที่ราบ ผ่านชุมชนคลองท่าแพ แล้วส่งมอบแร่ธาตุอาหาร สู่ท้องทะเลที่อ่าวปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (มูลนิธิไทยรักษ์ป่า, 2022)

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกพรหมโลก

8. วันเวลาแห่งประวัติศาสตร์ น้ำตกพรหมโลก

           วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2502  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังน้ำตกพรหมโลก ก่อนถึงต้องทรงเปลี่ยนรถยนต์พระที่นั่ง เพราะถนนในช่วงนี้เป็นถนนดินยาว 20 กิโลเมตร ที่ราษฎรได้ร่วมมือร่วมใจกันขุดถนน เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เมื่อถึงน้ำตกพรหมโลก ทรงพักผ่อนพระอิริยาบท ทอดพระเนตรความงดงามของน้ำตกพรหมโลก และก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินกลับ ทั้งสองพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และ ส.ก. ไว้ที่หน้าผาข้างหนานวังน้ำวน 
           ครั้นในปี พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสร็จประพาสน้ำตกแห่งนี้อีกด้วย

น้ำตกพรหมโลก

           ป้ายเรื่องราวทั้ง 7 เรื่องนี้จะแสดงตามจุดต่าง ๆ ไล่เรียงมาตั้งแต่ป้ายน้ำตก จนถึงจุดชมน้ำตกที่เป็นประวัติศาสตร์ จากนั้นเราจะต้องย้อนกลับลงมายังป้ายศึกษาธรรมชาติจากหนานที่ 2 ถึง 4 เป็นเส้นทางธรรมชาติเลียบน้ำตกเหมือนกัน แต่เป็นป่าดงดิบที่มีทางลาดชันสลับกับพื้นราบ ด้วยระยะทาง 600 เมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45-60 นาที 

         เมื่อเราเดินไปถึงที่ชมวิวหนานชั้นที่ 1 แล้ว หากจะไปต่อเราจะต้องเดินย้อนกลับลงมายังป้าย ใกล้กับวังน้ำวน เพื่อเดินศึกษาธรรมชาติเส้นทางเลียบน้ำตก และชมน้ำตกหนานที่ 2 3 และ 4  และการเดินเส้นทางนี้จะต้องมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทางไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง 

น้ำตกพรหมโลก

น้ำตกชั้นที่ 2 หนานวังไม้ปัก

        ทันทีที่เราก้าวผ่านป้ายทางเข้าเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกพรหมโลก จะสัมผัสถึงบรรยากาศของป่าดงดิบชื้น  และเริ่มเดินขึ้นทางชันที่เป็นบันได 200 เมตร ถึงน้ำตกชั้นที่ 2 หนานวังไม้ปัก ป้ายจะอยู่ด้านขวามือใกล้กับน้ำตก เมื่อเราเดินลงไป จะเห็นน้ำตกในชั้นนี้ไม่สูงนัก น้ำไหลผ่านแผ่นหินกว้างใหญ่ ผ่านซอกแผ่นหินลงไปด้านล่างที่เป็นหน้าผาของชั้นที่ 1 หนานวังน้ำวน แผ่นหินไหนน้ำไม่ไหลผ่านจะมีพืชพรรณที่เเจริญเติบโตแทรกขึ้นมากระจายไปทั่ว แต่อีกฝั่งจะเป็นป่าดงดิบเขียวขจีไปทั่ว  และในบางช่วงของหนานชั้นที่ 1 และ 2 เราจะเห็นชาวบ้านข้ามฝั่งไปยังผืนป่าพร้อมหาบสำหรับเก็บผลไม้และหาบกลับลงมายังด้านล่าง สังเกตุจากแผ่นไม้สำหรับเป็นทางข้ามไปยังอีกฝั่ง

น้ำตกพรหมโลก
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ชวนเที่ยวเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ชวนเที่ยวเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ไม้ข้ามน้ำ
น้ำตกพรหมโลก

น้ำตกชั้นที่ 3 หนานวังหัวบัว

        เมื่อออกจากหนานวังไม้ปัก ระยะทางไปยังหนานที่ 3 จะมีระยะห่างนิดนึง ส่วนใหญ่เป็นทางไม่ชันมาก เดินไปได้เรื่อย ๆ ข้างทางมีพืชพันธุ์ไม้ใหญ่บ้าง เล็กบ้างสลับกันไป เมื่อไปถึงป้ายชื่อน้ำตก เราจะต้องแวะทางเดินเล็ก ๆ เพื่อไปยังน้ำตก น้ำตกหนานนี้จะสวยงามกว่าหนานที่ 2 เนื่องจากจะมีสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาเตี้ย ๆ และไหลผ่านโขดหินลงไปด้านล่าง

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกพรหมโลก
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
หนานวังหัวบัว
หนานวังหัวบัว
หนานวังอ้ายเล

