โบราณสถานโมคลาน

จากหลักฐานที่พบทั้งเทวสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ สระน้ำโบราณ ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายในแดนนี้มาก่อน ต่อมาด้วยอิทธิพลของพุทธศาสนาที่ได้เข้ามาแพร่หลายและรุ่งเรืองในแถบนี้ ทำให้ชุมขนโมคลานเปลี่ยนมารับนับถือพุทธศาสนาไปด้วย สันนิษฐานว่าในช่วงแรกน่าจะเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาทหรือลัทธิหินยาน ซึ่งกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในแถบนี้ หลังจากนั้นราวปี พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๐๐ สมัยอาณาจักรสุโขทัย (วัดโมคลาน https://th.wikipedia.org/wiki/วัดโมคลาน)

โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

โบราณสถานหรือแหล่งโบราณคดี แต่เดิมเป็น ศาสนสถาน ประจำชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำลำคลองตามธรรมชาติ จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอสิชล-ท่าศาลา ปรากฏว่าชุมชนโบราณมักตั้งถิ่นฐานไม่ไกลจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่าใดนัก และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชุมชนโบราณที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 มักเป็นกลุ่มชุมชนนับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 18 หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชุมชนผู้นับถือศาสนาพุทธมหายานได้พบเป็นจำนวนมากขึ้นและยังพบว่าโบราณสถานบางแห่งได้ถูกรื้อถอนเปลี่ยนแปลงเทวาลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นพุทธสถาน เช่น วัดโมคลาน (หลักฐานทางโบราณคดีของพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช http://xn--k3cvjh4b2b3m.com/th-TH/ประเภทของพราหมณ์/2-พราหมณ์พิธี/42-หลักฐานทางโบราณคดีของพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช.html?tmpl=component&print=1)

โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

โมคลาน ประวัติศาสตร์การสร้างเมือง ความเชื่อมโยงกับเจ้าชายโมคคัลลานะแห่งอาณาจักรสิงหล  ชื่อบ้าน นามเมือง “โมคลาน” ศาสตราจารย์ ส. ประนะวิธาน นักประวัติศาสตร์ศรีลังกา ได้ค้นคว้าหลักฐานจากศิลาจารึก และบันทึกในศรีลังกาโบราณ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองตามพรลิงค์ในยุคโบราณ และ อาณาจักรสิงหล เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ “เจ้าชายโมคคัลลานะ” พระราชโอรสของ “พระเจ้าธาตุเสนา” แห่ง ราชวงศ์โมริยะได้หลบลี้ราชภัยจากการยึดราชบัลลังก์ของ “เจ้าชายกัสสปะ” พระอนุชาต่างพระมารดา ซึ่งได้ปราบดาภิเษกตนเป็นพระเจ้ากัสสปะ มายังบริเวณบ้านเมืองโมคลาน ภายใต้การคุมกันของมหาราชแห่งตามพรลิงค์ ต่อมา พระเจ้ากัสสปะ ได้ออกนโยบายเมืองท่าปลอดภาษี และ ใช้ทองคำทำเหรียญทองใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยน เพื่อนำรายได้ไปสร้างนครหลวงบนปราสาทลอยฟ้า ที่ สิกิริยา หรือ ปราการสิงหคีรี ทำให้ตามพรลิงค์ขาดดุลรายได้มหาศาล มหาราชแห่งตามพรลิงค์ จึงทรงสนับสนุนเจ้าชายโมคคัลลานะในการทวงสิทธิ์ในราชบัลลังก์คืน โดยระดมพลยกทัพเรือจากทั้งตามพรลิงค์ และ ปัลลวะ ไปปิดล้อมพระเจ้ากัสสปะ ที่สิกิริยา พระเจ้ากัสสปะทรงพ่ายแพ้ในสงคราม จึงกระทำอัตวินิบาตกรรม ทำให้เจ้าชายโมคคัลลานะได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ เป็นพระเจ้าโมคัลลานะ และปกครองอาณาจักรสิงหลตราบจนสวรรคต จึงพอจะเป็นที่มาของ ชื่อบ้าน นามเมือง “โมคลาน” ที่มาจากเจ้าชายพระองค์หนึ่งจากศรีลังกา ที่หลบลี้ราชภัยมาซ่องสุมผู้คนเพื่อกอบกู้ราชบัลลังก์จากพระอนุชาผู้โหดเหี้ยม โดยได้สร้างบ้านเมืองเอาไว้ เสมือนการตอบแทนพระคุณที่ได้ให้ที่พักอาศัยชุมชนโมคลาน (โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช https://watsritawee.org/article-192/)

โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ชุมชนโมคลานเป็นชุมชนเก่าแก่แต่โบราณ เมื่อประมาณกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ลักษณะการตั้งถิ่นฐานพิจารณาได้จากสภาพภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งถิ่นฐานไปตามแนวยาวของสันทรายเก่า และมีเทือกเขานครศรีธรรมราชซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานไปกับสันทราย เทือกเขานี้ เป็นที่เกิดลำน้ำซึ่งไหลผ่านสันทรายตรงบริเวณชุมชนโบราณโมคลาน 2 สาย ได้แก่ คลองชุมขลิงและคลองโต๊ะแน็ง คลองชุมขลิง ชาวบ้านเรียกว่า “คลองยิง” เพราะไหลผ่าน “บ้านยิง” หรือ “คลองมะยิง” ส่วนคลองโต๊ะแน็ง ชาวบ้านเรียกว่า “คลองควาย” หรือ “คลองโมคลาน” คลองทั้ง 2 สายนี้ ไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนโมคลานไปทางทิศตะวันออกราว 4 กิโลเมตร แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนโมคลานได้อาศัยคลองทั้ง 2 เป็นทางสัญจรสู่อ่าวไทย (โมคลาน : ชุมชนโบราณ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่มที่ 13, 2552, หน้า 6198-6204)

โบราณสถานโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

บทกลอนมุขปาฐะบทหนึ่งที่อยู่ในใจของชาวโมคลานมีอยู่ว่า “ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพระยัง ข้างหลังพระภูมี ต้นศรีมหาโพธิ เจ็ดโบสถ์ แปดวิหาร เก้าทวาร สิบเจดีย์” นี่คือคำกลอนบอกเล่าซึ่งเปรียบเสมือนลายแทงปริศนาเกี่ยวชุมชนโมคลานที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช หลายท่านคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จากการได้สัมภาษณ์พระอธิการนิติ นิปโก เจ้าอาวาสวัดโมคลาน เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2566 ได้เฉลยคำกลอนดังนี้ (พระอธิการนิติ นิปโก, การสื่อสารส่วนบุคคล, 17 กุมภาพันธ์ 2566)

เจ้าอาวาสวัดโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ตั้งดินตั้งฟ้า คือ การตั้งเมืองสมัยก่อน
ตั้งหญ้าเข็ดมอน คือ พื้นที่เดิมของโมคลาน เต็มไปด้วยหญ้าเข็ดมอน สมัยก่อน เชื่อว่าเป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เดินข้ามกัน ความทรงจำในลักษณะที่มีต้นกำเนิดมาพร้อมดินและฟ้า ทำให้หญ้าเข็ดมอนมีอีกสถานะคือเป็น “หญ้าดึกดำบรรพ์” ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้ว และมีการนำหญ้าเข็ดมอนมาทำยาแก้ปวดเมื่อย คำว่า “เข็ด” ภาษาใต้ แปลว่า ปวดเมื่อย

หญ้าเข็ดมอน

โมคลานตั้งก่อน คือ พื้นที่โบราณสถานโมคลาน ที่สร้างมาเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว
เมืองคอนตั้งหลัง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมือง หลังโบราณสถานโมคลาน
ข้างหน้าพระยัง คือ มีองค์พระ หลังมีการสำรวจพื้นที่โมคลานที่พบครั้งแรก 3 องค์ ปัจจุบันยังอยู่ในวัดโมคลาน (ยัง ภาษาใต้ แปลว่า มี)

องค์พระ องค์ที่ 1 อยู่ที่โรงธรรม
องค์พระ องค์ที่ 2 อยู่ที่โรงธรรม
องค์พระ องค์ที่ 3 อยู่ในอุโบสถ

ข้างหลังพระภูมี คือ มีองค์พระ
ต้นศรีมหาโพธิ์ คือ เคยมีต้นโพธิ์ ปัจจุบัน ไม่มีแล้ว
เจ็ดโบสถ์แปดวิหาร คือ ลำดับที่ เจ็ด ที่แปด คือโบสถ์ วิหาร ที่เคยมีที่โบราณสถานโมคลาน
เก้าทวารสิบเจดีย์ คือ มีทวาร มีเจดีย์ ตามโบราณสถานหมายเลข 4 เคยเป็นเจดีย์

โบราณสถานหมายเลข 4

Visits: 587

Comments

comments

Leave a Reply

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.