น้ำตกชั้นที่ 4 หนานวังอ้ายเล

            น้ำตกชั้นที่ 4 หนานวังอ้ายเล เป็นหนานสูงสุดที่เปิดให้นักท่องเทื่ยวเดินชม ระยะทางไกลกว่าหนานชั้นที่ 2 ไปยังชั้นที่ 3 และต้องเดินสูงขึ้นไปอีกหน่อยจึงจะถึงตัวน้ำตก เส้นทางนี้เหมือนกับเราปีนขึ้นไปชั้นบน จึงจะเจอกับหนานที่ 4 หนานวังอ้ายเล และระหว่างทางอาจจะเจอผู้คนที่เป็นชาวบ้านหรือผู้รับจ้างขนผลไม้ลงมาจากชั้นที่สูงขึ้นไปกว่าน้ำตกชั้นที่ 4 เพราะน้ำตกพรหมโลกมีชั้นน้ำตกถึง 50 ชั้นทีเดียว อ่านเพิ่มเติมได้ที่  น้ำตกพรหมโลก อีกหนึ่งเสน่ห์ทางธรรมชาติและสายน้ำของนครศรีธรรมราช ชั้นนี้น้ำตกไหลลงจากหน้าผาไม่สูงมาก ผ่านชั้นหินหลายชั้น และตกลงมาในแอ่งน้ำด้านล่าง และไหลลงด้านล่าง หากเรามองให้สุดสายตา เราจะเห็นสายน้ำไหลลงไปจนถึงด้านล่างเรื่อย ๆ และหากมองสูงขึ้นไปด้านบนก็จะเห็นแนวต้นไม้สูงและป่าเขียวขจีโอบล้อมเราไว้ ทำให้นึกถึงคำที่ว่า ธรรมชาติยิ่งใหญ่เสมอ และจะโอบกอบเราไว้ให้รู้สึกว่าเราเป็นคนตัวเล็กท่ามกลางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่  และชั้นนี้จะเต็มไปด้วยผลไม้ 

หนานวังอ้ายเล
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ผลมะตาด นำมาใส่แกเป็นผักแกงส้มได้
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เฟิน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
หนานวังอ้ายเล
หนานวังหัวบัว
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ลูกไทรย่าน อาหารสัตว์ปีกในป่า
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เสน่ห์จันทร์เขียว เป็นว่านเมตตามหานิยม
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ดอกว่านเช้าพรรษา ใช้บูชาพระในวันเข้าพรรษา
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
หนานวังอ้ายเล

        เส่นห์เฉพาะของ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ แม้ด้วยระยะทางเดินสั้น ๆ เพียงแค่ 600 เมตร  แต่มากมายด้วยคุณค่าให้ได้ศึกษาและเรียนรู้ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ ที่หาดูได้หายากหลายชนิด ได้สัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์ สดชื่นและผ่อนคลาย ช่วยให้การเดินป่าเพลิดเพลิน ไม่เหนื่อย ตลอดทาง พัก นอกจากนี้ขากลับ ยังสามารถเดินกลับทางอีกเส้นทางที่ผ่านสวนผลไม้  และอาจจะเห็นภาพของการขนส่งผลไม้จากบนเขาลงมาพื้นล่างด้วยแรงงานคนได้ตลอดทางในช่วงผลไม้ออกดอกออกผล และหากมีลาภปากอาจจะได้ชิมรสชาติของผลไม้เขาที่หายาก เช่น มังคุดเขาที่แสนอร่อย รสชาติอาจจะแตกต่างจากมังคุดทั่วไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับโชคช่วยแล้ว เส้นทางนี้ส่วนใหญ่เป็นทางราบ จะมีชันเล็กน้อย แต่ขอบอกเลยว่าบรรยากาศดีมาก ใจสงบด้วยความสงบของป่า นี่แหละเสน่ห์เฉพาะของ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ของน้ำตกพรหมโลก แห่งชุมชนสีเขียวของอำเภอพรหมคีรีบ้านเรา

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
มังคุดเขา
มังคุดเขา
มังคุดเขา
มังคุดเขา

ที่มาของข้อมูล

มูลนิธิไทยรักษ์ป่า. (25 พฤษภาคม 2022). “ป่าเขา น้ำฝน หลุมลานหิน”. [Image attached]. Facebook. https://www.facebook.com/photo/?fbid=1946750315533214&set=a.363717620503166
วิทยา นวปราโมทย์. (12 มกราคม 2561). เส้นทางศึกษาธรรมชาติ. มูลนิธิไทยรักษ์ป่า. https://thairakpa.org/media/publish/  
StoryTripper. (17 กุมภาพันธ์ 2563). ยอดพรหมโลก (ป่าโบราณ) เขาหลวงนครศรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช. Pantip. https://pantip.com/topic/39646068 
Thairakpa Foundation. (22 มิถุนายน 2020). ทำไมต้องมาน้ำตกพรหมโลก. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=s-O3u9-xsbs

อาภรณ์ ไชยสุวรรณ

เนื้อเรื่อง

นุรุณ

นุรุณ จำปากลาย

ถ่ายภาพ

นันทพร ขันธศุภหิรัญ

ถ่ายภาพ

Series Navigation<< น้ำตกพรหมโลก อีกหนึ่งเสน่ห์ทางธรรมชาติและสายน้ำของนครศรีธรรมราช

Visits: 53

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.